พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ การเปลี่ยนแปลงหรือการเกิดนวัตกรรมไม่ใช่เรื่องผิดปกติ แต่สำหรับการเปลี่ยนแปลงในวงการการศึกษา แม้ไม่ใช่เรื่องผิดปกติแต่ก็ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ เรื่องสำคัญ เป็นประเด็นหรือเป็นเรื่องระดับชาติ โดยนัยนี้เราจะเห็นว่า การเปลี่ยนแปลงในส่วนของวงการการศึกษาที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลกส่งผลต่อระบบการจัดการศึกษาของไทยอย่างไรบ้าง ประการแรก สถาบันการศึกษาทุกประเภท ทุกระดับที่มีอยู่ในปัจจุบัน จะต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองขนานใหญ่จากระบบปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ที่กำลังเข้ามา ซึ่งส่งผลให้มีการปรับลดบุคลากรในสถาบันการศึกษาทั้งในส่วนของเจ้าหน้าที่และอาจารย์ผู้สอนในสถาบันการศึกษาลง ประการที่สอง ความจำเป็นที่จะต้องพึ่งพาการศึกษาในระดับอุดมศึกษามีน้อยลง เนื่องจากปัจจุบันผู้เรียนสามารถอาศัยหรือพึ่งพาแหล่งความรู้จากนอกสถาบันการศึกษาในระบบได้ ทั้งในและต่างประเทศ ประการที่สาม การเรียนที่ไม่สัมพันธ์กับวิถีชีวิตของสังคมหรือชุมชน ทำให้ทั้งผู้สอนและผู้เรียนประหนึ่งนั่งอยู่บนหอคอยงาช้าง คือ เท้าไม่ติดดิน เรียนจบมาเพื่ออวด เพื่อแสดงสถานะทางสังคมเหนืออื่นใด มากกว่าการเรียนเพื่อนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน ประการที่สี่ […]
แทนโรงเรียนด้วยศูนย์การเรียนรู้ (เพื่อ)ชุมชน
พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ ลองนึกภาพโลกาภิวัตน์ 4.0 ก็จะเห็นภาพของโลกในปัจจุบันที่ประกอบด้วยเครือข่ายด้านการสื่อสารระโยงระยางทั่วถึงกันหมด ปัญหาคือเราจะใช้เครือข่ายเหล่านี้ให้เป็นประโยชน์ต่อชุมชนไทยของเราอย่างไร และแน่นอนที่สุดว่า เราคงไม่สามารถฝากความหวังไว้กับหน่วยงานหรือภาคส่วนราชการไทยที่ปรับตัวช้าและวิสัยทัศน์ล้าหลังได้ เราคงตระหนักได้ว่า การปรับตัวที่จำเป็นต้องทำเหนืออื่นใดก็คือ การปรับพื้นฐานด้านมโนทัศน์หรือการปรับตัวด้านความคิดของพลเมือง ที่มีจุดใหญ่ใจความสำคัญอยู่ที่การศึกษา อันเป็นพื้นฐานสำคัญที่บ่งว่าอนาคตของชาติจะไปทางไหน และเราคนไทยทุกคนคงต้องร่วมมือร่วมใจกันในเรื่องนี้ และเราคงตระหนักดีกันแล้วด้วยว่า ทุกอย่างจะต้องเปลี่ยนแปลงอย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ในขณะที่สังคมโลกกำลังโอบล้อมเรา ด้วยการตีวงแคบลงทุกวันๆ ไม่ว่าจารีตวัฒนธรรมของไทยจะเป็นเยี่ยงไร แต่จนแล้วจนรอดเราไม่อาจปฏิเสธกระแสสากลที่กำลังทะลักเข้ามาแบบไร้ซึ่งพรมแดน โลกยุคใหม่จึงปราศจากพรมแดน ไม่ว่าคุณจะพยายามกีดกั้นอย่างไร มันจะไม่สามารถกีดกั้นพลเมืองให้อยู่ภายใต้กรอบหรือชอบเขตที่รัฐกำหนดแบบเดิมๆ ได้ กระแสความเป็นไปภายในชาติจึงทับซ้อนกับกระแสความเป็นไปของโลกอย่างแยกไม่ออก ปฏิเสธไม่ได้ว่า กระแสโลกที่มีสหรัฐอเมริกานำอยู่นั้น บงการหรือชี้นำความเป็นไปของโลกในช่วงราวสองทศวรรษที่ผ่านมาอย่างชัดเจน โซเชียลมีเดียที่กลายเป็นวีถีชีวิตประจำวันของชาวโลกแม้แต่ในโลกสังคมนิยมหรือโลกคอมมิวนิสต์ก็ตาม พวกเขามิรู้ที่จะปฏิเสธการโอภาปราศรัยผ่านมีเดียสมัยใหม่อย่างไรได้ ความสำคัญของสื่อสมัยใหม่นี้เอง […]
