พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ รายงานคุณภาพชีวิตเด็กประจำปี 2018 ขององค์กรเพื่อเด็กระหว่างประเทศ Save the Children ระบุว่า สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุดต่อการเจริญเติบโตของเด็ก จากการประเมิน 175 ประเทศทั่วโลก ตามมาด้วย สโลวีเนีย นอร์เวย์ สวีเดน และฟินแลนด์ ขณะที่ไทยได้รับการจัดอันดับอยู่ที่อันดับที่ 85 ซึ่งต่ำกว่าเกาหลีเหนือที่อยู่ในลำดับที่ 70 และต่ำกว่าดินแดนที่ยังมีการสู้รบอย่างเซอร์เบียและปาเลสไตน์ ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 42 และ 84 ทั้งนี้ สำหรับประเทศไทย ในรายงานยังมีการระบุว่าเป็นประเทศที่มีการแบ่งแยกเด็กผู้ชาย-ผู้หญิงอย่างชัดเจน […]
ความสำคัญของ“สำเนียงส่อภาษาฯ”ในอเมริกา
พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ เคยมีเพื่อนจากเมืองไทยถามผมว่า วัฒนธรรมอเมริกันมีภาษาท้องถิ่น เหมือนที่เมืองไทยมีภาษาปักษ์ใต้ ภาษาล้านนา ภาษาอิสาน หรือภาษาสุพรรณ ราชบุรี เพชรบุรีประจวบฯ ที่สำเนียงออกเหน่อๆ หรือไม่? คงต้องตอบว่า “มีครับ” และถือเป็นเรื่องปกติของอเมริกันชนที่นี่ ท่ามกลางความหลากหลายของเชื้อชาติของผู้คนในอเมริกากว่า 300 ล้านคน ที่สำคัญคือ จากความแตกต่างหลากหลายดังกล่าวนี้เองถูกมองว่าการที่อเมริกันแต่ละคนพูดด้วนสำเนียงภาษาที่แตกต่างกัน เป็นเรื่องปกติธรรมดา ไม่นับรวมคนสำเนียงภาษาจากคนกลุ่มน้อย (minority groups) เชื้อชาติต่างๆ อีกนับร้อย เช่น จีน เกาหลี ไทย […]
“สลิ่ม” ก็มี ด้วยประการฉะนี้
พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ เมื่อก่อนพอได้ยินคนกล่าวประโยคว่า “ถ้าคุณคิดว่าไม่ชอบอเมริกาก็ควรกลับประเทศของตัวเองไป (ซะ) อย่าอยู่ที่นี่เลย” ผมรู้สึกเฉยๆ แต่มาวันนี้ผมกลับคิดว่าคำพูดประโยคนี้ไม่ธรรมดา แถมมีแง่มุมให้คิดอยู่ไม่น้อย ที่ว่า “ไม่น้อย” เพราะสถานการณ์อะไรๆ ต่างๆ ได้เปลี่ยนไปมาก โดยเฉพาะสถานการณ์การเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์ แต่มีผู้คนเชื้อสายต่างด้าว โดยเฉพาะคนเชื้อสายไทยที่แสดงออกว่า พวกเขาไม่พอใจ “ระบบอเมริกัน”ขณะที่พวกเขากำลังอยู่ท่ามกลางระบบหรือสังคมอเมริกันและพวกเขาดิ้นรนแสวงหาช่องทางเพื่อมาทำมาหากินและใช้ชีวิตอยู่ที่นี่กันอย่างยากลำบาก ทั้งโรบินฮู้ดและมิใช่โรบินฮู้ด (น่าแหละ) หากแท้จริงแล้ว สถานการณ์ปัจจุบันที่แสดงว่าโลกมีความเป็นหนึ่งเดียว และเป็นสังคมข้อมูลข่าวสาร น่าจะทำให้คนเชื้อสายต่างด้าว (immigrants) ผู้อาศัยอยู่ในอเมริกาจำนวนมากสมควรมีทางเลือกเป็นของตนเองโดยอิสระ […]
พุทธศาสนา…หนึ่งในตัวเชื่อมความสัมพันธ์ไทย-อเมริกา
พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ พระพุทธศาสนาเถรวาทแบบไทย เข้ามาลงหลักปักฐานในสหรัฐอเมริกาเป็นเวลาหลายสิบปี ในอเมริกาฝั่งตะวันตก(west coast) นั้นได้วัดไทยแอล.เอ. รัฐแคลิฟอร์เนีย เป็นสดมภ์หลักในการเผยแผ่พระธรรมคำสอนขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นวัดไทยที่มีลักษณะแบบเป็นทางการมากที่สุด นั่นคือ เป็นวัดรูปแบบตามแบบอย่างเมืองไทยอย่างชัดเจน โดยเฉพาะในด้านสถานที่และสถาปัตยศิลป์ เมื่อเทียบกับวัดไทยในสถานที่อื่นๆ ในอเมริกา โดยที่วัดไทยจำนวนหนึ่งอยู่ในสภาพของการใช้บ้านเรือนเป็นสถานที่ทำการในฐานะวัด หรือพูดง่ายๆ ก็คือ พระสงฆ์ใช้“บ้าน”เป็นที่พักปฏิบัติศาสนกิจนั่นแหละ ซึ่งสำหรับในอเมริกาแล้วเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องปกติธรรมดา อย่างที่ทราบกันดีว่า ขนบธรรมเนียม วัฒนธรรมความเป็นอยู่ของฝรั่งอเมริกัน ไม่เหมือนกับของคนไทย นอกจากวัฒนธรรมแล้ว ก็เชื่อมโยงไปถึงข้อกฎหมาย วัดในอเมริกามีฐานะเป็นนิติบุคคลเหมือนองค์กรนิติบุคคลโดยทั่วไป ดังนั้นการดำเนินกิจกรรมใดๆ ก็ตามต้องเป็นตามทบัญญัติแห่งของกฎหมายของรัฐต่างๆ ที่วัดนั้นตั้งอยู่ […]
ปรากฏการณ์สื่ออเมริกันสะท้อนกระแสข่าวล็อบบี้ของทักกี้
พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ งานนี้ ทักกี้อยู่เบื้องหลังอีกแล้ว!! (กับการ) ล็อบบี้นักการเมืองและคนอเมริกันให้หันมาโจมตีต่อรัฐบาลเผด็จการทหารของไทย (คสช.) 555?? แต่คราวนี้ดูเหมือนการล็อบบี้ที่ว่าจะไม่ได้เกิดขึ้นจริง (ล่ะมั้ง?) เพราะในช่วงหลายเดือนมานี้ ไม่มีนักการเมืองอเมริกันหน้าไหน ออกมาพูดให้สัมภาษณ์ขย่มรัฐบาลคสช. แม้สักคนเลย ถ้าทักกี้และเครือข่ายฯ จ่ายเงินผ่านล้อบบี้ยีสต์ที่วอชิงตันดีซีจริงป่านนี้คงได้เห็นนักการเมืองอเมริกันออกมาวิพากษ์วิจารณ์การเมืองไทยกันให้ขรมแล้ว อย่างที่ทราบกัน หากกลับไปตรวจสอบสื่อต่างๆ โดยเฉพาะสื่ออเมริกันจนถึงขณะนี้ยังไม่ปรากฏท่าทีของฝ่ายการเมืองของอเมริกันต่อการเมืองไทยบนสื่อใดๆ เลย ทั้งนี้ทั้งนั้น มิใช่ว่าการตั้งข้อสงสัยเชิงหวาดระแวงของสลิ่มชน(ไทย) จะไม่มีมูลความจริง เพราะก่อนหน้านี้ การล็อบบี้เชิงการเมืองระหว่างปะเทศได้บังเกิดขึ้นจริงที่แคปปิตัล ฮิลล์ และมันส่งผลต่อสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศเพื่อนบ้านของไทย อย่างเมียนมาร์ซึ่งเป็นความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในประเทศเดียวกันนี้ คือ เปลี่ยนจากรัฐบาลสล็อคของนายพลตานฉ่วย […]
Clean and Clear of the Last Generation
By Pete Pongpipatthanapan As a nephew of Phra Kru Vijitra Dhammabharn, the abbot of Wat Pha Tor I am so proud to be his nephew and to mourning him as […]
อิทธิพลของอเมริกันในอนาคต
พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ มีเพื่อนคนไทยถามผมเกี่ยวกับบทบาทและสถานะของอเมริกาในอนาคตว่าจะเป็นอย่างไร อย่างน้อยก็ในช่วงราวประมาณอีก 10 ถึง 15 ปีข้างหน้า โดยเหตุที่ปัจจุบันมีดาราหน้าใหม่อย่างจีนไม่ก็อินเดีย สังกัดค่ายตะวันออกไต่อันดับขึ้นมามีอิทธิพลต่อชาวโลกในด้านต่างๆ มากขึ้น โดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจและด้านความมั่นคง ในช่วงที่ผ่านมาสื่อหลายแห่ง ตลอดถึงผู้เชี่ยวชาญได้วิเคราะห์ถึงประเด็นนี้กันมาก เพื่อประโยชน์ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ความสัมพันธ์ในระดับองค์กร และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งก็ย่อมจะเกี่ยวเนื่องไปถึงการจัดลำดับความสำคัญ ในการร่วมทำธุรกิจสาขาต่างๆ ทั้งในส่วนของภาครัฐและภาคเอกชน ขณะที่ในปัจจุบันนั้น บทบาทของอเมริกา ยังถือว่า มีส่วนสำคัญต่อการกำหนดชะตากรรมของโลก จากความเสื่อมถอยทางด้านเศรษฐกิจของอเมริกาในช่วงต่างๆที่ผ่านมา ถึงกระทั่งในเวลานี้ เป็นเหตุให้ผู้คนจำนวนไม่น้อยพากัน วิจารณ์ สำแดงทัศนะต่อความเป็นไปของอเมริกาที่เชื่อมโยงถึงโลกหรือประเทศในภูมิภาคต่างๆ ในด้านของความมั่นคงนั้น […]
อำนาจตุลาการที่ยึดโยงกับประชาชน
พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ ปัญหาผลการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไทยซึ่งได้ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งอย่างต่อเนื่องในสังคมไทย จนกระทั่งเหตุการณ์ลุกลามบานปลาย เนื่องจากประเทศไทยมีความขัดแย้งทางการเมืองอยู่ก่อนแล้ว คู่ขัดแย้งได้ฉวยเอาคำวินิจฉัยดังกล่าวไปใช้ประโยชน์สำหรับฝ่ายตน จึงทำให้คำวินิจฉัยนั้นถูกวิพากษ์วิจารณ์จากสาธารณชนและนักวิชาการอย่างมาก เลยไปถึงกรอบการทำหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญที่ขยายออกไปมากเกินควรหรือไม่? ศาลรัฐธรรมนูญไทย ถูกวิพากษ์วิจารณ์ใน 3 ประเด็นใหญ่ๆ ได้แก่ ประเด็นที่หนึ่ง วิจารณ์เหตุผลจากคำวินิจฉัยของศาล ประเด็นที่สอง วิจารณ์ที่โยงจากส่วนแรก กล่าวคือ ที่มาของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ประเด็นที่สาม วิจาณ์ขอบเขต หรืออำนาจหน้าที่การตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญว่าเกินเลย มากไปหรือไม่ ประเด็นแรก นั้นข้อวิจารณ์มุ่งไปที่ความสมเหตุสมผลของคำวินิจฉัย เพราะตามหลักสากลคำวินัยของศาลรัฐธรรมนูญจะต้องยึดโยงกับข้อกฎหมายในรัฐธรรมนูญโดยอาศัยระเบียบวิธีการตัดสินของศาลยุติธรรมโดย ปกติทั่วไป ประเด็นที่สอง เป็นการวิจารณ์ที่ว่าด้วยที่มาของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่มีที่มาไม่ยึดโยงกับประชาชนเหมือนในอารยประเทศ ประเด็นที่สาม […]
