พีรพร (พีร์) พงศ์พิพัฒนพันธุ์ จบการศึกษาด้านรัฐศาสตร์ผ่านการทำงานด้านหนังสือพิมพ์ เคยเป็นนักข่าวและหัวหน้าข่าวการเงิน และข่าวเศรษฐกิจที่เมืองไทย รวมกระทั่งเดินทางไปทำ ข่าวสถานการณ์ของหลายประเทศเพื่อนบ้านของไทย ก่อนผันไปใช้ชีวิตที่ สหรัฐอเมริกานับแต่ต้นปี 2541(ค.ศ.1998) การสานต่อวิชาชีพสื่อที่สหรัฐอเมริกา ทำให้พีร์มีโอกาสได้เดินทางไปเจอเพื่อสัมภาษณ์นักการเมือง และบุคคลสำคัญของสหรัฐอเมริกาหลากหลาย ดังเช่น สมาชิกสภาคองเกรส (สมาชิกสภาผู้แทนฯ-ส.ส.หรือสภาล่าง) ซีเนเตอร์ (สมาชิกวุฒิสภา-ส.ว.หรือสภาสูง) ที่วอชิงตันดี.ซี. รวมทั้งที่สำนักงานท้องถิ่นของส.ส.และส.ว. บางคนในเขตรัฐแคลิฟอร์เนีย และรัฐเนวาดาซึ่งเป็นรัฐที่อยู่ติดกัน นอกเหนือจากการคลุกคลีในแวดดวงอเมริกันชน และชนกลุ่มน้อย โดยเฉพาะชนชาวเอเชียในสหรัฐอเมริกา ในภาคกิจกรรมไม่หวังผลกำไร(Nonprofit Organization)อยู่นานพอควร ถัดจากนั้น ซึ่งเป็น”ช่วงพักรบ” […]
ในวันที่โลกไร้ซึ่งมหาวิทยาลัย

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์* ใครคิดว่าในปัจจุบันมหาวิทยาลัย หรือสถาบันการศึกษาแบบเดิมๆ เช่น โรงเรียน วิทยาลัย (College) ยังจำเป็นต่อชีวิตหรือสำคัญต่อการศึกษาของตัวเองหรือลูกหลานอยู่บ้าง? น่าจะมีคนที่ตอบว่า แท้จริงแล้วสถาบันการศึกษาในระบบแบบนี้อาจไร้ความสำคัญหรือได้สูญเสียความสำคัญลงไปในราวๆ สองทศวรรษที่ผ่านมาแล้ว จากปรากฏการณ์ปฏิวัติเทคโนโลยีการสื่อสารที่เกิดขึ้นที่ซิลิคอนวัลเลย์ สหรัฐอเมริกา ซึ่งเผอิญผมมีโอกาสใช้ชีวิตเป็นส่วนหนึ่งของที่นั่นในช่วงเวลาดังกล่าว แม้เราไม่อาจกล่าวถึงบุคคลเยี่ยงสตีฟ จ้อบบ์ (แอพเปิ้ล) ว่าเป็นบุคคลผู้มีส่วนต่อการเปลี่ยนแปลง และเป็นผู้รังสรรค์นวัตกรรมทั้งหมดก็ตาม แต่คุณูปการของจ้อบบ์ ก็มีมหาศาลต่อความเปลี่ยนแปลงเชิงการปฏิวัติวัฒนธรรมการสื่อสารบนโลกใบนี้ หากเป็นเพราะเขามิเพียงย่อโลกทั้งหมดลงในสมาร์ทโฟนหรือโทรศัพท์มือถือแค่เครื่องเดียว นี่คือมหัศจรรย์แห่งเทคโนโลยีจริงๆ เพราะนับแต่นั้นสมาร์ทโฟนที่ว่า ได้กลายเป็นปัจจัยที่ห้าหรือปัจจัยที่หกที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตในสังคมปัจจุบัน (ปัจจัยที่ห้านั้นว่ากันว่าคือรถยนต์หรือยานพาหนะใดๆ ก็ตาม) สาเหตุดังกล่าวทำให้มองกันว่าโครงสร้างใดๆ ทุกด้านของสังคมต้องเปลี่ยนไปเช่นกัน […]