สมาคมไทยปักษ์ใต้แคลิฟอร์เนียกับ“การให้”แบบมายาคติ

พีร์   พงศ์พิพัฒนพันธุ์ ผมเข้าใจว่ากรณีสมาคมไทยปักษ์ใต้แห่งแคลิฟอร์เนีย (ลอสแองเจลิส) ที่มีนายกสมาคมฯ คือนางจุฑาภรณ์ ไชยรัตนติเวช ดำรงตำแหน่งอยู่นั้น มีเจตนาดีเป็นอย่างยิ่งในการนำความช่วยเหลือด้านวัตถุ คือ ชุดคอมพิวเตอร์ ไปช่วยเหลือเด็กนักเรียนชาวใต้ที่พวกเขาคือสมาคมฯ เชื่อว่า ขาดแคลนและขัดสน กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นเมื่อวันที่ 6-16  พ.ค.ที่ผ่านมา (อ่านรายละเอียดข่าวได้ที่ : http://www.sereechai.com/index.php/2013-05-10-02-33-15/7613-2018-03-02-09-21-08) ก็ถ้าพูดกันโดยทั่วไปแล้ว สมาคมคือพรรคพวกของนางจุฑาภรณ์ คงเห็นว่า การมอบคอมพิวเตอร์ให้โรงเรียนที่จ.ภูเก็ต พังงา ระนองจำนวน 7 โรงเรียนนั้น เป็นการให้วัตถุสิ่งของเนื่องจากเห็นว่า โรงเรียนและนักเรียนในโรงเรียนเหล่านี้ […]

สันติศึกษาในไทย-เหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ

พีร์   พงศ์พิพัฒนพันธุ์ การที่ผู้สอนหรือผู้วางหลักสูตรสันติศึกษาในประเทศไทยวางท่าทีประหนึ่งว่า สังคมจะอยู่กันอย่างสันติ คนในสังคมนั้นๆ ต้องอยู่กันอย่างปราศจากความขัดแย้ง นอกจากกรอบความคิดดังกล่าวบิดเบี้ยวไม่ตรงตามธรรมชาติของมนุษย์แล้ว ความคิดดังกล่าวยังไม่สอดคล้องกับยุคสมัยอีกด้วย เพราะความขัดแย้งเป็นเรื่องธรรมชาติและธรรมดาของมนุษย์ มนุษย์เกิดมาพร้อมความขัดแย้ง นั่นคือ ไม่มีใครเห็นไปทางเดียวกันสักคน แม้แต่บุคคลในครอบครัวเดียวกันซึ่งถือว่ามีความใกล้ชิดกันมากที่สุด หากที่จริงตัวอย่างความขัดแย้งในครอบครัว คือตัวอย่างที่ผู้สอนสันติศึกษาควรนำมาเป็นกรณีศึกษามากที่สุดว่า เหตุใด ครอบครัวส่วนใหญ่ทั่วโลกจึงอยู่ด้วยกันได้ท่ามกลางความขัดแย้ง แม้ไม่ถึงขนาดสันติ 100 เปอร์เซ็นต์ก็ตาม ถ้าตอบแบบตีขลุมก็คงสรุปสาเหตุได้ว่า คนในสังคมระดับครอบครัวเหล่านี้มีมนุษยธรรมหรือคุณธรรมความเป็นมนุษย์ ตอบแบบแม่ชีเทเรซ่า แห่งโกลกัลตา (อินเดีย) ก็คงสรุปแบบฟันธงไปเลยว่า “เป็นเพราะความรัก” ทำให้ครอบครัวอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข แล้วเชื่อหรือไม่ว่าในท่ามกลางความขัดแย้งนั้น มนุษย์ยังคงอยู่ร่วมกันได้ […]

ขบถอเมริกัน : ต้นตอนวัตกรรม

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ เป็นเรื่องธรรมดาที่เราจะเห็นภาพความไม่ยอมจำนนมีอยู่ทั่วไปในอเมริกา ตั้งแต่ตื่นจนเข้านอน ภาพการใช้เวลาที่คุ้มค่าจากการทำงานเป็นรายชั่วโมง ชีวิตอยู่ด้วยการทำงาน เหนือไปกว่านั้น ก็คือการอยู่ด้วยกันท่ามกลางความหลากหลาย ความแตกต่างคือสีสันที่เห็นได้โดยทั่วไปจนมันกลายเป็นเรื่องปกติ แน่นอนว่า ไม่มีใครสนใจชีวิตคุณหรอกถ้าความแตกต่างของคุณไม่ไปสร้างความเดือดร้อนให้สังคมหรือคนอื่นๆ จนกล่าวได้ว่า คนอเมริกันมุ่งแสวงหาความแตกต่างกันเป็นหลัก จนคุณอาจเกิดความรู้สึกว่าการเป็นอยู่ การใช้ชีวิตเหมือนคนอื่นๆ ทั่วไปเป็นสิ่งที่น่าอึดอัด น่ารังเกียจ อายที่จะเหมือนคนอื่น ซึ่งที่จริงแล้ววัฒนธรรมที่มาจากความรู้สึกดังกล่าวเกิดขึ้นกับพวกเขา (อเมริกัน) ในช่วงวัยของความเป็นเด็กเสียด้วยซ้ำ ครูหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาในทุกระดับจึงมีส่วนสำคัญต่อการกระตุ้นหรือสนับสนุนเด็กในช่วงวัยเรียนก้าวไปอย่างถูกทิศทาง เราคงได้ยินกันมามากว่า เด็กเก่งหรือเด็กอัจฉริยะน้อยคนที่จะอยู่กับระบบการศึกษาแบบเข้าชั้นเรียนโดยทั่วไป (ทุกระดับ) ได้ ตัวอย่างบุคคลในยุคร่วมสมัยมีให้เห็นมากมาย สตีฟ จอบบ์, มาร์ค […]

โครงการฝึกอบรมภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ณ. อบต. บางคูรัด

ภาพบรรยากาศ นายกเอ๋ ดร. พิมพ์พัชชา หยิมการุณ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล(อบต. )บางคูรัด ประชาชนชาวบางคูรัด. พีรพร พงศ์พิพัฒนพันธุ์ ประธานมูลนิธิการศึกษาเพื่อเสรีภาพ(EFF) พร้อมด้วย ฉันทฤทธิ์ วิโรจน์ศิริ รองประธานกรรมการมูลนิธิฯ ตลอดถึงเจ้าหน้าที่ อบต. บางคูรัดในงานเปิดโครงการอบรมหลักสูตรภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับเยาวชนและประชาชนทั่วไปโดยความร่วมมือระหว่างองค์การบริหารส่วนตำบลบางคูรัดกับมูลนิธิการศึกษาเพื่อเสรีภาพ (EFF) ณ ที่ทำการ อบต. บางคูรัด อ. บางบัวทอง จ. นนทบุรี โดยฉันทฤทธิ์ในนามของมูลนิธิรับหน้าที่เป็นวิทยากรในงานอบรมดังกล่าว งานจัดขึ้นระหว่าง 9-11 […]

ประวัติ พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์

พีรพร (พีร์) พงศ์พิพัฒนพันธุ์   จบการศึกษาด้านรัฐศาสตร์ผ่านการทำงานด้านหนังสือพิมพ์ เคยเป็นนักข่าวและหัวหน้าข่าวการเงิน และข่าวเศรษฐกิจที่เมืองไทย รวมกระทั่งเดินทางไปทำ   ข่าวสถานการณ์ของหลายประเทศเพื่อนบ้านของไทย ก่อนผันไปใช้ชีวิตที่   สหรัฐอเมริกานับแต่ต้นปี 2541(ค.ศ.1998) การสานต่อวิชาชีพสื่อที่สหรัฐอเมริกา ทำให้พีร์มีโอกาสได้เดินทางไปเจอเพื่อสัมภาษณ์นักการเมือง และบุคคลสำคัญของสหรัฐอเมริกาหลากหลาย ดังเช่น สมาชิกสภาคองเกรส (สมาชิกสภาผู้แทนฯ-ส.ส.หรือสภาล่าง) ซีเนเตอร์ (สมาชิกวุฒิสภา-ส.ว.หรือสภาสูง) ที่วอชิงตันดี.ซี. รวมทั้งที่สำนักงานท้องถิ่นของส.ส.และส.ว. บางคนในเขตรัฐแคลิฟอร์เนีย และรัฐเนวาดาซึ่งเป็นรัฐที่อยู่ติดกัน นอกเหนือจากการคลุกคลีในแวดดวงอเมริกันชน และชนกลุ่มน้อย โดยเฉพาะชนชาวเอเชียในสหรัฐอเมริกา ในภาคกิจกรรมไม่หวังผลกำไร(Nonprofit Organization)อยู่นานพอควร ถัดจากนั้น ซึ่งเป็น”ช่วงพักรบ” […]

ในวันที่โลกไร้ซึ่งมหาวิทยาลัย

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์* ใครคิดว่าในปัจจุบันมหาวิทยาลัย หรือสถาบันการศึกษาแบบเดิมๆ  เช่น โรงเรียน วิทยาลัย (College) ยังจำเป็นต่อชีวิตหรือสำคัญต่อการศึกษาของตัวเองหรือลูกหลานอยู่บ้าง? น่าจะมีคนที่ตอบว่า แท้จริงแล้วสถาบันการศึกษาในระบบแบบนี้อาจไร้ความสำคัญหรือได้สูญเสียความสำคัญลงไปในราวๆ สองทศวรรษที่ผ่านมาแล้ว จากปรากฏการณ์ปฏิวัติเทคโนโลยีการสื่อสารที่เกิดขึ้นที่ซิลิคอนวัลเลย์ สหรัฐอเมริกา ซึ่งเผอิญผมมีโอกาสใช้ชีวิตเป็นส่วนหนึ่งของที่นั่นในช่วงเวลาดังกล่าว แม้เราไม่อาจกล่าวถึงบุคคลเยี่ยงสตีฟ จ้อบบ์  (แอพเปิ้ล) ว่าเป็นบุคคลผู้มีส่วนต่อการเปลี่ยนแปลง และเป็นผู้รังสรรค์นวัตกรรมทั้งหมดก็ตาม แต่คุณูปการของจ้อบบ์ ก็มีมหาศาลต่อความเปลี่ยนแปลงเชิงการปฏิวัติวัฒนธรรมการสื่อสารบนโลกใบนี้ หากเป็นเพราะเขามิเพียงย่อโลกทั้งหมดลงในสมาร์ทโฟนหรือโทรศัพท์มือถือแค่เครื่องเดียว นี่คือมหัศจรรย์แห่งเทคโนโลยีจริงๆ เพราะนับแต่นั้นสมาร์ทโฟนที่ว่า ได้กลายเป็นปัจจัยที่ห้าหรือปัจจัยที่หกที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตในสังคมปัจจุบัน (ปัจจัยที่ห้านั้นว่ากันว่าคือรถยนต์หรือยานพาหนะใดๆ ก็ตาม) สาเหตุดังกล่าวทำให้มองกันว่าโครงสร้างใดๆ ทุกด้านของสังคมต้องเปลี่ยนไปเช่นกัน […]