การใช้อำนาจกับการยึดโยงประชาชน
พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ การพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญที่กำลังดำเนินการกันในเมืองไทยเวลานี้ มีหลายประเด็นที่ถูกหยิบยกขึ้นมาวิพากษ์วิจารณ์ หนึ่งในหลายประเด็นดังกล่าว คือ การกำหนดที่มาของสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ซึ่ง กรธ.มีแนวโน้มจะกำหนดให้เป็นลักษณะของสว.สรรหาจากตัวแทนของสาขาอาชีพต่างๆ ที่มาของสมาชิกวุฒิสภา (สว.)ไทยดังกล่าว มีการถกเถียงกันมานมนาน แต่เผอิญภายหลังเหตุการณ์เม.ย.และพ.ค. 2553 กระแสประชาธิปไตยในเมืองไทยเบ่งบานท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมืองที่ยังไม่สิ้นสุด ความเห็นต่อที่มาของ สว.ไทยจึงได้รับการวิพากษ์วิจารณ์เรื่อยมาเช่นกัน ซึ่งว่าไปแล้วการวิพากษ์วิจารณ์ในประเด็นดังกล่าวนี้ก็มีน้ำหนักอยู่มากทีเดียว เมื่อเปรียบเทียบถึงที่มาของสว.ของประเทศที่ได้ชื่อว่า “เป็นประชาธิปไตยสากล” โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา เหตุที่ต้องบอกว่า เป็นประชาธิปไตยสากล ก็เพราะมีบางกลุ่มคนในฝ่ายอนุรักษ์นิยมไทย ชอบใช้ คำว่า “ประชาธิปไตยแบบไทยๆ” ซึ่งหมายความว่าอย่างไรก็ไม่ทราบได้ จนต่อมาเกิดมีวาทกรรม […]
อย่ากลัว(ที่จะมี)จุดยืน“อนุรักษ์นิยม”
พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ อ่านข่าว นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ บอกว่าพรรคประชาธิปัตย์ไม่ใช่พรรคอนุรักษ์นิยมแต่เป็นพรรคเสรีประชาธิปไตย จนทำให้แลดูท่าเสมือนว่าพรรคแนวอนุรักษ์นิยมภาพไม่ค่อยดีเท่าพรรคแนวก้าวหน้าหรือเสรีนิยม (เสรีประชาธิปไตย) ทั้งที่ความจริงคือไม่ใช่สักหน่อย คำว่าอนุรักษ์นิยม หรือ conservative ในทางการเมือง ที่รู้จักกันเท่าที่คุยกับเพื่อนคนไทย ส่วนใหญ่ไม่ค่อยชอบใจถ้าใครบอกว่าตนเป็นคนอนุรักษนิยม มักคิดไปว่าเพื่อนไปมองตนเองทำนองเป็นคนหัวโบราณ ไม่ทันสมัย ล้าหลัง ไม่ทันโลก ซึ่งความจริงแล้วไม่ได้มีความหมายอย่างที่เข้าใจเลย เป็นการเข้าใจความหมายคำว่าอนุรักษ์นิยมที่ผิดพลาดอย่างมาก แม้แต่มุมมองคนไทยจำนวนมากต่อพรรครีพับลิกันของทรัมป์ ความล้าหลัง ไม่ทันสมัย ไม่ทันโลก ควรเป็นลักษณะของระบบเผด็จการตะหาก เพราะเป็นระบบที่สังคมโลกพากันรังเกียจ แท้จริงแล้วคำว่าอนุรักษ์นิยมในความหมายที่แท้จริง เป็นท่าในการวางหรือกำหนดนโยบายทางการเมืองของพรรคการเมือง […]
อนุรักษ์นิยมไทยในอเมริกา
พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ ในช่วงเทศกาลสงกรานต์นี้ ตามวัดไทยต่างๆ แทบทุกวัดในอเมริกาคงมีการเฉลิมฉลองประเพณีสงกรานต์กันแบบไทยๆ เช่นเดียวกับทางเมืองไทย ในขณะที่เมืองไทยอยู่ในช่วงความขัดแย้งทางการเมือง เพื่อนทางโซเชียลมีเดียบางคนถามถึง“ลักษณะทางด้านความคิดของคนไทยในอเมริกา”ว่า ส่วนใหญ่เป็นแบบใด เสรีนิยม หรืออนุรักษ์นิยม ซึ่งเป็นคำถามที่ตอบไม่ง่ายครับ เพราะความคิดทางการเมือง ทางเศรษฐกิจ ทางสังคม ของคนไทยผู้อาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกา คงไม่สามารถอธิบายหรือนิยาม “ความเป็นคนไทยในอเมริกา”ให้ครอบคลุมได้ทั้งหมด เพียงแต่หากต้องการนิยามให้เห็นภาพบางส่วน เพื่อความเข้าใจของคนไทยในเมืองไทย หรือคนไทยที่เดินทางมาสหรัฐฯช่วงสั้นๆ ที่อาจมองภาพไม่ค่อยเคลียร์ก็น่าที่จะสามารถทำได้บ้าง ในลักษณะของการตั้งข้อสังเกต ซึ่งผู้รับฟังต้องใช้วิจารณญาณประกอบการรับฟังเรื่องราวดังกล่าว ผมขอตั้งข้อสังเกตดังนี้นะครับ ประการหนึ่ง ไม่เคยมีการตั้งข้อสังเกตเรื่องนี้จากฝ่ายรัฐและเอกชนของไทยทั้งในและนอกสหัฐอเมริกา ประการสอง ไม่เคยมีการทำงานหรือส่งเสริมงานด้านวิจัยทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณเกี่ยวกับลักษณะความคิด (กระบวนทัศน์) […]
อเมริกันปัญญาพุทธ
พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ การแพร่เข้าไปของพระพุทธศาสนาในสหรัฐอเมริกาในปัจจุบันเป็นไปอย่างกว้างขวาง แม้ว่าสหรัฐฯ จะเป็นประเทศที่แยกระบบการปกครอง(รัฐ)ออกจากศาสนา(secular state) หรือ ศาสนาไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมกำกับดูแลโดยรัฐ หากการนับถือศาสนาเป็นไปตามความนิยมเชิงปัจเจก ตามแบบอย่างจารีตอเมริกัน ซึ่งเน้นเสรีภาพในเรื่องความเชื่อเกี่ยวกับศาสนาตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ อเมริกันเป็นที่ตั้ง โดยที่การปกครองไม่อิงหรือผูกพันกับการนับถือศาสนาใดๆ ภายใต้ระบบการเปิดเสรีอเมริกันดังกล่าว ก่อให้เกิดความเคลื่อนไหวอย่างมากมายของกิจกรรมเชิงลัทธิหรือศาสนาต่างๆใน สหรัฐฯ ซึ่งนอกเหนือไปจากพลเมืองอเมริกันแล้ว ในช่วงที่ผ่านมายังมีนักการเมืองอเมริกันที่อ้างตนเองอย่างเป็นทางการว่า นับถือศาสนาพุทธรวมอยู่ในนั้นด้วย ได้แก่ สมาชิกวุฒิสมาชิก(สว.)หญิง Mazie Keiko Hirono แห่งรัฐฮาวายที่เพิ่งได้รับการเลือกตั้งเมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๕ ,สมาชิกสภาคองเกรส(สส.) Hank Johnson แห่งรัฐจอร์เจีย […]
อเมริกันกับการนับถือศาสนา
พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ กรณีธรรมกายในประเทศไทย หรือแม้แต่กรณีของพระวีราธุ ผู้ที่เป็นแกนนำนำชาวพุทธต่อต้านชาวมุสลิมในประเทศพม่า ก่อให้เกิดกระแสวิจารณ์ทั้งในส่วนของพระสงฆ์ในศาสนาพุทธ รวมถึงรัฐบาลของทั้งสองประเทศ เกี่ยวกับกระบวนการบริหารจัดการด้านศาสนาภายในอย่างขนานใหญ่ในเวลานี้ เพราะเรื่องศาสนาเกี่ยวข้องกับเรื่องของความเชื่อความศรัทธาของประชาชนในรัฐโดยตรง