แค่เห็บที่หลุดร่วงจากตัววัว

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ ตามข่าว พากันลาออกบางคน สำหรับกรรมการสภามหาวิทยาลัยบางแห่ง และองค์การมหาชนอื่นๆ เช่น สปสช. เป็นต้น นับเป็นสภาพที่น่าเวทนา สมเพท อย่างมากที่คนดีเหล่านี้ต้องประสบชะตากรรมอันเนื่องมาจากกฎหมายปปช.ที่บังคับให้เจ้าหน้าที่ในระดับบริหารขององค์กรมหาชนเหล่านี้ต้องยื่นแสดงทรัพย์สินต่อสำนักงานปปช. หน่วยงานกลางตรวจสอบทุจริตและประพฤติมิชอบราชการไทย มิหนำซ้ำ คนที่ออกกฎหมายนี้ อย่างนายมีชัย ฤชุพันธ์ ด้วยซ้ำ ที่ชิงลาออกจากองค์กรที่ตัวเองเป็นกรรมการอยู่ก่อน ด้วยเหตุนี้จึงไม่อาจกล่าวว่า มันเป็นสภาพที่น่าสังเวช สมเพทเวทนาอย่างยิ่ง ในส่วนของการตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินของกรรมการและผู้บริหารมหาวิทยาลัยนั้น ตามที่ผมเคยเขียนไปในคอลัมน์นี้ ในต่างประเทศ เช่น ในสหรัฐอเมริกา แคนาดา ถือเป็นเรื่องปกติและกระทำกันผ่านสื่อออนไลน์ด้วยซ้ำ กล่าวคือ […]

ทำไมต้อง…สาธุ

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ ง่ายนิดเดียว เมื่อมีใครพูดถึงอะไรสักอย่าง เราเห็นด้วย แล้วเราพูดคำว่า สาธุ สาธุ และสาธุ มากไปกว่านั้น แม้เราจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยก็ตาม แต่เรามักจะพูดว่า สาธุ อยู่ดี แม้ประเด็นหรือข้อความนั้นยังไม่ได้ถูกพิสูจน์ว่าเป็นจริงหรือถูกต้องแต่อย่างใดก็ตาม และในกรณีหลังนี้ อาจกล่าวได้ว่า ผู้พูดคำว่า “สาธุ” ได้ตกไปอยู่ในร่องตรรกะแบบอำนาจนิยมแบบเบ็ดเสร็จ เสร็จสรรพ เพราะความไร้ร่องรอยหรือปราศจากหลักฐานแห่งการตั้งคำถาม ต่อประเด็นหรือวาทกรรมที่พวกเขาสาธุนั้น และหากจะยกให้วัฒนธรรมไทยเป็นวัฒนธรรม “สาธุนิยม” ก็คงไม่ผิดนัก “สาธุ”ที่มีความหมายว่า “ดีแล้ว” เราจะพบเห็นได้ทั่วไป ยิ่งในยุคโซเชี่ยลมีเดียอย่างในปัจจุบัน […]

ตรรกะวิบัติของสันติศึกษาแบบไทยๆ

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ ทำไมสถาบันสันติศึกษาไทยไม่กล้าพูดหรือแสดงความเห็นต่อปัญหาโรฮิงยา ปัญหาในพม่า ที่ทำเอานางอองซานซูจี ไปไม่เป็น และต้องเสียเครดิตการเป็นบุคคลสำคัญสากลด้านสิทธิมนุษยชนเอาดื้อๆ อย่างน้อยก็เครดิตจากรางวัลโนเบลที่เธอเคยได้รับจากยุโรปในช่วงก่อนหน้านี้ หลายคน หลายประเทศไม่พอใจอย่างยิ่งต่อท่าทีของนางซูจีในการปฏิบัติต่อชาวโรงฮิงยา การนิ่งเงียบเหมือนเป่าสากต่อปัญหาความทุกข์ร้อนของผู้อพยพชาวโรฮิงยา จากรัฐยะไข่ในพม่า เป็นเครื่องแสดงว่าที่แท้แล้วสถาบันสันติศึกษาในไทยเป็นหน่วยงานตรรกะวิบัติ ปาหี่ เพียงเพื่อเอาตัวรอดในทางการเมืองเชิงองค์กรหรือสถาบันการศึกษา มีอคติ่ในประเด็นเชื้อชาติมากเพียงใด เพราะสถาบันสันติศึกษาเป็นสถาบันวิชาการซึ่งควรพูดตรงๆ ได้มากกว่าสถาบันอื่นๆ นี้เองแสดงให้เห็นว่าสถาบันสันติศึกษาในไทยมีอาการต้มตุ๋นคนดูมากเพียงใด เมื่อเร็วๆ นี้ สถาบันสันติศึกษา ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) อันเป็นสถาบันวิชาการพุทธศาสตร์ของรัฐไทย (ซึ่งกินเงินงบประมาณของรัฐหรือประชาชน) ถึงกับโหนกระแสขุนน้ำนางนอนฟีเวอร์ (เด็กติดถ้ำเชียงราย) จัดกิจกรรมลมหายใจสันติภาพ สร้างภาพสมาธิบำบัด […]

