พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์
เหตุการณ์ในปรเทศไทย และบางประเทศ อย่างเช่น ประเทศพม่า (กรณีพระวิราธุ- ความขัดแย้งระหว่างชาวพุทธกับมุสลิม) เกิดกระแสวิจารณ์พระสงฆ์ในศาสนาพุทธและกระบวนการจัดการด้านศาสนาอย่างกัน อย่างขนานใหญ่ เพราะเรื่องศาสนาเกี่ยวข้องกับเรื่องของความเชื่อความศรัทธาโดยตรง หากธรรมนูญแห่งรัฐ หรือหลักการบริหารจัดการของรัฐไม่ดี ไม่มีประสิทธิภาพ ก็อาจก่อให้เกิดปัญหาเกิดขึ้นตามมาได้
ผลกระทบที่เกิดจากเหตุการณ์ดักล่าวมีอย่างน้อย 2 ประการ คือ
หนึ่ง เกิดความขัดแย้งระหว่างศาสนิกของแต่ละศาสนากับ สอง ส่งผลต่อจริยธรรมและวัฒนธรรมของศาสนิกแต่ละศาสนา เพราะจริยธรรมและวัฒนธรรมเป็นเบ้าหลอมรูปร่างและความเป็นอยู่ของสังคม เพื่อให้สังคมนั้นๆ อยู่กันอย่างสันติโดยอิสระ หรือมีเสรีภพในระดับที่เหมาะสม
ส่วนความเชื่อทางด้านศาสนาหรือลัทธิใดๆ ก็ตามที่ไม่สร้างความเดือดร้อนให้คนในสังคมที่อยู่กันอย่างหลากหลายรัฐหรือรปะชาชชนของแต่ละรัฐมีหน้าที่พิจารณาว่า ควรให้รัฐเข้าไปจัดการได้มากน้อยขนาดไหน หากให้รัฐเข้าไปจัดการเรื่องศาสนาได้มากเท่าใด รัฐนั้นก็กลายเป็นรัฐศาสนามากยิ่งขึ้นเท่านั้น ซึ่งเรื่องนี้บทเรียนจาก “ยุคกลาง”กนยุโรปมีให้เห็นมาแล้วว่า การที่รัฐเข้าไปยุ่งหรือ “จัดการ” กับศาสนามีผลร้ายมากเพียงใด
การคำนึงผลกระทบด้านจริยธรรมและวัฒนธรรมของสังคมหรือรัฐส่วนหนึ่ง เป็นที่มาของความพยายามอนุรักษ์หรือปกป้องลัทธิศาสนา หรือความเชื่อของคนสังคมนั้นๆ ซึ่งหากในสังคมใดมีความเชื่อ ความนับถือในศาสนาที่หลากหลายก็เกิดเป็นปัญหาความขัดแย้ง ในหลายแง่มุม อย่างน้อยในแง่ “ความยุติธรรม” หรือความเสมอภาคที่คนในสังคมได้รับ ก็เป็นแง่มุมหนึ่งของปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติต่อคน (ประชาชน)ในสังคมใน ประเด็นความเชื่อที่แตกต่างอย่างไม่เท่าเทียมกันกัน
ที่สำคัญคือ การนำศาสนา (ในนามของความดีหรือ “ฝ่ายเทพ” ไปคุกคามฝ่ายตรงกันข้ามที่เชื่อต่าง) ยิ่งหากสังคมนั้นๆ อยู่ภายใต้สถานการณ์ของความตื่นตระหนกทางศีลธรรม (moral panic)ด้วยแล้ว
การบริหารสังคมหรือบริหารรัฐ เพื่อไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งด้านความเชื่อทางศาสนาจึงเป็นเรื่องสำคัญ ขณะเดียวลักษณะของการบริหารจัดการ เพื่อคงอัตลักษณ์ทางด้านวัฒนธรรมและความเชื่อความศรัทธาของประชาชน เพื่อจริยธรรม (ความสงบสุข) ในการอยู่ร่วมกันก็จำเป็นหรือสำคัญเช่นกัน
ปัญหาคือทำอย่างไรจึงจะเกิดความพอดีในการควบคุมหรือเรียกร้อง (รณรงค์) ด้านจริยธรรม