หากธรรมนูญแห่งรัฐหรือหลักการบริหารจัดการของรัฐไม่ดี ไม่มีประสิทธิภาพ อาจส่งผลให้เกิดปัญหาเกิดขึ้นตามมาได้ อย่างน้อยที่เห็นๆ ก็มีด้วยกัน 2 ประการ คือ หนึ่ง เกิดความขัดแย้งระหว่างศาสนิกของแต่ละศาสนากับ สอง ส่งผลต่อจริยธรรมและวัฒนธรรมของศาสนิกในแต่ละศาสนา ซึ่งต้องไม่ลืมว่าจริยธรรมและวัฒนธรรมเป็นเบ้าหลอมให้เกิดรูปร่างและการคงอยู่ของสังคม เพื่อให้สังคมนั้นๆ อยู่ร่วมกันอย่างสันติ ดังนั้น ความเชื่อทางด้านศาสนาหรือลัทธิใดก็ตาม ที่ไม่สร้างความเดือดร้อนให้คนในสังคมตนและสังคมคนอื่นๆ ก็น่าจะเป็นอันใช้ได้ การคำนึงผลกระทบด้านจริยธรรมและวัฒนธรรมของสังคมส่วนหนึ่ง เป็นที่มาของความพยายามอนุรักษ์หรือปกป้องลัทธิ/ศาสนา […]
หายนะด้านเศรษฐกิจครั้งใหม่ของไทย
พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ สดับจากสื่ออเมริกันและแวดวงอเมริกันชนมาจำนวนหนึ่งครับ เกี่ยวกับสถานการณ์ทางด้านเศรษฐกิจของไทย โดยเฉพาะสื่อสิ่งพิมพ์ในแวดวงเศรษฐกิจ ขณะที่คนไทยยังอยู่ในยุคของเผด็จการทหารกันในเวลานี้ จึงอยากจะขอเล่าสู่กันฟังพอเป็นน้ำจิ้มแห่งอุทาหรณ์ครับ เท่าที่สรุปสั้นๆ ได้มีดังนี้ครับ 1.ไทยยังมีปัญหาการส่งออกสินค้าที่เคยส่งออก ไปยังต่างประเทศ เช่น ส่งออกไปยังยุโรป และส่งไปยังอเมริกาไม่ได้เหมือนเดิมหลังจากรัฐบาลทหารครองอำนาจเมื่อประมาณ 2 ปีที่แล้ว ซึ่งส่งผลให้การการส่งออกสินค้า โดยเฉพาะสินค้าเกษตรอยู่ในอัตราติดลบ สื่ออเมริกันส่วนหนึ่งมองว่า ประเทศตะวันตกผู้นำเข้าสินค้า (ซึ่งเคยนำเข้าสินค้าไทยมาก่อน) ไม่ยอมรับรัฐบาลเผด็จการ ส่งผลให้มีมาตรการโดยภาครัฐระงับหรือยุติการนำเข้าสินค้าจากเมืองไทย ปัญหาจากการส่งสินค้าออกไม่ได้ดังกล่าวส่งผลให้ภาคการเกษตรซึ่งเป็นภาคหลักของรายได้ของคนไทยประสบปัญหาและลุกลามไปยังภาคเศรษฐกิจอื่นๆ อย่างยากที่จะแก้ไขได้ ทำให้เกิดภาวะเงินฝืด กล่าวคือเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจน้อยกว่าปกติ แม้ภาครัฐของไทยจะกำหนดมาตรการประชานิยมในชื่อใหม่ว่า “ประชารัฐ” เพื่อให้เงินสะบัดในระบบฯ […]
สินค้าวัฒนธรรมไทย-อเมริกัน
พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ จำได้ว่าเมื่อปี 5556 นายเจษฎา กตเวทิน ซึ่งดำรงตำแหน่งกงสุลใหญ่ของรัฐไทย ประจำเมืองลอสแองเจลิสในเวลานั้น ได้ประสานให้นาย Tom LaBonge สมาชิกสภาเมืองลอสแองเจลิส (L.A. city council) เขต 4 และประธานองค์กรบ้านพี่เมืองน้องของเมืองลอสแองเจลิส และคณะไปเยือนเมืองไทย ถ้าจำไม่ผิดในปีนั้นน่าจะเป็นช่วงเดือนพฤษภาคม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระชับความสัมพันธ์และหารือถึงแนวทางการส่งเสริมความสัมพันธ์และขยายความร่วมมือระหว่างกรุงเทพมหานครและเมืองลอสแองเจลิส นายเจษฎาแถลงข่าวผ่านเอกสารของสถานกงสุลไทย เมืองลอสแองเจลิสในตอนนั้นว่า ปี 2556 จะนับเป็นปีแห่งการเฉลิมฉลองครบรอบความสัมพันธ์ 180 ปี ไทย-สหรัฐฯ ผมเคยเขียนแสดงความยินดีกับนายเจษฎาและคณะที่ประสานงานจนเกิดการเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างไทย-สหรัฐฯขึ้นมาได้ […]
