พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ ในภาพรวมทั่วไป เชื่อว่าคงมีผู้เห็นตรงกับผมเยอะครับว่าปัญหาของราคาสินค้าเกษตรถ้าพูดกันแบบตีขลุมแล้ว เกิดจากความไร้ประสิทธิภาพของรัฐไทย เราจะเห็นว่าพอภาคเกษตรอับจน ภาคอื่นๆ ก็วิกฤตตามกันไปด้วย ทั้งนี้เพราะคนไทยส่วนใหญ่ยังประกอบอาชีพการเกษตรเป็นหลักอยู่ ปัญหาปากท้องเป็นเรื่องใหญ่ครับ ดังผมเคยนำเสนอเกี่ยวกับหลักการช่วยเหลือหรืออุ้มเกษตรกรของรัฐบาลอเมริกันไปก่อนหน้านี้ (หัวข้อ : รัฐบาลอเมริกันกับการอุ้มเกษตรกร) ว่า รัฐบาลอเมริกันเองใช้งบประมาณจำนวนมากขนาดไหนในการทำให้เกษตรกรหรือภาคการเกษตร) ของเขาอยู่ได้ ภาคเกษตรนี่แปลกอยู่อย่างครับ ไม่ว่าจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วหรือไม่ก็ตาม รัฐต้องมีบทบาทเข้าไปสนับสนุนด้านนโยบายหรือไม่ก็สนับสนุนด้านการเงินทางใดทางหนึ่งเสมอ ดังนั้นไม่ว่าจะเป็น ประเทศกำลังพัฒนาหรือแม้แต่ประเทศในกลุ่ม OECD ก็ไม่ต่างกันแต่อย่างใด ขึ้นกับวิธีการของแต่ละประเทศนั้นๆ ปัญหาสินค้าเกษตรในประเทศไทยเท่าที่ได้ยินจากเพื่อนๆ ญาติพี่น้องที่เมืองไทยบ่นให้ฟัง ถ้ารัฐบาลนี้จะยอมรับความจริงก็จะเห็นว่า มีปัญหาจริง มากด้วย […]
การศึกษาเพื่อเสรีภาพ : สถาบันการศึกษาแบบ 4.0
พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ หลังจากผมนำเสนอปัญหาสถาบันการศึกษาไทยในยุคสมัยใหม่ หรือยุค 4.0 โดยเฉพาะสถาบันอุดมศึกษา คือมหาวิทยาลัยของไทยที่ส่ออาการอยูในขั้นวิกฤต ไปได้ไม่นานก็ท่านผู้อ่านบางส่วนตั้งคำถามว่ารูปแบบของสถาบันการศึกษาไนอนาคตควรเป็นอย่างไร จึงจะเหมาะกับยุคสมัยการสื่อสารแบบ 4.0 ผมคิดว่า ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนหรือ The Learning Center for Communities คือรูปแบบที่เหมาะสมหรือสามารถเป็นคำตอบต่อการวางระบบหรือวางโครงสร้างการศึกษาสมัยใหม่ได้ ระบบการศึกษาในปัจจุบันไม่เพียงจำกัดพื้นที่อยู่แต่ในโรงเรียนเท่านั้น แต่มันคือการเอาชุมชนมาเป็นตัวหลักในการจัดการการศึกษาตามวิถี 4.0 เข้ากับลักษณะทางสังคมยุคปัจจุบันที่คนสามารถหาความรู้จากสื่อต่างๆ ที่มีอยู่อย่างมากมายได้สะดวกมากขึ้น พูดง่ายๆ คือ เด็ก เยาวชนและประชาชนสามารถเข้าถึงสื่อได้ง่ายขึ้น โดยแทบไม่ต้องพึ่งสถาบันการศึกษา อย่างโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยแบบเดิมๆ อีกต่อไป […]
สันติศึกษา : กินเงินเดือนประชาชนจุดยืนต้องชัดเจน
พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ “นายอุทัย พิมพ์ใจชน อดีตประธานรัฐสภา และในฐานะอดีตประธานสถาบันพระปกเกล้า (ระหว่าง 6 ก.พ.44 – 5ก.พ.48) ได้ส่งจดหมาย ถึง นายวุฒิสาร ตันไชย เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า สืบเนื่องในวาระ 20 ปี แห่งการสถาปนาสถาบันพระปกเกล้า มีใจความว่า “ไม่เห็นด้วยกับการที่สถาบันพระปกเกล้า ไม่เคยแสดงปฏิกริยาต่อต้านการยึดอำนาจ การทำรัฐประหาร แต่กลับให้ความร่วมมือ จึงขอให้ผู้บริหารปัจจุบันหรือที่จะเข้ามาในอนาคตได้ทบทวนตัวเอง ว่า ได้ทำตามวัตถุประสงค์ของการก่อตั้งสถาบันหรือไม่” (https://siamrath.co.th/n/41282) โดยนัยเดียวกันนี้ […]