เงิน กับ นิพพาน

ผศ.ดร ชาญณรงค์ บุญหนุนภาควิชาปรัชญา ม.ศิลปากร หากพิจารณาจากบริบทของพุทธศาสนา โลกของวัตถุและทรัพย์สินในโลกของฆราวาสมีความสำคัญในระดับพื้นฐานในฐานะองค์ประกอบสำคัญที่จะอำนวยให้ดำรงชีวิตอย่างมีความสุข มนุษย์เกิดขึ้นมาท่ามกลางธรรมชาติหลากหลายแต่ความต้องการของมนุษย์กลับหลากหลายและมากยิ่งกว่าจำนวนธรรมชาติที่มีอยู่ และภายใต้ศักยภาพของมนุษย์ที่แตกต่างกัน การแย่งชิงประโยชน์จากทรัพยากรระหว่างมนุษย์เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้เนื่องจากมนุษย์มีความโลภอยู่ในเรือนใจ การแบ่งปันทรัพยากรธรรมชาติที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตเพื่อกันและกันจึงเป็นอุดมคติที่พุทธศาสนาบรรจุไว้ในคำสอนเรื่องบุญกิริยาวัตถุ 3 ประการ ได้แก่ บุญที่สำเร็จด้วย “ทาน ศีล ภาวนา” แต่การจะให้การแบ่งปันเกิดขึ้นอย่างถ้วนทั่วระหว่างมนุษย์ด้วยกันในความเป็นจริงนั้นเป็นสิ่งที่ไม่อาจเกิดขึ้นได้ด้วยการพัฒนาคุณลักษณะส่วนตัวในปัจเจกบุคคลเพียงอย่างเดียวผู้นำรัฐจึงมีบทบาทสำคัญที่จะส่งเสริมให้พลเมืองมีหลักประกันว่า “ทุกคนจะมีวัตถุปัจจัยเลี้ยงชีวิตอย่างเพียงพอและเท่าเทียม” โดยผู้นำรัฐมีนโยบายส่งเสริมสนับสนุนให้พลเมืองภายในรัฐสามารถประกอบอาชีพตามความถนัดอันจะช่วยให้มีโภคทรัพย์พอหล่อเลี้ยงชีวิตของตนและผู้อื่นที่เกี่ยวข้องได้โดยไม่ละเมิดบรรทัดฐานของสังคม ภายใต้หลักความเที่ยงธรรมแห่งรัฐและมีผู้นำที่ดี ครอบครัวอันเป็นหน่วยพื้นฐานของสังคมก็จะมั่นคงและมีความสุข พุทธศาสนายังเชื่อว่า เมื่อสังคมปลอดภัย ความสุขในครอบครัวจึงอาจเป็นไปได้ ผู้นำระดับครอบครัวเป็นผู้มีบทบาทสำคัญที่จะช่วยให้สังคมโดยรวมธำรงรักษาระเบียบระบบของสังคมที่ไม่เพียงแต่จะเป็นประโยชน์สำหรับทุกคนแต่ยังเป็นประโยชน์สำหรับตัว “คหปติ” […]
พระสงฆ์กับเงินในสมัยหลังพุทธกาล

ผศ.ดร ชาญณรงค์ บุญหนุน เครดิตภาพ http://dhammawijja.blogspot.com/2016/02/blog-post_1.html โดยจารีตแห่งสงฆ์ตามพระวินัยบัญญัติ พระพุทธเจ้าไม่ทรงประสงค์จะให้ภิกษุในฐานะผู้นำทางจิตวิญญาณและจริยธรรม มีเงินหรือทองของมีค่าชนิดต่าง ๆ ไว้เป็นทรัพย์สินส่วนตัว เพราะปัจจัย 4 ที่เพียงพอแก่การเลี้ยงชีวิตสงฆ์นั้น อาจได้มาด้วยการสนับสนุนหรือบริจาคโดยฆราวาสผู้เลื่อมใส ขณะที่พุทธศาสนามีคำสอนให้พระสงฆ์แสวงหาความหลุดพ้นจากทุกข์และอนุเคราะห์ชุมชนด้วยการสั่งสอนให้เข้าถึงเป้าหมายทางศาสนา พุทธศาสนามีคำสอนเกี่ยวกับการทำบุญที่มุ่งหมายให้พุทธบริษัทเกื้อกูลกันและกันด้วยปัจจัย 4 พัฒนาสภาพแวดล้อมทางสังคมและการอยู่ร่วมกันอย่างมิตรไมตรี มีเมตตาต่อกัน ฆราวาสแสวงบุญในศาสนาด้วยการบริจาคทานเพื่อบูชาพระสงฆ์ แบ่งปันทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดเพื่ออนุเคราะห์คนอื่นที่อยู่ในสังคมเดียวกัน เพื่อว่าสังคมจะดำรงความสงบสุขและเอื้อต่อการพัฒนาปัญญา [1] สังคมพุทธบริษัทที่เกื้อกูลแบ่งปันทรัพยากรและความรู้เป็นสังคมที่พระพุทธเจ้าทรงคาดหวัง ขณะพุทธศาสนาเสนอระบบศีลธรรมที่เปิดโอกาสให้ฆราวาสได้แสวงหาทรัพย์สิน ครอบครองทรัพย์และใช้จ่ายทรัพย์สินที่หามาได้ตามใจปรารถนาโดยไม่ละเมิดครรลองของศีล (จริยธรรมพื้นทางทางสังคม) และมีโอกาสได้แสวงบุญหรือหว่านบุญทานลงในเนื้อนาบุญ (พระสงฆ์) ของศาสนา […]