ที่มาของกระบวนการยุติธรรมอเมริกัน
พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ การกำหนดกฎหมายต่างๆ ของรัฐอเมริกัน มีรากฐานมาจากปรัชญา “มนุษยนิยม” เป็นส่วนใหญ่ หลายคนวิจารณ์ในเชิงตำหนิว่า นี่ทำให้มนุษย์หรือพลเมืองอเมริกันมีอัตตา (อีโก้) สูงมากกว่าชาติอื่นๆ หากแต่ไม่มีใครปฏิเสธว่า ประเทศนี้เป็นดินแดนแห่งนวัตกรรมด้านต่างๆ มากกว่าดินแดนใดในโลกนี้ นับตั้งแต่ด้านเทคโนโลยีหรือด้านวิทยาศาสตร์ตลอดถึงด้านสังคมก็ตามที การความสำคัญกับ (ทรัพยากร) มนุษย์ นับตั้งแต่การจัดระบบการศึกษาเป็นพื้นฐาน หล่อหลอมให้สังคมอเมริกันมีความหลากหลายในตัวเองและยอมรับต่อความหลากหลายนั้น ที่สำคัญความหลากหลายดังกล่าว ช่วยให้สังคมประเทศนี้พัฒนาไปได้ไวในแง่การเกิดขึ้นของนวัตกรรมต่างๆ แม้แต่งานในแขนงศิลปะ ยิ่งในปัจจุบันด้วยแล้ว อเมริกันให้ค่ากับความหลากหลายในขั้นสูงสุด กิจการงานหรือวัตรปฏิบัติใดคล้อยตามกระแส กิจการหรือวัตรปฏิบัตินั้นอาจไร้ความสำคัญไปโดยปริยาย ไม่ว่าจะเป็นในเชิงปัจเจกหรือในเชิงธุรกิจก็ตาม พูดง่ายๆ และตรงๆ […]
ภาษาอเมริกันกับความหลากหลาย
พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ เคยมีเพื่อนจากเมืองไทยถามผมว่า วัฒนธรรมอเมริกันมีภาษาท้องถิ่น เหมือนที่เมืองไทยมีภาษาปักษ์ใต้ ภาษาล้านนา ภาษาอีสาน หรือภาษาสุพรรณ ราชบุรี เพชรบุรีประจวบฯ ที่สำเนียงออกเหน่อๆ หรือไม่? “มีครับ” และถือเป็นเรื่องปกติของอเมริกันชนที่นี่ ท่ามกลางความหลากหลายของเชื้อชาติของผู้คนในอเมริกากว่า 300 ล้านคน ที่สำคัญคือ จากความแตกต่างหลากหลายดังกล่าวนี้เองถูกมองว่าการที่อเมริกันแต่ละคนพูดด้วยสำเนียงภาษาที่แตกต่างกัน เป็นเรื่องปกติธรรมดา ไม่นับรวมคนสำเนียงภาษาจากคนกลุ่มน้อย (minority groups) เชื้อชาติต่างๆ อีกนับร้อย เช่น จีน เกาหลี ไทย ฟิลิปปินส์ […]
การแก้ปัญหาคอร์รัปชั่นแบบ“ค้อนตียุง”
พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ การต่อต้านการคอร์รัปชั่น ไม่ได้มีเฉพาะประเทศไทย แต่มีอยู่ทุกประเทศทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นประเทศด้อยพัฒนา กำลังพัฒนา หรือประเทศที่พัฒนาแล้วก็ยังมีระบบการป้องกันและปราบปรามการคอร์รัปชั่น ส่วนหนึ่งถูกตราเป็นกฎหมายเพื่อใช้ป้องกันและปราบปราม รวมถึงกำหนดบทลงโทษสำหรับ ผู้ที่กระทำความผิดที่มีความรุนแรงแตกต่างกันออกไปแล้วแต่กรณี