รับบริจาคคอมพิวเตอร์

มูลนิธิการศึกษาเพื่อเสรีภาพ(EFF ) มีความประสงค์รับบริจาคคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (Desk top) และคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คจำนวนมากเพื่อบริจาคต่อให้กับสถานศึกษาและโรงเรียน และโรงเรียนพระปริยัติธรรมที่ยังขาดแคลนคอมพิวเตอร์ทั่วประเทศ ท่านใด หน่วยงานใดหรือองค์กรใด มีคอมพิวเตอร์มือสอง (used computer)ที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว หรือมีการเปลี่ยนเครื่องประจำปี (Rotation) หรือมีเกินจำนวน ประสงค์จะบริจาคคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาของนักเรียนโรงเรียนที่ขาดแคลน ที่มาโครงการ: (ขอความกรุณาเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ยังใช้งานได้นะคะ เครื่องเสีย ใช้งานไม่ได้ ไม่รับค่ะ) ขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ
สัมภาษณ์ ดร.พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ ประธานกรรมการมูลนิธิการศึกษาเพื่อเสรีภาพ (EFF) “โครงการจัดหาคอมพิวเตอร์ให้น้อง” (ให้กับโรงเรียนที่ขาดแคลน)

ถาม : ที่มาที่ไปของโครงการจัดหาคอมพิวเตอร์ให้น้องเป็นอย่างไร ดร.พีร์ : ทางมูลนิธิ EFF พบว่าปัจจุบันแม้รัฐจะอุปถัมภ์งบประมาณเพื่อการสนับสนุนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาในระดับปฐมวัยก็ตาม แต่ก็ยังมีโรงเรียนทั่วประเทศที่ประสบกับความขาดแคลนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พื้นฐานสำหรับจะใช้ในห้องเรียน โดยเฉพาะโรงเรียนในเขตเมืองที่ยากจนหรือแม้แต่โรงเรียนในเขตชนบท อนุสนธิของเรื่องนี้ คือ พวกเราไปเห็นปัญหา มีประสบการณ์เชิงประจักษ์ที่ จ.แพร่เมื่อปีที่แล้ว (2560) ครับ โรงเรียนอนุบาลเทศบาล ต.เวียงต้า อ.ลอง จ.แพร่ เป็นโรงเรียนท่ามกลางขุนเขา บรรยากาศแบบภาคเหนือเลยครับ กรณีเวียงต้านั้น ผมพร้อมเพื่อนจากกรุงเทพและจากสหรัฐอเมริกา เคยไปจัดกิจกรรมช่วยทางเทศบาลที่เป็นเจ้าของเรื่อง คือ เป็นโรงเรียนภายใต้การจัดการของเทศบาลเวียงต้า ผมสอบถามเอาจากครูที่นั่นว่า เขามีปัญหาอะไรบ้าง […]
ดัดไม้ตอนแก่ : การจัดการการศึกษาที่ผิดทางของไทย
พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ ถ้าเราดูแนวทางการบริหารจัดการการศึกษาของประเทศฟินแลนด์แล้วก็จะเห็นว่า ช่างแตกต่างเหมือนฟ้ากะเหวกับแนวทางการบริหารจัดการการศึกษาของประเทศไทย แนวทางหรือวิธีการคิด วิธีการปฏิบัติ ในการจัดการการศึกษา ดังกล่าวก็คือ การที่ทางการฟินแลนด์เน้นให้ความสำคัญกับการเรียน การสอนในระดับปฐมวัย คือ ตั้งแต่ชั้นอนุบาล ประถมศึกษา มากกว่าในระดับกลาง (มัธยม) หรือระดับปลาย (อุดมศึกษา) ด้วยแนวคิดที่ก้าวไกล ในยุค 4.0 จะเห็นว่าทางการฟินแลนด์เอง มองทิศทางการศึกษาในอนาคตของมนุษยชาติทั่วโลกว่า ส่อไปทิศทางที่จะมีการศึกษาแบบ “สามัญลักษณ์” มากขึ้น กล่าวคือ มันแทบจะไม่มีระบบการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยเหลือให้เห็นในอนาคต ก็หมายความว่า การศึกษาขั้นอุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัยที่เราเห็นๆ กันทุกวันนี้ […]