หลักการศูนย์การเรียนรู้(เพื่อ)ชุมชน มูลนิธิการศึกษาเพื่อเสรีภาพ (EFF)
พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ ลองนึกภาพโลกาภิวัตน์ 4.0 ก็จะเห็นภาพของโลกในปัจจุบันที่ประกอบด้วยเครือข่ายด้านการสื่อสารระโยงระยางทั่วถึงกันหมด ปัญหาคือเราจะใช้เครือข่ายเหล่านี้ให้เป็นประโยชน์ต่อชุมชนไทยของเราอย่างไร และแน่นอนที่สุดว่า เราคงไม่สามารถฝากความหวังไว้กับหน่วยงานหรือภาคส่วนราชการไทยที่ปรับตัวช้าและวิสัยทัศน์ล้าหลังได้ เราคงตระหนักได้ว่า การปรับตัวที่จำเป็นต้องทำเหนืออื่นใดก็คือ การปรับพื้นฐานด้านมโนทัศน์หรือการปรับตัวด้านความคิดของพลเมือง ที่มีจุดใหญ่ใจความสำคัญอยู่ที่การศึกษา อันเป็นพื้นฐานสำคัญที่บ่งว่าอนาคตของชาติจะไปทางไหน และเราคนไทยทุกคนคงต้องร่วมมือร่วมใจกันในเรื่องนี้ และเราคงตระหนักดีกันแล้วด้วยว่า ทุกอย่างจะต้องเปลี่ยนแปลงอย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ในขณะที่สังคมโลกกำลังโอบล้อมเรา ด้วยการตีวงแคบลงทุกวันๆ ไม่ว่าจารีตวัฒนธรรมของไทยจะเป็นเยี่ยงไร แต่จนแล้วจนรอดเราไม่อาจปฏิเสธกระแสสากลที่กำลังทะลักเข้ามาแบบไร้ซึ่งพรมแดน โลกยุคใหม่จึงปราศจากพรมแดน ไม่ว่าคุณจะพยายามกีดกั้นอย่างไร มันจะไม่สามารถกีดกั้นพลเมืองให้อยู่ภายใต้กรอบหรือชอบเขตที่รัฐกำหนดแบบเดิมๆ ได้ กระแสความเป็นไปภายในชาติจึงทับซ้อนกับกระแสความเป็นไปของโลกอย่างแยกไม่ออก ปฏิเสธไม่ได้ว่า กระแสโลกที่มีสหรัฐอเมริกานำอยู่นั้น บงการหรือชี้นำความเป็นไปของโลกในช่วงราวสองทศวรรษที่ผ่านมาอย่างชัดเจน โซเชียลมีเดียที่กลายเป็นวีถีชีวิตประจำวันของชาวโลกแม้แต่ในโลกสังคมนิยมหรือโลกคอมมิวนิสต์ก็ตาม พวกเขามิรู้ที่จะปฏิเสธการโอภาปราศรัยผ่านมีเดียสมัยใหม่อย่างไรได้ ความสำคัญของสื่อสมัยใหม่นี้เอง […]
บางคูลัด : ตัวอย่างความล้มเหลวของระบบผังเมืองไทย
จ้อบ วิโรจน์ศิริ คลองบางคูลัดเป็นคลองที่เชื่อมระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำท่าจีน สภาพความคดเคี้ยวด้านแม่น้ำเจ้าพระยาทำให้เห็นว่าน่าจะเป็นคลองธรรมชาติที่ถูกขุดต่อไปทางทิศตะวันตกถึงแม่น้ำท่าจีน แต่ยังค้นไม่พบข้อมูลว่าขุดขึ้นเมื่อ พ.ศ.ใด ต่อมาสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง (พ.ศ. 2172 – 2199) โปรดให้ขุดคลองลัดแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วงเมืองนนทบุรี ซึ่งมีความคดเคี้ยว การเดินทางสัญจรต้องใช้เวลานาน เมื่อขุดคลองลัดแล้ว แม่น้ำก็เปลี่ยนทางไหลเข้าคลองขุดใหม่กลายเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาสายใหม่ดังปัจจุบันนี้ ซึ่งมีความยาวประมาณ 5 ก.ม. ส่วนแม่น้ำสายเดิมที่ยาวประมาณ 21 กิโลเมตรนั้นเล็กตีบลงกลายเป็นทางน้ำอ้อม เรียกกันว่าแม่น้ำอ้อม และเมื่อถึง พ.ศ. 2208 สมเด็จพระนารายณ์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างป้อมปราการตรงปากแม่น้ำอ้อม และโปรดฯ ให้ย้ายเมืองนนทบุรีมาอยู่ปากแม่น้ำอ้อมด้วย […]
วัดกับการกระจายความมั่งคั่งให้ชาวบ้าน
พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ ข่าวเงินทอนวัด จับสึกพระสังฆาธิการระดับสูงของประเทศไทย กระฉ่อนไม่ใช่เฉพาะเมืองไทย หากแต่กระจายออกไปยังสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก ชาวพุทธในสหรัฐอเมริกาจำนวนไม่น้อยให้ความสนใจสอบถามว่าเกิดอะไรขึ้นกับพุทธศาสนาในเมืองไทย เพราะดูเหมือนประเทศไทยจะเป็นป้อมปราการด่านสุดท้ายของพุทธศาสนานิกายเถรวาทหลังจากที่พุทธศาสนานิกายเดียวกันนี้ ถูกโยกย้ายถ่ายเทมายังสุวรรณภูมิซึ่งก็คือสยามประเทศนั่นเอง แม้ว่า ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นต่างๆ นั้นจะยังไม่กระจ่างทั้งหมด เนื่องมาจากปมการเมืองหรือไม่ก็ตาม แต่ควรหรือไม่ที่เราชาวพุทธพึงหันมาประเมินใส่ใจกับท่าทีขององค์กรคณะสงฆ์ของประเทศกับความสัมพันธ์กับชุมชนหรือพูดให้เห็นภาพก็คือ สังคมที่โอบล้อมล้อมรอบพื้นที่วัด แล้วเราก็อาจจะได้ข้อสรุปเหมือนที่คาลิล ยิบราน เคยเขียนไว้ในเรื่องสั้นของเขาว่า “พื้นที่ของพระเจ้านั้นศักดิ์สิทธิ์หรือสูงเกินที่คนธรรมดาในระดับชาวบ้านจะเข้าไปสัมผัสหรือใช้พื้นที่นั้นได้” ซึ่งก็หมายความว่า ศาสนสถานนั้น หาได้มีปฏิสัมพันธ์กับคนหรือชุมชนอย่างที่ควรเป็น พระสงฆ์เองห่างเหินสังคมหรือชุมชมมากขึ้น เราอาจมีพระสงฆ์ที่มีการศึกษาทางโลกสูงขึ้น ทว่าความรู้ดังกล่าวไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับชุมชนเอาเสียเลย เป็นความรู้แบบแยกส่วนกับชุมชนหรือแยกไปจากวิถีชาวบ้าน พูดให้เห็นภาพชัดๆ ก็คือ วัดหรือพระสงฆ์ที่โออ่า […]
โรงเรียนและมหาลัย…ตายแล้ว
พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ รายงานคุณภาพชีวิตเด็กประจำปี 2018 ขององค์กรเพื่อเด็กระหว่างประเทศ Save the Children ระบุว่า สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุดต่อการเจริญเติบโตของเด็ก จากการประเมิน 175 ประเทศทั่วโลก ตามมาด้วย สโลวีเนีย นอร์เวย์ สวีเดน และฟินแลนด์ ขณะที่ไทยได้รับการจัดอันดับอยู่ที่อันดับที่ 85 ซึ่งต่ำกว่าเกาหลีเหนือที่อยู่ในลำดับที่ 70 และต่ำกว่าดินแดนที่ยังมีการสู้รบอย่างเซอร์เบียและปาเลสไตน์ ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 42 และ 84 ทั้งนี้ สำหรับประเทศไทย ในรายงานยังมีการระบุว่าเป็นประเทศที่มีการแบ่งแยกเด็กผู้ชาย-ผู้หญิงอย่างชัดเจน […]
ความสำคัญของ“สำเนียงส่อภาษาฯ”ในอเมริกา
พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ เคยมีเพื่อนจากเมืองไทยถามผมว่า วัฒนธรรมอเมริกันมีภาษาท้องถิ่น เหมือนที่เมืองไทยมีภาษาปักษ์ใต้ ภาษาล้านนา ภาษาอิสาน หรือภาษาสุพรรณ ราชบุรี เพชรบุรีประจวบฯ ที่สำเนียงออกเหน่อๆ หรือไม่? คงต้องตอบว่า “มีครับ” และถือเป็นเรื่องปกติของอเมริกันชนที่นี่ ท่ามกลางความหลากหลายของเชื้อชาติของผู้คนในอเมริกากว่า 300 ล้านคน ที่สำคัญคือ จากความแตกต่างหลากหลายดังกล่าวนี้เองถูกมองว่าการที่อเมริกันแต่ละคนพูดด้วนสำเนียงภาษาที่แตกต่างกัน เป็นเรื่องปกติธรรมดา ไม่นับรวมคนสำเนียงภาษาจากคนกลุ่มน้อย (minority groups) เชื้อชาติต่างๆ อีกนับร้อย เช่น จีน เกาหลี ไทย […]
“สลิ่ม” ก็มี ด้วยประการฉะนี้
พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ เมื่อก่อนพอได้ยินคนกล่าวประโยคว่า “ถ้าคุณคิดว่าไม่ชอบอเมริกาก็ควรกลับประเทศของตัวเองไป (ซะ) อย่าอยู่ที่นี่เลย” ผมรู้สึกเฉยๆ แต่มาวันนี้ผมกลับคิดว่าคำพูดประโยคนี้ไม่ธรรมดา แถมมีแง่มุมให้คิดอยู่ไม่น้อย ที่ว่า “ไม่น้อย” เพราะสถานการณ์อะไรๆ ต่างๆ ได้เปลี่ยนไปมาก โดยเฉพาะสถานการณ์การเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์ แต่มีผู้คนเชื้อสายต่างด้าว โดยเฉพาะคนเชื้อสายไทยที่แสดงออกว่า พวกเขาไม่พอใจ “ระบบอเมริกัน”ขณะที่พวกเขากำลังอยู่ท่ามกลางระบบหรือสังคมอเมริกันและพวกเขาดิ้นรนแสวงหาช่องทางเพื่อมาทำมาหากินและใช้ชีวิตอยู่ที่นี่กันอย่างยากลำบาก ทั้งโรบินฮู้ดและมิใช่โรบินฮู้ด (น่าแหละ) หากแท้จริงแล้ว สถานการณ์ปัจจุบันที่แสดงว่าโลกมีความเป็นหนึ่งเดียว และเป็นสังคมข้อมูลข่าวสาร น่าจะทำให้คนเชื้อสายต่างด้าว (immigrants) ผู้อาศัยอยู่ในอเมริกาจำนวนมากสมควรมีทางเลือกเป็นของตนเองโดยอิสระ […]
พุทธศาสนา…หนึ่งในตัวเชื่อมความสัมพันธ์ไทย-อเมริกา
พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ พระพุทธศาสนาเถรวาทแบบไทย เข้ามาลงหลักปักฐานในสหรัฐอเมริกาเป็นเวลาหลายสิบปี ในอเมริกาฝั่งตะวันตก(west coast) นั้นได้วัดไทยแอล.เอ. รัฐแคลิฟอร์เนีย เป็นสดมภ์หลักในการเผยแผ่พระธรรมคำสอนขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นวัดไทยที่มีลักษณะแบบเป็นทางการมากที่สุด นั่นคือ เป็นวัดรูปแบบตามแบบอย่างเมืองไทยอย่างชัดเจน โดยเฉพาะในด้านสถานที่และสถาปัตยศิลป์ เมื่อเทียบกับวัดไทยในสถานที่อื่นๆ ในอเมริกา โดยที่วัดไทยจำนวนหนึ่งอยู่ในสภาพของการใช้บ้านเรือนเป็นสถานที่ทำการในฐานะวัด หรือพูดง่ายๆ ก็คือ พระสงฆ์ใช้“บ้าน”เป็นที่พักปฏิบัติศาสนกิจนั่นแหละ ซึ่งสำหรับในอเมริกาแล้วเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องปกติธรรมดา อย่างที่ทราบกันดีว่า ขนบธรรมเนียม วัฒนธรรมความเป็นอยู่ของฝรั่งอเมริกัน ไม่เหมือนกับของคนไทย นอกจากวัฒนธรรมแล้ว ก็เชื่อมโยงไปถึงข้อกฎหมาย วัดในอเมริกามีฐานะเป็นนิติบุคคลเหมือนองค์กรนิติบุคคลโดยทั่วไป ดังนั้นการดำเนินกิจกรรมใดๆ ก็ตามต้องเป็นตามทบัญญัติแห่งของกฎหมายของรัฐต่างๆ ที่วัดนั้นตั้งอยู่ […]
ปรากฏการณ์สื่ออเมริกันสะท้อนกระแสข่าวล็อบบี้ของทักกี้
พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ งานนี้ ทักกี้อยู่เบื้องหลังอีกแล้ว!! (กับการ) ล็อบบี้นักการเมืองและคนอเมริกันให้หันมาโจมตีต่อรัฐบาลเผด็จการทหารของไทย (คสช.) 555?? แต่คราวนี้ดูเหมือนการล็อบบี้ที่ว่าจะไม่ได้เกิดขึ้นจริง (ล่ะมั้ง?) เพราะในช่วงหลายเดือนมานี้ ไม่มีนักการเมืองอเมริกันหน้าไหน ออกมาพูดให้สัมภาษณ์ขย่มรัฐบาลคสช. แม้สักคนเลย ถ้าทักกี้และเครือข่ายฯ จ่ายเงินผ่านล้อบบี้ยีสต์ที่วอชิงตันดีซีจริงป่านนี้คงได้เห็นนักการเมืองอเมริกันออกมาวิพากษ์วิจารณ์การเมืองไทยกันให้ขรมแล้ว อย่างที่ทราบกัน หากกลับไปตรวจสอบสื่อต่างๆ โดยเฉพาะสื่ออเมริกันจนถึงขณะนี้ยังไม่ปรากฏท่าทีของฝ่ายการเมืองของอเมริกันต่อการเมืองไทยบนสื่อใดๆ เลย ทั้งนี้ทั้งนั้น มิใช่ว่าการตั้งข้อสงสัยเชิงหวาดระแวงของสลิ่มชน(ไทย) จะไม่มีมูลความจริง เพราะก่อนหน้านี้ การล็อบบี้เชิงการเมืองระหว่างปะเทศได้บังเกิดขึ้นจริงที่แคปปิตัล ฮิลล์ และมันส่งผลต่อสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศเพื่อนบ้านของไทย อย่างเมียนมาร์ซึ่งเป็นความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในประเทศเดียวกันนี้ คือ เปลี่ยนจากรัฐบาลสล็อคของนายพลตานฉ่วย […]