ในสหรัฐอเมริกาเองก็ยังคงมีปัญหาการคอรัปชั่นเช่นเดียวกันกับประเทศทั้งหลายโดยทั่วไป ทั้งการคอร์รัปชั่นในประเทศนี้เป็นการกระทำที่แนบเนียนมากกว่าประเทศกำลังพัฒนาโดยทั่วไป จนกระทั่งองค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่นระหว่างประเทศชื่อ “Transparency International” (T.I.) ได้ออกมาระบุว่า แม้สหรัฐฯ จะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วก็ตาม แต่ก็ยังถือว่ามีการคอร์รัปชั่นอยู่ในอันดับกลางๆ ของโลก ด้วยคะแนนในปี 2013 อยู่ที่ 73 ใกล้เคียงกับอันดับในปี 2012 ที่เรียงตามลำดับประเทศที่มีการคอร์รัปชั่นมากไปหาน้อย อเมริกาอยู่ในลำดับ […]
เผด็จการใหม่ & ประชาธิปไตยในห้องเรียน
พีร์พงศ์พิพัฒนพันธุ์ สิทธิเสรีภาพในการพูดจัดเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานในระบอบประชาธิปไตย หรือที่รู้จักกันในคำพูด Freedom of speechรวมทั้งสิทธิในการแสดงออก หรือ Freedom of expression ได้รับการยอมรับเป็นสิทธิมนุษยชนภายใต้ข้อ 19 แห่งปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและได้ถูกยอมรับในกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights -ICCPR) ข้อ 19 แห่งกติกาดังกล่าว บัญญัติว่า “ทุกคนมีสิทธิออกความเห็นโดยไม่ถูกแทรกแซง” และ “ทุกคนมีสิทธิในเสรีภาพการพูด สิทธินี้จักรวมไปถึงเสรีภาพในการแสวงหาได้รับและส่งต่อข้อสนเทศและความคิดในทุกรูปแบบ โดยไม่คำนึงถึงขอบเขตไม่ว่าจะโดยการพูด […]
ทำไม ต้องประจวบฯ สมาร์ทซิตี้?
พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็นความคิดใหม่หรือไม่? แต่จุดยุทธศาสตร์ อย่างประจวบคีรีขันธ์ ทางผ่านไปยังภาคใต้ของไทย ที่ผมเองเคยผ่านไป-มากกว่าร้อยครั้ง น่าจะเป็นจุดหนึ่งที่เกี่ยวโยงกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยเอามากๆ เสียด้วยซ้ำ จุดนี้อาจเรียกได้ว่า จุดเชื่อมอิสต์-เวสต์ คอริดอร์ ของไทยอย่างแท้จริง คือจากอ่าวไทยไปอันดามันหรือแม้แต่ทะเลเบงกอล อันเป็นแนวเชื่อมต่ออีกหลายประเทศในเอเชียใต้ อย่าง อินเดีย ศรีลังกาและบังคลาเทศ ซึ่งก็แน่นอนว่าต้องผ่านพม่า ประเทศในกลุ่มอาเซียนดุจเดียวกับประเทศไทยไปก่อน จากการมองว่าประจวบฯ เป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญดังกล่าว ตอนนี้เลยเกิดกลุ่มผู้มีความคิดขับเคลื่อนเมืองประจวบฯ ให้เป็นเมืองยุทธศาสตร์หลักในการพัฒนาพื้นที่เขตตะวันตกของประเทศไทย ด้วยความที่จังหวัดนี้มีพื้นที่เป็นแนวยาวติดกับชายแดนพม่า ที่สำคัญระยะทางจากฝั่งสู่ฝั่ง อ่าวพม่าและอ่าวไทยนั้นมีระยะใกล้กันไม่มาก เหมาะสมสำหรับการเปิดตัวเขตเศรษฐกิจเชื่อมต่อระหว่างสองประเทศอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นด้านไหน อย่างเช่น […]