
พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์
ผมเข้าใจว่ากรณีสมาคมไทยปักษ์ใต้แห่งแคลิฟอร์เนีย (ลอสแองเจลิส) ที่มีนายกสมาคมฯ คือนางจุฑาภรณ์ ไชยรัตนติเวช ดำรงตำแหน่งอยู่นั้น มีเจตนาดีเป็นอย่างยิ่งในการนำความช่วยเหลือด้านวัตถุ คือ ชุดคอมพิวเตอร์ ไปช่วยเหลือเด็กนักเรียนชาวใต้ที่พวกเขาคือสมาคมฯ เชื่อว่า ขาดแคลนและขัดสน กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นเมื่อวันที่ 6-16 พ.ค.ที่ผ่านมา (อ่านรายละเอียดข่าวได้ที่ : http://www.sereechai.com/index.php/2013-05-10-02-33-15/7613-2018-03-02-09-21-08)
ก็ถ้าพูดกันโดยทั่วไปแล้ว สมาคมคือพรรคพวกของนางจุฑาภรณ์ คงเห็นว่า การมอบคอมพิวเตอร์ให้โรงเรียนที่จ.ภูเก็ต พังงา ระนองจำนวน 7 โรงเรียนนั้น เป็นการให้วัตถุสิ่งของเนื่องจากเห็นว่า โรงเรียนและนักเรียนในโรงเรียนเหล่านี้ อยู่ในภาวะขาดแคลน และทางสมาคมฯ อยากแสดงเมตตาจิต ให้ความช่วยเหลือในฐานะของการเป็นคนภาคเดียวกัน หรือแม้แต่จังหวัดเดียวกัน หรือมีความเป็นญาติกัน
การทำกิจกรรมของชุมชนไทยแบบเดียวกับที่สมาคมไทยปักษ์ใต้ แห่งแคลิฟอร์เนีย (ลอสแองเจลิส)ทำ ความจริงไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ เพราะมีรุ่นพี่ที่เคยอยู่ที่นั่นทำกันมาก่อนหน้านี้ ผมเองเคยฟังนายพินิจ ชัยจารีย์ ผู้ร่วมก่อตั้งสมาคมไทยปักษ์ใต้ในยุคแรกๆ เล่าให้ฟังมาเยอะ รวมถึงนางพรรณี ไล้บางยาง อดีตนายกสมาคมฯ ที่รู้จักกันอย่างดีก็ด้วยเช่นกัน
แล้วรูปแบบการช่วยเหลือดังกล่าว มันเป็นโมเดลการให้ความช่วยเหลือโดยที่ทำกันอยู่ทั่วไป แม้แต่รูปแบบการให้ความช่วยเหลือของสมาคมไทยแห่งแคลิฟอร์เนียใหญ่ ก็ดุจเดียวกัน คือไม่ช่วยเหลือเรื่องเงินก็ช่วยเหลือด้วยวัตถุสิ่งของ ก็คือ การให้ทานนั่นแหละ เพียงแต่กรณีการให้ความช่วยเด็ก 2-3 จังหวัดทางภาคใต้ ของสมาคมไทยปักษ์ใต้ฯ หนนี้ ผมคิดว่า มีข้อน่าสังเกตที่เป็นข้อสงสัยและนำมาซึ่งคำถามบางประการ อันนี้หมายรวมไปถึงการให้ความช่วยเหลือสังคมของสมาคมไทยอื่นๆ ทั่วสหรัฐอเมริกาด้วยนะครับ
ข้อสังเกตนี้ เผื่อเป็นประโยชน์ในการทำกิจกรรมทางสังคมของชุมชนไทยองค์กรอื่นๆ ในอเมริกาที่ยังล้าหลัง แบบเดียวกับโมเดลของสมาคมไทยปักษ์ใต้ฯ (ลอสแองเจลิส)