Clean and Clear of the Last Generation
By Pete Pongpipatthanapan As a nephew of Phra Kru Vijitra Dhammabharn, the abbot of Wat Pha Tor I am so proud to be his nephew and to mourning him as […]
อิทธิพลของอเมริกันในอนาคต
พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ มีเพื่อนคนไทยถามผมเกี่ยวกับบทบาทและสถานะของอเมริกาในอนาคตว่าจะเป็นอย่างไร อย่างน้อยก็ในช่วงราวประมาณอีก 10 ถึง 15 ปีข้างหน้า โดยเหตุที่ปัจจุบันมีดาราหน้าใหม่อย่างจีนไม่ก็อินเดีย สังกัดค่ายตะวันออกไต่อันดับขึ้นมามีอิทธิพลต่อชาวโลกในด้านต่างๆ มากขึ้น โดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจและด้านความมั่นคง ในช่วงที่ผ่านมาสื่อหลายแห่ง ตลอดถึงผู้เชี่ยวชาญได้วิเคราะห์ถึงประเด็นนี้กันมาก เพื่อประโยชน์ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ความสัมพันธ์ในระดับองค์กร และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งก็ย่อมจะเกี่ยวเนื่องไปถึงการจัดลำดับความสำคัญ ในการร่วมทำธุรกิจสาขาต่างๆ ทั้งในส่วนของภาครัฐและภาคเอกชน ขณะที่ในปัจจุบันนั้น บทบาทของอเมริกา ยังถือว่า มีส่วนสำคัญต่อการกำหนดชะตากรรมของโลก จากความเสื่อมถอยทางด้านเศรษฐกิจของอเมริกาในช่วงต่างๆที่ผ่านมา ถึงกระทั่งในเวลานี้ เป็นเหตุให้ผู้คนจำนวนไม่น้อยพากัน วิจารณ์ สำแดงทัศนะต่อความเป็นไปของอเมริกาที่เชื่อมโยงถึงโลกหรือประเทศในภูมิภาคต่างๆ ในด้านของความมั่นคงนั้น […]
อำนาจตุลาการที่ยึดโยงกับประชาชน
พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ ปัญหาผลการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไทยซึ่งได้ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งอย่างต่อเนื่องในสังคมไทย จนกระทั่งเหตุการณ์ลุกลามบานปลาย เนื่องจากประเทศไทยมีความขัดแย้งทางการเมืองอยู่ก่อนแล้ว คู่ขัดแย้งได้ฉวยเอาคำวินิจฉัยดังกล่าวไปใช้ประโยชน์สำหรับฝ่ายตน จึงทำให้คำวินิจฉัยนั้นถูกวิพากษ์วิจารณ์จากสาธารณชนและนักวิชาการอย่างมาก เลยไปถึงกรอบการทำหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญที่ขยายออกไปมากเกินควรหรือไม่? ศาลรัฐธรรมนูญไทย ถูกวิพากษ์วิจารณ์ใน 3 ประเด็นใหญ่ๆ ได้แก่ ประเด็นที่หนึ่ง วิจารณ์เหตุผลจากคำวินิจฉัยของศาล ประเด็นที่สอง วิจารณ์ที่โยงจากส่วนแรก กล่าวคือ ที่มาของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ประเด็นที่สาม วิจาณ์ขอบเขต หรืออำนาจหน้าที่การตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญว่าเกินเลย มากไปหรือไม่ ประเด็นแรก นั้นข้อวิจารณ์มุ่งไปที่ความสมเหตุสมผลของคำวินิจฉัย เพราะตามหลักสากลคำวินัยของศาลรัฐธรรมนูญจะต้องยึดโยงกับข้อกฎหมายในรัฐธรรมนูญโดยอาศัยระเบียบวิธีการตัดสินของศาลยุติธรรมโดย ปกติทั่วไป ประเด็นที่สอง เป็นการวิจารณ์ที่ว่าด้วยที่มาของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่มีที่มาไม่ยึดโยงกับประชาชนเหมือนในอารยประเทศ ประเด็นที่สาม […]