ประเด็นเดียวกันนี้ คนอเมริกันและสังคมอเมริกันได้บทเรียน เกี่ยวกับเรื่องความขัดแย้งศาสนาและความเชื่อนี้มาจากหลายเหตุการณ์ใน ประวัติศาสตร์ หนึ่งในนั้นคือ สงครามครูเสด (ยุคกลาง) ซึ่งเกิดขึ้นอย่างยาวนานในยุโรป เป็นช่วงๆ ราวสองศตวรรษ นอกเหนือไปจากเหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างศาสนิกในศาสนาเดียวกันหลายกรณี โดยเฉพาะความขัดแย้งในบรรดาคริสตศาสนิกด้วยกันในยุโรป ระหว่างนิกายใหม่โปรแตสแต้นท์ กับนิกายโรมันแคททอลิก ที่ต้นเหตุความขัดแย้งเริ่มจากประเทศฝรั่งเศส (French Wars of Religion) ก่อนแผ่ขยายไปยังประเทศยุโรปอื่นๆ เป็นต้น
สำหรับอเมริกัน…จึงนำมาสู่การบัญญัติหรือกำหนดรัฐธรรมนูญข้อแรก (First amendment) ไม่ให้มีการบัญญัติกฎหมายเกี่ยวข้องกับศาสนา (Congress shall make no law respecting an establishment of religion) และยังมีบางมาตราที่กำหนดให้การทดสอบเพื่อทำงาน มีข้อห้ามเรื่องการตั้งคำถามเกี่ยวกับศาสนาในการรับคนเข้าทำงาน ซึ่งยังแสดงให้เห็นถึงหลักการบริหารจัดการ(ปรัชญา) ของรัฐที่มีต่อศาสนา ตามคำกล่าวที่ว่า “ทุกคนมีเสรีภาพในการนับศาสนา(Religious Liberty for All)”
สหรัฐอเมริกา จึงเป็นตัวอย่างของรัฐที่แยกกิจการของรัฐออกจากศาสนา (Secular State) เหมือนกับแคนาดา เม็กซิโก และอีกหลายประเทศในยุโรป ซึ่งการแยกดังกล่าว ไม่ได้หมายความว่าคนอเมริกันไม่มีศาสนา หรือจะทำอะไรที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อหรือศาสนาก็ได้ แต่ภายใต้เงื่อนไขของกฎหมายรัฐธรรมนูญ คนอเมริกันมีหน้าที่รับผิดชอบต่อการนับถือศาสนาด้วย แต่เป็นความรับผิดชอบอย่างยุติธรรมและเสมอภาค เหตุดังกล่าว ทำให้หลายศาสนา รวมถึงพุทธศาสนามาเบ่งบานอยู่ในดินแดนตะวันตกแห่งนี้ ซึ่งเรื่องนี้จะเปรียบเทียบกับพุทธศาสนาตามรูปแบบของรัฐไทยคงไม่ได้ เพราะสำหรับรัฐไทยแล้ว รัฐ เป็นฝ่ายออกแบบลักษณะวิธีการศาสนาเอง ผ่านระบบกฎหมายพุทธศาสนา หรือ พระราชบัญญัติคณะสงฆ์(พ.ร.บ. สงฆ์) พ.ศ.2505 แก้ไข พ.ศ. 2535
การใช้กฎหมายดังกล่าว มีนัยยะว่า รัฐไทยได้ถูกทำให้เป็นรัฐศาสนา (State Religion)กลายๆ, ศาสนาถูกทำให้กลายเป็นสถาบัน โดยที่ผลของการทำให้เป็นสถาบันนี้ มีทั้งดีและเสีย
ส่วนดีเห็นจะได้แก่ การสร้างอุดมการณ์/คุณค่าของรัฐ ในเรื่องของศีลธรรม และจริยธรรม รวมถึงการปกป้องศาสนาในขอบวงของอุดมการณ์/คุณค่าของรัฐ ส่วนผลเสีย ได้แก่ การที่(พุทธ)ศาสนา ถูกจำกัดอาณาบริเวณ(นิยาม/ตีความ)โดยรัฐ โดยที่การนิยาม/การตีความ ดังกล่าว ก่อให้เกิดการผูกขาดแบบแช่แข็ง (พุทธ)ศาสนาขึ้นในประเทศไทย ขณะการให้คุณค่าของการดำเนินชีวิตของคนในโลกปัจจุบันเปลี่ยนไป และในอนาคตคุณค่านี้ก็จะยังคงเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