ห้วยโก๋น : สู่ AEC ประตูวัฒนธรรม+เศรษฐกิจไทย-ลาว-จีน

พีร์  พงศ์พิพัฒนพันธุ์ ผมมีโอกาสออกไปทัวร์สปป.ลาวที่ไม่ใช่เวียงจันทน์ครั้งแรกในชีวิต เมื่อสองสัปดาห์ที่ผ่านมา(24 พย.2561) ผ่านด่านห้วยโก๋น อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน แน่นอนว่าคณะของเราเดินทางไปกันเองแบบนักเดินทางทั่วไป คือ ไม่ประสานหน่วยงานของทางการหน่วยงานใดๆ เป็นพิเศษทั้งฝั่งไทยและฝั่งลาว กระนั้นการเดินทางรูปแบบดังกล่าว กลับมีคุณูปการต่อการเปิดโลกทัศน์ จนยากจะลืมเลือน ดังเมื่ออดีตหลายปีก่อนหน้านี้ที่คณะสื่อมวลชนกลุ่มของผมเคยเข้าไปทำงาน ยังประเทศพม่า ผ่านด่านสังขละบุรี จ.กาญจนบุรี สิ่งที่เห็นได้ชัดสุดในฝั่งไทยไล่ตั้งแต่พื้นที่ อ.ทุ่งช้าง อ.เฉลิมพระเกียรติ ได้แก่ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน คือ การคมนาคม ถนนที่ดิ่งตรงไปยังด่านห้วยโก๋นกำลังถูกขยายออกเป็นเลนคู่ 4 เลน ขณะที่ทางฝังสปป.ลาว […]

จน เจ็บ โง่ : ความล้าหลังวังเวงของคนใต้ในปัจจุบัน

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์   ต้องโทษใครหรือไม่กับการหยุดนิ่งของการพัฒนาภาคใต้ ราว 3 ทศวรรษ หรือมากกว่า 30 ปี ที่ไม่เคยปรากฏเมกกะโปรเจคท์การพัฒนาเศรษฐกิจใดๆ เลย มีแต่ซ่อนปัญหาอันหมักหมมบรมชาติ นั่นคือปัญหาที่เกิดขึ้นนี้เนิ่นนานเสียเหลือเกิน และยังปรากฏให้เห็นจนวันนี้ ขณะที่อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์  นายชวน หลีกภัย ไปได้แค่ “วิสัยทัศน์โบกี้รถไฟ” จากตอนที่เขากล่าวถึงความปรารถนาของเขาเองในงานปาร์ตี้ของสมาคมชาวตรังกรุงเทพเมื่อไม่นานมานี้ เขาต้องการให้ประชาชนคนใต้นั่งรถไฟโบกี้ใหม่ สะอาดๆ ภาพมันก็เลยขัดแย้งกับภาพขี้เยี่ยวบนรางรถไฟที่ดำรงมานานนับศตวรรษอย่างไม่มีการเปลี่ยนแปลง นักการเมืองประชาธิปัตย์เป็นแบบเดียวกับนายชวนทุกคนล่ะหรือ? ส่วนใหญ่ น่าจะเป็นอย่างนั้น การยึดครองภาคใต้ของนักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์มาอย่างยาวนานหลายปี แบบอย่างเสาไฟฟ้า ทำให้คนใต้ขาดพลวัตรในแทบจะทุกด้าน […]