ประการแรก ก่อนให้ความช่วยเหลือเชิงกิจกรรมการให้ การบริจาคใดๆ ก็ตาม ต่อชุมชนไทยในเมืองไทยนั้น ทางสมาคมหรือกลุ่มในอเมริกาที่ปรารถนาจะให้ความช่วยเหลือ เคยศึกษาหรือตรวจสอบบริบททางสังคมที่จะไปบริจาคก่อนหรือยังว่า เขาต้องการสิ่งของจริงที่จะให้หรือไม่ ความจำเป็นของพวกเขามีแค่ไหน กรณีของสมาคมไทยปักษ์ใต้นั้นถ้าพิจารณากันอย่างแท้จริงแล้วก็จะเห็นว่า โรงเรียนที่สมาคมฯ ไปบริจาคนั้นเขามีเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่แล้ว (หรือไม่) ซึ่งโดยปกติแล้วโรงเรียนเด็กปฐมวัยในประเทศไทยนั้น รัฐให้เงินอุดหนุนหรือเงินงบประมาณด้านนี้ นี่เท่ากับสมาคมฯ ไม่พิจารณาบริบทการให้ความช่วยเหลือเอาเลย หวังเอาสนุกและได้หน้าเพียงอย่างเดียว รวมถึงหวังประโยชน์จากการท่องเที่ยวอีกด้วย
ประการที่สอง เชื่อมโยงจากประการแรก ถ้ารักจะทำกิจกรรมแบบนี้ และสามารถระดมความช่วยเหลือทางเมืองไทย ผมเห็นว่าเป็นเรื่องดีน่าชื่นชมยกย่องอย่างยิ่ง แต่ในกรณีของสมาคมไทยใต้ยุคปัจจุบันนี้ ผมคิดว่า ไม่ เพราะนอกจากเป็นการให้วัตถุทานที่ไม่สมประกอบแล้ว คือผู้รับมีของอยู่หรือมีของที่ดีกว่าอยู่แล้ว ยังแสดงถึงมายาคติแบบท้องถิ่นนิยมอีกด้วย คุณไม่คิดว่ายังมีโรงเรียนหรือนักเรียนในพื้นที่อื่นๆ เช่น ภาคเหนือ ภาคอิสาน ในประเทศไทยที่เขาเดือดร้อน อนาถามากกว่าพื้นที่ 2-3 จังหวัด (ภาคใต้) ที่คุณประสงค์จะบริจาคสิ่งของดอกหรือ? ที่สำคัญคือ พวกเขาก็คนไทยเหมือนกัน ถ้าหากว่าสมาคมฯ มีข้อบังคับว่า สมาคมมีหน้าที่ช่วยเหลือคนภาคเดียวกันเท่านั้น คุณควรจะละอายกับมายาคติข้อนี้กันบ้างได้แล้ว ไปปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเสียให้เหมาะสมกับกระแสสังคมปัจจุบัน
และในความเป็นจริงแล้ว การจัดกิจกรรมการกุศลในอเมริกาแทบทุกสมาคมก็มีลักษณะทำนองนี้ เช่นเดียวกับการทำกิจกรรมของสมาคมไทยปักษ์ใต้แห่งแคลิฟอร์เนีย ที่กลิ่นอายอนุรักษ์นิยมหรือแนวจารีตนิยมคละคลุ้งไปหมด ดังที่ วนิดา ชัยจารีย์ ผู้เคยอยู่ร่วมสมาคมไทยปักษ์ใต้มาก่อน เคยกล่าวว่า “ถ้าแยกพวก ก็ยากที่จะหาเพื่อน ยากที่จะหาความร่วมมือจากคนกลุ่มอื่นๆ” การกระทำของคณะกรรมการของสมาคมไทยปักษ์ใต้แคลิฟอร์เนียชุดนี้ จึงไม่ต่างจากการนำสมาคมฯเข้ารกเข้าพงมากขึ้นเรื่อยๆ แย้งสวนกระแสโลกไปก็เท่านั้น ไม่เคยทำการบ้านหรือลงพื้นที่จริงเพื่อที่จะทราบว่า ความจริงหรือชีวิตจริงในพื้นที่คืออะไรเป็นอย่างไร