นอกจากนี้ การที่(พุทธ)ศาสนาถูกจำกัดอาณาบริเวณโดยรัฐ ยังเป็นเหตุให้เกิดความไม่เสมอภาคในแง่ของการปฏิบัติต่อศาสนิกในศาสนาเดียว กันและศาสนิกของศาสนาอื่น เกิดการจัดสรรแบ่งปันผลประโยชน์มากบ้างน้อยบ้าง โดยการสนับสนุนทั้งทางตรงและทางอ้อมโดยรัฐ ยิ่งในสังคมอุปถัมภ์อย่างสังคมไทยด้วยแล้ว ศาสนาที่อยู่ในสังคมอุปถัมภ์มีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อกระแสชาตินิยมและจริยธรรม ชนิดผูกขาด ซึ่งอยู่เหนือหลักจริยธรรมสากล(สิทธิมนุษยชน)ออกไป
ดังนั้น กรณีของอเมริกา รัฐอเมริกันจึงไม่เข้าไปเกี่ยวข้องในเชิงการอุปถัมภ์ เกื้อกูลศาสนาใดโดยตรง เพียงแต่มีการอำนวยความสะดวกให้ศาสนิกหรือแม้แต่คนที่ไม่เป็นศาสนิกของศาสนาใด ในแง่ของสิทธิเสรีภาพของการนับถือ หรือไม่นับถือศาสนาเท่านั้น
แนวทางในการเข้าไปจัดการหรือเกี่ยวข้องกับศาสนาของรัฐอเมริกัน จึงมีลักษณะดังนี้
- ให้สิทธิและเสรีภาพในการนับถือศาสนา หรือไม่นับถือศาสนา
- สิทธิเสรีภาพในการนับถือศาสนาของศาสนิก ต้องไปละเมิดสิทธิเสรีภาพในการนับถือศาสนา หรือความของศาสนิกอื่น หรือความเชื่อของคนที่ไม่มีศาสนา
- อาศัยหลักพื้นฐานด้านความเชื่อ “เชิงหลักการสิทธิมนุษยชน”ของปัจเจกบุคคล
- องค์กรศาสนาได้รับการยอมรับในบริบทกฎหมาย (เช่น การเป็นนิติบุคคล) ซึ่งอาจเป็นองค์กรมุ่งผลกำไร (profit organization) หรือองค์กรไม่หวังผลกำไร(nonprofit organization) ก็ได้
- เมื่อองค์กรศาสนาถูกยอมรับในบริบทกฎหมาย ก็จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน
- เมื่อรัฐให้สิทธิเสรีภาพในการนับถือศาสนาและแยกศาสนาออกจากรัฐ ย่อมส่งผลเชิงบวกต่อความมั่นคงของรัฐ ในทางที่จะช่วยเสริมสร้างความมั่นคงให้เกิดขึ้นกับรัฐ เพราะอย่างน้อยความขัดแย้งในเรื่องความเชื่อทางด้านศาสนาจะลดลงเรื่องเดียวกันนี้วิลเลียม ไอโบเดน( Dr. William Inboden) แห่งมหาวิทยาลัยเท็กซัส (เมืองออสติน) ซึ่งศึกษาเรื่องผลกระทบต่อความมั่นคงระหว่างรัฐศาสนากับรัฐโลกีย์ (รัฐฆราวาส- Secular State) พบว่ารัฐศาสนา (Religious Persecution) มีแนวโน้มของความขัดแย้งในประเทศและความขัดแย้งระหว่างประเทศ สูง โดยเฉพาะกรณีศึกษาความมั่นของอเมริกาเอง
น่าสนใจว่า องค์กรศาสนาในอเมริกา ซึ่งอยู่ในฐานะของความเป็นนิติบุคคลเช่นดียวกับองค์กรทั่วไปนั้น นอกจากมีเรื่องสิทธิเสรีภาพเกี่ยวข้องแล้ว ยังมีเรื่องของหน้าที่ที่ต้องรับปิดชอบเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย และเป็นหน้าที่จากหลักความเสมอภาคในการบังคับใช้กฎหมายของรัฐอเมริกัน เช่นเดียวกับองค์กรนิติบุคคลของอเมริกันโดยทั่วไป เช่น หน้าที่ในการเสียภาษี หรือหากเป็นองค์กรไม่หวังผลกำไรก็ต้องรายงานรายรับรายจ่ายให้กับรัฐ โดยไม่มีข้อยกเว้น