ปิศาจของการเมืองไทยโผล่หลังเลือกตั้ง

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ “จะเกิดอะไรขึ้นกับการเมืองไทยภายหลังจากการเลือกตั้งกุมภาพันธ์ปีหน้า?” คือ คำถามส่วนหนึ่งที่ผมได้รับจากเพื่อนอเมริกันที่สนใจการเมืองไทย อย่างน้อยอเมริกันชนเหล่านี้ก็มีบริบทของความสัมพันธ์กับเมืองไทยไม่ด้านใดก็ด้านหนึ่ง เช่น เคยเดินทางไปเมืองไทย เคยอาศัยอยู่เมืองไทย หรือมีภรรยาเป็นคนไทย ฯลฯ ผมตอบพวกเขาเหล่านั้นไปว่า ผมจนปัญญาที่จะคาดการณ์ เพราะอะไรๆ ต่างๆ ล้วนไม่เที่ยงแท้แน่นอน ยิ่งการเมืองด้วยแล้ว เป็นเรื่องจับให้มั่นคั้นให้ตายไม่ได้มากที่สุดในบรรดาเรื่องราวหลากหลายในโลก เพราะการเมืองเป็นเรื่องของคน เรื่องของมนุษย์ แต่อย่างน้อยสำหรับการเมืองในประเทศไทยนั้น ก็มีสิ่งผิดปกติให้เห็นอยู่ประการหนึ่งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งที่อาจจะมีขึ้นในปีหน้าก็คือการให้สัมภาษณ์ของนายดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย ที่ออกอาการร้อนตัว จนไม่อยากจะให้มีผู้สังเกตการณ์จากต่างประเทศ แน่นอนว่านักสังเกตการณ์จากสหรัฐอเมริกาส่วนหนึ่งจะเข้าไปสังเกตการณ์การเลือกตั้งในไทย ทั้งที่ตามวิสัยปกติแล้ว หากการเลือกตั้งไม่ส่อเค้าว่าจะมีการโกง รัฐบาลไทยก็ไม่ควรร้อนตัวไปกับการเข้าไปของคณะสังเกตการณ์การเลือกตั้งจากสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา […]

การเมืองหลุดโลกแบบประชาธิปัตย์

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ พิเชษฐ์ พันธุ์วิชาติกุล “ชั่วชีวิตผมที่เหลืออยู่ จะไม่มีโอกาสเห็นปชป.กลับมาเป็นรัฐบาลอีกแล้ว ผมยืนยัน” พิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล สส.กระบี่ พรรคประชาธิปัตย์และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ไปทั่วโลกแล้ว คำถามคือ ทำไมนายพิเชษฐ จึงมีความเชื่อเช่นนี้ และทำไมต้องประชาธิปัตย์ในเมื่อพรรคการเมืองนี้ อวดอ้างตนเองเสมอมาว่าพวกเขาเป็นพรรคที่มีอุดมการณ์เสรีนิยมประชาธิปไตย และโลกปัจจุบัน รวมถึงเทรนด์ของโลกปัจจุบันเป็นเสรีนิยมประชาธิปไตย มันใช่ล่ะหรือ? ก็คงจะเป็นคำถามไปยังนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์(ปชป.) อีกด้วย เพราะกว่าที่คำพูดของนายพิเชษฐ จะหลุดออกมาเขาคงผ่านการกลั่นกรองมาก่อนแล้ว ซึ่งก็หมายความว่า นายพิเชษฐ ตกผลึกทางความคิดโดยตัวของเขาเองจากประสบการณ์การเป็นผู้บริหารพรรคปชป.มายาวนานหลายปี คำถามต่อมาก็คือ […]

เพราะฉ้อฉลจึงต้องตรวจสอบผู้บริหารมหาวิทยาลัยไทย

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ ทุกอาชีพในอเมริกา ต้องโดนตรวจสอบทรัพย์สิน ไม่เว้นแต่อาชีพตุลาการในระดับต่างๆ ที่ต่างก็ล้วนมีที่มาซึ่งยึดโยงกับประชาชนหรือสนามการเลือกตั้งเช่นเดียวกับนักการเมืองทั่วไป ในระบบอเมริกัน ภาพของความเป็นนักการเมืองกับตัวแทนของวิชาชีพแขนงต่างๆ จึงแยกไม่ออก เพราะนักการเมือง คือประชาชนแม้จะเป็นในนามของตัวแทนก็ตาม น่าสนใจว่าในอเมริกาเองก็มีการกฎหมายตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินของนักการเมืองอเมริกันเช่นเดียวกันกับกฎหมายของไทย มีการดำเนินการกันก่อนที่กฎหมายการเปิดเผยบัญชีทรัพย์สินของนักการเมืองในเมืองไทยจะเกิดเสียอีก นักการเมืองอเมริกันจะต้องแจ้งบัญชีทรัพย์สินรายรับ รายจ่าย เพื่อรายงานให้สาธารณะทราบอย่างเปิดเผย ไม่ต่างจากบุคคลที่เป็นเจ้าหน้าที่ในระดับสูง ที่ทำงานในหลายหน่วยงานของรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่น ที่มีหน้าที่แจ้งทรัพย์สิน หรือไม่ก็บัญชีรายรับ-รายจ่ายให้รัฐและสาธารณะทราบเช่นกัน รวมถึงองค์กรที่เรียกว่า มหาวิทยาลัย (University, College) ที่กฎหมายของแต่ละรัฐกำหนดให้มีการเปิดเผยรายรับ-รายจ่าย ทั้งในส่วนของบุคคลที่เป็นผู้บริหารเจ้าหน้าที่ที่ทำงานในสถาบันการศึกษาและตัวสถาบันการศึกษาเอง แปลว่า ผู้บริหารของมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา เช่น อธิการบดี  […]