KP Nan Travel บุกเบิกทัวร์เมืองน่านและล้านนา

“เคพี น่าน ทราเวล” พร้อมลุยทัวร์เมืองน่าน ต้นปี 2564 ดึงมืออาชีพด้านทัวร์และขนส่งจากภูเก็ตเสริมทัพ พร้อมใช้ประสบการณ์แบบมืออาชีพทำธุรกิจทัวร์ในเขตล้านนา นายธนวัฒน์ (คำพล) ศรีสว่างวรกุล ผู้จัดการเคพี น่าน ทราเวล กล่าวว่า มองเห็นการเติบโตของธุรกิจท่องเที่ยวของจังหวัดน่าน และเขตล้านนาทั้งหมด จึงได้ตัดสินใจย้ายฐานการทำธุรกิจท่องเที่ยวและบริการขนส่งจากจังหวัดภูเก็ตไปจังหวัดน่าน โดยจะเริ่มให้บริการนักท่องเที่ยวได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 เป็นต้นไป ทั้งนี้จะใช้รถตู้จำนวน 10-12 ที่นั่ง บริการขนส่งนักท่องเที่ยว “เราให้ลูกทัวร์เป็นคนกำหนดจุดหมายปลายทางที่พวกเขาจะไป ลูกทัวร์เป็นคนทำ Itinerary […]

อเมริกันประสิทธิ

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ “คนธรรมดา” ผมเห็นม็อตโต้ (คำขวัญ)นี้ ต่อจากชื่อของเขาในไลน์ส่วนตัว ที่เรามักติดต่อกันเสมอมาแม้ว่าผมกับเขาเราอยู่กันคนละทวีป ด้วยบุคลิกที่ร่าเริง อัตลักษณ์คงที่ชัดเจน ความปรารถนาบั้นปลายชีวิตของเขาคือเชียงใหม่ แม้ว่าปรารถนานั้นของเขาไม่มีวันเกิดขึ้นจริง แต่มันก็แสดงให้เห็นว่าชีวิตเป็นสิ่งไม่แน่นอน ไม่ว่าคุณจะอยู่แห่งหนใดในโลกก็ตาม โลกอเมริกา ที่ที่หลายคนบนโลกนี้ปรารถนา ฝันได้บ้างไม่ได้บ้าง มีกี่คนที่ได้อย่าง “ประสิทธิ์ แสงอ่อน” ไม่ต้องอิจฉาเขา เพราะนาทีนี้ไม่มีเขาอยู่แล้วในโลก หากคุณค่าของใช้ชีวิตได้ค่อนข้างเต็มรูปแบบ และภาคภูมินั้น “ประสิทธิเสรีชน” อาจทำให้คุณต้องอิจฉาเขา ถ้าเป็นแบบนี้ ผมช่วยอะไรคุณไม่ได้จริงๆ ด้วยแคแรกเตอร์สามัญมะนุดธรรมดา เรียบง่าย มีสุนทรียะอ่อนไหวละเมียดละไมอันพอเหมาะพอควร […]

มหา’ลัยควรแยกงานส่วนวิจัยและงานสอนให้ชัดเจน

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ มหาวิทยาลัยของไทยนั้น นอกจากนั่งอยู่บนหัวของประชาชนที่สนับสนุนการศึกษาระดับอุดมศึกษา ผ่านกระจายงบประมาณ(เงินภาษี)ไปยังสถาบันเหล่านี้แล้ว มหาวิทยาลัยของไทยยังมีนัยแห่งการต้มตุ๋มชาวบ้านอยู่ในทีอีกด้วย เพราะแทบไม่เคยเชื่อมโยงกับกระบวนการลผลิตงานวิจัยที่เป็นจริงเป็นจัง กล่าวคือ ไม่สามารถนำผลงานหรือนวัตกรรมมาใช้จริงในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งก็ถือเป็นหน้าที่หลักของสถาบันอุดมศึกษาเท่าๆ กับงานการเรียนการสอน ดังนั้น เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและง่ายในการประเมินผลงานของมหาวิทยาลัย จึงควรแยกส่วนงานวิจัยออกจากงานสอนออกจากกันให้ชัดเจนมากขึ้น ในช่วงเวลาที่มหาวิทยาลัยกำลังจะกลายเป็นซากปรักหักพัง คือ กำลังจะโดนกวาดล้าง (disruption) ไปพร้อมๆ กับสิ่งเก่าๆ อีกหลายอย่างในโลกนี้ ขณะเดียวกันโลกเสมือนจริงอย่างโลกออนไลน์เข้ามามีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ในทุกระดับมากขึ้น การปรับตัวของมหาวิทยาลัยเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง แต่สำหรับมหาวิทยาลัยในเมืองไทยหลายแห่ง โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยของรัฐ กลับทำตัวเป็นกาฝากทางการศึกษาหากินกับงงบประมาณของรัฐชนิดที่แทบไม่เห็นข้อดีของผลรีเทิร์นอย่างคุ้มค่า แม้แต่สถาบันอุดมศึกษาในต่างจังหวัดเองที่ขณะนี้แทบจะกลายเป็นสถาบันร้าง เนื่องจากจำนวนนักศึกษาลดน้อยลงอย่างมาก แต่กลับมีการจัดตั้งจัดวางขยายตำแหน่งผู้บริหารวิทยาเขต (สาขา) […]

สาธารณรัฐ (Thailand Republic)

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ น่าสนใจว่า รีพับบลิค (republic) หรือการปกครองแบบสาธารณรัฐ ที่ฝ่ายจารีตของไทยตั้งข้อกล่าวหา ข้อรังเกียจชิงชัง แลอาจถือถึงขั้นกล่าวหาว่า มันเป็นระบบซึ่งจะนำไปสู่การแบ่งแยกประเทศออกเป็นเศษเป็นเสี้ยวไม่ขึ้นต่อกัน  แล้วกรุงเทพก็จะเสียอำนาจการปกครอง การตั้งข้อกล่าวดังกล่าวนี้ เกินจริงไปหรือไม่อย่างไร ในขณะที่หลายประเทศในโลกต่างก็ปกครองแบบสาธารณรัฐกันจำนวนมาก เช่น สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส รัสเซีย อินเดีย เนปาล ฯลฯ แปลว่า รีพับบลิคย่อมมีอะไรดี แต่ไฉนมันจึงไม่เหมาะสมกับประเทศไทย?? แม้ไม่อาจเทียบได้ แต่ผู้เขียนกลับมองเห็นว่า การกระจายอำนาจการปกครองส่วนท้องถิ่นของไทยที่กำลังเป็นไปอย่างล่าช้ามากตอนนี้นั้น ไม่ว่าเราจะใช้คำว่า จังหวัดจัดการตนเองเหมือนที่ชำนาญ จันทร์เรืองใช้หรือไม่ก็ตาม […]