(ดูได้จากตัวอย่าง “องค์กรวัดไทย”ในอเมริกา ซึ่งเป็นตัวอย่างหนึ่งขององค์กรนิติบุคคล ไม่หวังผลกำไร ที่ต้องมีหน้าที่ตามกฎหมายในฐานะองค์กรนิติบุคคลเหมือนองค์กรนิติบุคคลอื่น)
ที่สำคัญ คือ การตรวจสอบบุคคลที่ทำงานในองค์กรด้านศาสนาเท่ากับกับการตรวจสอบบุคคลที่ทำ งานในองค์กรด้านอื่น เช่น บุคคลที่ทำงานในองค์กรศาสนาต้องรายมีการจัดทำงบดุลบัญชีอย่างโปร่งใสและเปิด เผย และรัฐบังคับให้ต้องมีการงานเป็นระยะ ซึ่งทราบกันดีว่า องค์กรศาสนาจำนวนมากอยู่ได้โดยอาศัยเงินบริจาค แต่หากการบริจาค เป็นไปอย่างโปร่งใส ถูกต้องตามกฎหมายก็ไม่ใช่ปัญหาขององค์กรศาสนาในสหรัฐอเมริกา
ความผิดพลาดหรือส่วนเสียที่เกิดขึ้นกับองค์กรเกี่ยวกับศาสนาในอเมริกาทีผ่านมาส่วน ใหญ่ เกิดจากความไม่โปร่งใสขององค์กรแต่ละองค์กรเหล่านั้นเอง เช่น โยคีบางตน ที่มาเปิดสำนัก (องค์กร) อยู่ในอเมริกา ถูกรัฐบาลอเมริกันตรวจพบความไม่ชอบมาพากลด้านการเงิน(ธุรกิจ)และปัญหา เกี่ยวกับสถานะต่างด้าวของบุคคลที่เป็นโยคีเหล่านั้น
สำหรับกรณีของประเทศไทย ผมคิดว่าเราน่าจะเป็นรัฐศาสนาแบบกึ่งๆ เพราะมีพ.ร.บ.สงฆ์และหน่วยงานรัฐอย่างเช่น สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติมาดูแลและกำกับคณะสงฆ์และคอยสอดส่องความเป็นไป เกี่ยวกับพุทธศาสนา
ถึงแม้หน่วยของรัฐเหล่านี้ดูแลกำกับศาสนาตามหน้าที่แล้ว ก็ยังมีพฤติกรรมที่กล่าวได้ว่า ขัดแย้งกับ “ความเรียบร้อยทางศาสนา” อยู่จำนวนมาก เช่น พฤติกรรมของพระสงฆ์หลายรูปเป็นที่ขัดตาขัดใจชาวพุทธ ตามที่ปรากฏข่าวไปทั่วโลกผ่านสื่อมวลชนแขนงต่างๆ นอกเหนือไปจากปัญหาของการเลือกปฏิบัติอีกประการหนึ่ง
ความที่ไทยเป็นรัฐลักปิดลักเปิด วับๆแวมๆ แบบกึ่งๆ รัฐศาสนา ดังกรณีใช้กฎหมายเข้าแทรกแซงเรื่องความเชื่อความศรัทธา จนบางครั้งก็ล้นออกมา จนเกิดเป็นสิทธิพิเศษสำหรับกลุ่มคนบางกลุ่ม บางองค์กร แม้กระทั่งองค์กรศาสนาที่ส่วนใหญ่อยู่ได้ด้วยศรัทธาจากเงินบริจาค แต่องค์กรเหล่านั้นกลับตรวจสอบได้บ้าง ตรวจสอบไม่ได้บ้าง ทำให้งานศาสนาส่วนหนึ่งตกอยู่ในมุมมืด ไม่โปร่งใส ก่อให้เกิดวิจิกิจฉากับศาสนิกและคนทั่วไป ขณะที่นักวิชาการด้านศาสนาส่วนใหญ่ถูกครอบงำโดยความคิดจารีตนิยมฝังหัว
งานกำกับดูแลด้านศาสนา หรืออีกนัยหนึ่งการกำกับความเชื่อจึงไม่ใช่เรื่องง่าย
รัฐอเมริกันโดยความเห็นชอบของประชาชนส่วนใหญ่ จึงเลือกใช้หลักการที่ว่า “การกำกับความเชื่อความศรัทธาทางศาสนาที่ดี คือ การไม่กำกับ(ความเชื่อความศรัทธาทางศาสนา)” นั่นเอง