ถ้าผมจำไม่ผิด ชื่อสมาคมเมื่อก่อน ที่พวกรุ่นพี่เขาตั้งกันมา ชื่อเสนาะเพราะพริ้งว่า “สมาคมไทยทักษิณแห่งแคลิฟอร์เนีย” ครั้นพอมีเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองเหลือง-แดง ก็เปลี่ยนมาใช้ชื่อ สมาคมไทยปักษ์ใต้แห่งแคลิฟอร์เนีย (เฉพาะชื่อไทย) ผมไม่ทราบเป็นความคิดของใคร แต่ถ้าเป็นสำนวนการเมืองโลกโซเชี่ยลมีเดียในปัจจุบัน ก็ต้องร้องว่า“ขรรมสัส”แค่ชื่อของสมาคมไปตรงกับชื่อของ คุณทักษิณ (ชินวัตร) เท่านั้น จะอะไรกันนักกันหนา ใครได้ยินเข้าคงขำน่าดู
ครับ ดังที่กล่าวไป กรณีสมาคมไทยปักษ์ใต้ฯ นั้น เป็นเพียงหนังตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงแนวคิดวิบัติในการทำกิจกรรมช่วยเหลือสังคม โดยไม่คำนึงถึงบริบททางสังคมหรือชุมชนที่องค์กรการกุศลจะเข้าไปช่วยเหลือ และแสดงให้เห็นถึงมายาคติ ทัศนะเนื่องมาแต่ความใจแคบแบบท้องถิ่นนิยม ไม่ควรที่องค์กรการกุศลของคนไทยอื่นๆ ในสหรัฐอเมริกาจะเอาเยี่ยงอย่าง หากคิดจะช่วยเหลือพี่น้องคนไทย มีหรือผู้คนทั่วไปและตัวผมจะไม่ร่วมอนุโมทนาสังฆกรรมด้วย
ความจริงหากสมาคมไทยปักษ์ใต้ฯ จะระบุให้ชัดเจนลงไปเลยว่า การนำหมู่คณะไปเมืองไทยเที่ยวที่ผ่านมา เป็นการไปเยี่ยมบ้านเกิดและท่องเที่ยวส่วนตัวแบบหมู่คณะ ผมว่ามันน่าจะดีกว่าเป็นไหนๆ ดีกว่าการอ้างกิจกรรมการกุศล ซึ่งนิยมทำกันในหลายๆ สมาคม หลายองค์กรในอเมริกา มิใช่สมาคมไทยปักษ์ใต้แต่เพียงสมาคมเดียวเท่านั้น
การดีใจได้หน้าเป็นเรื่องปกติของมนุษย์ผู้มีกิเลสครับ ยิ่งการทำกิจกรรมการกุศล การช่วยเหลือ การทำประโยชน์แก่สังคม คนพวกนี้สมควรได้รับการยกย่องสรรเสริญ อนุโมทนาสาธุการ
แต่การช่วยเหลือโดยไม่ดัดจริต ตรงเป้าความต้องการของผู้รับ โดยปราศจากมายาคติ เรื่อง อายุ เพศ ศาสนา ท้องถิ่น และความเชื่อทางการเมือง จึงจัดเป็นการช่วยเหลือหรือทำบุญด้วยปัญญาโดยแท้…
แล้วจำไว้เลยว่า นี่คือหลักการการให้ความช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ที่เป็นสากลที่เรียกว่า มนุษยธรรมครับ
เป็นการติเพื่อก่อที่ดีมากไป
ดูเหมือนว่าทุกสมาคมตั้งขึ้นมาเพื่อ
การบันเทิง พบปะ สนทนา หาโอกาส
แต่งตัวโก้ อวดกัน ในงาน ลีลาศ
ศศและผํ้นำชุมชมบาดการไฝ่หาความรู้
ทางด้านสังคมสงเคราะห์ และ การวิเคราะห์กาาต้องการของแต่ละชุมชน ว่าขัดสนเรื่องอะไร
นอกจากการนำเที่ยวแล้วมีคนดังคนสำคัญในจัง
หวัดนั้นๆ ออกมาต้อนรับ แล้วถ่ายรูปไว้ ทำ การขอรับบริจาคในคราวต่อไป
ในอีกหลายมายาคติ คือ
1.จะต้องนำเงินไปไห้นายพล ทหาร ตำรวจ ข้าราชการ นักการเมือง
1. ให้การกุศล ที่ไม่เคยมีคำว่า องค์กร
แสวงหากำไร
2.ผู้ด้อยโอกาส เช่น ครอบครัวยากจนมาก จาดที่อยู่อาศัย ลูกๆไม่ได้ไปโรงเรียน
3.ผู้ด้วยโอกาสที่ไม่ได้รับรวามเป็นธรรม