การใช้อำนาจกับการยึดโยงประชาชน
พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ การพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญที่กำลังดำเนินการกันในเมืองไทยเวลานี้ มีหลายประเด็นที่ถูกหยิบยกขึ้นมาวิพากษ์วิจารณ์ หนึ่งในหลายประเด็นดังกล่าว คือ การกำหนดที่มาของสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ซึ่ง กรธ.มีแนวโน้มจะกำหนดให้เป็นลักษณะของสว.สรรหาจากตัวแทนของสาขาอาชีพต่างๆ ที่มาของสมาชิกวุฒิสภา (สว.)ไทยดังกล่าว มีการถกเถียงกันมานมนาน แต่เผอิญภายหลังเหตุการณ์เม.ย.และพ.ค. 2553 กระแสประชาธิปไตยในเมืองไทยเบ่งบานท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมืองที่ยังไม่สิ้นสุด ความเห็นต่อที่มาของ สว.ไทยจึงได้รับการวิพากษ์วิจารณ์เรื่อยมาเช่นกัน ซึ่งว่าไปแล้วการวิพากษ์วิจารณ์ในประเด็นดังกล่าวนี้ก็มีน้ำหนักอยู่มากทีเดียว เมื่อเปรียบเทียบถึงที่มาของสว.ของประเทศที่ได้ชื่อว่า “เป็นประชาธิปไตยสากล” โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา เหตุที่ต้องบอกว่า เป็นประชาธิปไตยสากล ก็เพราะมีบางกลุ่มคนในฝ่ายอนุรักษ์นิยมไทย ชอบใช้ คำว่า “ประชาธิปไตยแบบไทยๆ” ซึ่งหมายความว่าอย่างไรก็ไม่ทราบได้ จนต่อมาเกิดมีวาทกรรม […]
อย่ากลัว(ที่จะมี)จุดยืน“อนุรักษ์นิยม”
พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ อ่านข่าว นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ บอกว่าพรรคประชาธิปัตย์ไม่ใช่พรรคอนุรักษ์นิยมแต่เป็นพรรคเสรีประชาธิปไตย จนทำให้แลดูท่าเสมือนว่าพรรคแนวอนุรักษ์นิยมภาพไม่ค่อยดีเท่าพรรคแนวก้าวหน้าหรือเสรีนิยม (เสรีประชาธิปไตย) ทั้งที่ความจริงคือไม่ใช่สักหน่อย คำว่าอนุรักษ์นิยม หรือ conservative ในทางการเมือง ที่รู้จักกันเท่าที่คุยกับเพื่อนคนไทย ส่วนใหญ่ไม่ค่อยชอบใจถ้าใครบอกว่าตนเป็นคนอนุรักษนิยม มักคิดไปว่าเพื่อนไปมองตนเองทำนองเป็นคนหัวโบราณ ไม่ทันสมัย ล้าหลัง ไม่ทันโลก ซึ่งความจริงแล้วไม่ได้มีความหมายอย่างที่เข้าใจเลย เป็นการเข้าใจความหมายคำว่าอนุรักษ์นิยมที่ผิดพลาดอย่างมาก แม้แต่มุมมองคนไทยจำนวนมากต่อพรรครีพับลิกันของทรัมป์ ความล้าหลัง ไม่ทันสมัย ไม่ทันโลก ควรเป็นลักษณะของระบบเผด็จการตะหาก เพราะเป็นระบบที่สังคมโลกพากันรังเกียจ แท้จริงแล้วคำว่าอนุรักษ์นิยมในความหมายที่แท้จริง เป็นท่าในการวางหรือกำหนดนโยบายทางการเมืองของพรรคการเมือง […]
อนุรักษ์นิยมไทยในอเมริกา
พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ ในช่วงเทศกาลสงกรานต์นี้ ตามวัดไทยต่างๆ แทบทุกวัดในอเมริกาคงมีการเฉลิมฉลองประเพณีสงกรานต์กันแบบไทยๆ เช่นเดียวกับทางเมืองไทย ในขณะที่เมืองไทยอยู่ในช่วงความขัดแย้งทางการเมือง เพื่อนทางโซเชียลมีเดียบางคนถามถึง“ลักษณะทางด้านความคิดของคนไทยในอเมริกา”ว่า ส่วนใหญ่เป็นแบบใด เสรีนิยม หรืออนุรักษ์นิยม ซึ่งเป็นคำถามที่ตอบไม่ง่ายครับ เพราะความคิดทางการเมือง ทางเศรษฐกิจ ทางสังคม ของคนไทยผู้อาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกา คงไม่สามารถอธิบายหรือนิยาม “ความเป็นคนไทยในอเมริกา”ให้ครอบคลุมได้ทั้งหมด เพียงแต่หากต้องการนิยามให้เห็นภาพบางส่วน เพื่อความเข้าใจของคนไทยในเมืองไทย หรือคนไทยที่เดินทางมาสหรัฐฯช่วงสั้นๆ ที่อาจมองภาพไม่ค่อยเคลียร์ก็น่าที่จะสามารถทำได้บ้าง ในลักษณะของการตั้งข้อสังเกต ซึ่งผู้รับฟังต้องใช้วิจารณญาณประกอบการรับฟังเรื่องราวดังกล่าว ผมขอตั้งข้อสังเกตดังนี้นะครับ ประการหนึ่ง ไม่เคยมีการตั้งข้อสังเกตเรื่องนี้จากฝ่ายรัฐและเอกชนของไทยทั้งในและนอกสหัฐอเมริกา ประการสอง ไม่เคยมีการทำงานหรือส่งเสริมงานด้านวิจัยทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณเกี่ยวกับลักษณะความคิด (กระบวนทัศน์) […]
อเมริกันปัญญาพุทธ
พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ การแพร่เข้าไปของพระพุทธศาสนาในสหรัฐอเมริกาในปัจจุบันเป็นไปอย่างกว้างขวาง แม้ว่าสหรัฐฯ จะเป็นประเทศที่แยกระบบการปกครอง(รัฐ)ออกจากศาสนา(secular state) หรือ ศาสนาไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมกำกับดูแลโดยรัฐ หากการนับถือศาสนาเป็นไปตามความนิยมเชิงปัจเจก ตามแบบอย่างจารีตอเมริกัน ซึ่งเน้นเสรีภาพในเรื่องความเชื่อเกี่ยวกับศาสนาตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ อเมริกันเป็นที่ตั้ง โดยที่การปกครองไม่อิงหรือผูกพันกับการนับถือศาสนาใดๆ ภายใต้ระบบการเปิดเสรีอเมริกันดังกล่าว ก่อให้เกิดความเคลื่อนไหวอย่างมากมายของกิจกรรมเชิงลัทธิหรือศาสนาต่างๆใน สหรัฐฯ ซึ่งนอกเหนือไปจากพลเมืองอเมริกันแล้ว ในช่วงที่ผ่านมายังมีนักการเมืองอเมริกันที่อ้างตนเองอย่างเป็นทางการว่า นับถือศาสนาพุทธรวมอยู่ในนั้นด้วย ได้แก่ สมาชิกวุฒิสมาชิก(สว.)หญิง Mazie Keiko Hirono แห่งรัฐฮาวายที่เพิ่งได้รับการเลือกตั้งเมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๕ ,สมาชิกสภาคองเกรส(สส.) Hank Johnson แห่งรัฐจอร์เจีย […]
อเมริกันกับการนับถือศาสนา
พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ กรณีธรรมกายในประเทศไทย หรือแม้แต่กรณีของพระวีราธุ ผู้ที่เป็นแกนนำนำชาวพุทธต่อต้านชาวมุสลิมในประเทศพม่า ก่อให้เกิดกระแสวิจารณ์ทั้งในส่วนของพระสงฆ์ในศาสนาพุทธ รวมถึงรัฐบาลของทั้งสองประเทศ เกี่ยวกับกระบวนการบริหารจัดการด้านศาสนาภายในอย่างขนานใหญ่ในเวลานี้ เพราะเรื่องศาสนาเกี่ยวข้องกับเรื่องของความเชื่อความศรัทธาของประชาชนในรัฐโดยตรง หากธรรมนูญแห่งรัฐหรือหลักการบริหารจัดการของรัฐไม่ดี ไม่มีประสิทธิภาพ อาจส่งผลให้เกิดปัญหาเกิดขึ้นตามมาได้ อย่างน้อยที่เห็นๆ ก็มีด้วยกัน 2 ประการ คือ หนึ่ง เกิดความขัดแย้งระหว่างศาสนิกของแต่ละศาสนากับ สอง ส่งผลต่อจริยธรรมและวัฒนธรรมของศาสนิกในแต่ละศาสนา ซึ่งต้องไม่ลืมว่าจริยธรรมและวัฒนธรรมเป็นเบ้าหลอมให้เกิดรูปร่างและการคงอยู่ของสังคม เพื่อให้สังคมนั้นๆ อยู่ร่วมกันอย่างสันติ ดังนั้น ความเชื่อทางด้านศาสนาหรือลัทธิใดก็ตาม ที่ไม่สร้างความเดือดร้อนให้คนในสังคมตนและสังคมคนอื่นๆ ก็น่าจะเป็นอันใช้ได้ การคำนึงผลกระทบด้านจริยธรรมและวัฒนธรรมของสังคมส่วนหนึ่ง เป็นที่มาของความพยายามอนุรักษ์หรือปกป้องลัทธิ/ศาสนา […]