วันที่ 15 สิงหาคม 2562 เดินทางไปรับมอบโทรทัศน์อัจริยะ (smart tv) ขนาด 50 นิ้ว จาก สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย ณ อาคารต้นสน ชิดลม กรุงเทพ โดย คุณชัยธัช ประจวบดี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการสมาคมฯ เป็นผู้มอบ ในฐานะประธานมูลนิธิการศึกษาเพื่อเสรีภาพ (EFF) ต้องขอบคุณสมาคมตลาดตราสารหนี้ ไว้ ณ ทีนี้ด้วยครับ พีรพร พงศ์พิพัฒนพันธุ์ ประธานมูลนิธิฯ
ส่งมอบคอมพิวเตอร์จำนวน 4 ชุด ให้ ผอ. โรงเรียนบ้านป่าซ่าน
วันที่ 9 กรกฎาคม 2562 ในนามตัวแทน มูลนิธิการศึกษาเพื่อเสรีภาพ ได้ส่งมอบคอมพิวเตอร์ จำนวน 4 ชุด พร้อมติดตั้งโปรแกรมเพื่อการศึกษา (ในโครงการ Computer for kid) สำหรับใช้ในการเรียนการสอน รับมอบโดย คุณวรวิทย์ มาดิษฐ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป่าซ่าน อ.นครไทย จ.พิษณุโลก วีรวัฒน์ โสภณธนกุล กรรมการมูลนิธิฯ
รับมอบคอมพิวเตอร์จาก บริษัท เอ็ม เอ็ม ซี ฮาร์ดเมทัล (ประเทศไทย) จำกัด
วันที่ 21 พฤษภาคม 2562 ในนามตัวแทน มูลนิธิการศึกษาเพื่อเสรีภาพ ได้รับมอบคอมพิวเตอร์ จำนวน 5 ชุด (ในโครงการ Computer for kid) สภาพพร้อมใช้งาน ไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว มูลนิธิฯ ขอขอบคุณ คุณโศรยา บริษัท เอ็ม เอ็ม ซี ฮาร์ดเมทัล (ประเทศไทย) จำกัด ในความอนุเคราะห์ของท่านเป็นอย่างยิ่ง วีรวัฒน์ โสภณธนกุล กรรมการมูลนิธิฯ […]
ความมั่นคงไซเบอร์ ความมั่นคงรัฐ และเสรีภาพออนไลน์

หลังจากที่ พรบ.มั่นคงไซเบอร์ บังคับใช้มากขึ้น หรือเกิดคดีตัวอย่าง ผมคาดการณ์ไว้ก่อนเลยว่า คุณอาจจะต้องทำใจหน่อย เพราะสิ่งที่คุณจะพบเจอบนโลกออนไลน์ จะเป็นแบบนี้เช่น บางเว็บอาจจะสูญหายไปแบบไร้ร่องรอย, บาง Post ที่ประเด็นดีๆ ความเห็นข้อวิจารณ์ดีๆ ใน Facebook จะถูกลบไปแบบกะทันหัน เหมือนมันไม่เคยเขียนขึ้นมาก่อน , Post บางอันอาจจะให้อ่านอย่างเดียวไม่อนุญาตให้ comment แปลกใจอยู่เหมือนกันว่า พรบ.ฉบับนี้ออกมา ยังไม่เห็นถึงการต่อต้านมากมายทั้งๆที่เป็นเรื่องสำคัญมาก ไม่เหมือน พ.ร.บ. ข้าว ซึ่งถอนออกไปแล้ว แต่ พรบ.มั่นคงไซเบอร์ […]
คนจน พุทธศาสนาและภาวะผู้นำ

ชาญณรงค์ บุญหนุน ได้ข่าวว่า ผู้นำของไทยปัจจุบันท่านอวดตัวว่าปกครองตามหลักการในพระไตรปิฎก ผมจึงอยากโหนกระแสโดยนำงานวิจัยที่ศึกษาค้นคว้าไว้มานำเสนอสักหน่อยเพื่อเราจะได้ทำความเข้าใจสิ่งที่ผู้นำของไทยเรานำมาอ้างให้ชัดเจนขึ้น เรื่องที่จะเสนอในที่นี้เป็นเนื้อหาส่วนหนึ่งในงานวิจัยชื่อ “ความมั่งคั่ง วินัย นิพพาน” ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในหนังสือ “เศรษฐศิลป์ : ผู้นำกับโลกแห่งวัตถุ ในปรัชญาตะวันออก”[1] โดยนำเนื้อหาบางส่วนมาปรับปรุงเผยแพร่เผื่อจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจแนวคิดทางปรัชญาของพุทธศาสนาเกี่ยวกับภาวะผู้นำกับการจัดการเศรษฐกิจของรัฐ เนื่องจากมีสมมติฐานว่า ภาวะผู้นำแสดงออกผ่านความสัมพันธ์ที่ผู้นำกระทำต่อโลกของวัตถุ โดยเฉพาะในเรื่องการจัดการทรัพย์สินส่วนตัวและทรัพย์สินส่วนรวม เพื่อสนองตอบต่อชีวิตของตนและผู้อื่นอย่างเหมาะสม ยุติธรรม ถูกต้อง ทั้งในบริบทของรัฐ สังคม ครอบครัว บทความนี้จึงจะกล่าวถึง (1) ความสำคัญของโลกแห่งวัตถุ (ทรัพย์สิน ความมั่งคั่ง) ที่มีต่อชีวิตส่วนตัวและชีวิตทางสังคมของมนุษย์ […]
รับบริจาคคอมพิวเตอร์

มูลนิธิการศึกษาเพื่อเสรีภาพ(EFF ) มีความประสงค์รับบริจาคคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (Desk top) และคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คจำนวนมากเพื่อบริจาคต่อให้กับสถานศึกษาและโรงเรียน และโรงเรียนพระปริยัติธรรมที่ยังขาดแคลนคอมพิวเตอร์ทั่วประเทศ ท่านใด หน่วยงานใดหรือองค์กรใด มีคอมพิวเตอร์มือสอง (used computer)ที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว หรือมีการเปลี่ยนเครื่องประจำปี (Rotation) หรือมีเกินจำนวน ประสงค์จะบริจาคคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาของนักเรียนโรงเรียนที่ขาดแคลน ที่มาโครงการ: (ขอความกรุณาเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ยังใช้งานได้นะคะ เครื่องเสีย ใช้งานไม่ได้ ไม่รับค่ะ) ขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ
โครงการฝึกอบรมภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ณ. อบต. บางคูรัด
ภาพบรรยากาศ นายกเอ๋ ดร. พิมพ์พัชชา หยิมการุณ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล(อบต. )บางคูรัด ประชาชนชาวบางคูรัด. พีรพร พงศ์พิพัฒนพันธุ์ ประธานมูลนิธิการศึกษาเพื่อเสรีภาพ(EFF) พร้อมด้วย ฉันทฤทธิ์ วิโรจน์ศิริ รองประธานกรรมการมูลนิธิฯ ตลอดถึงเจ้าหน้าที่ อบต. บางคูรัดในงานเปิดโครงการอบรมหลักสูตรภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับเยาวชนและประชาชนทั่วไปโดยความร่วมมือระหว่างองค์การบริหารส่วนตำบลบางคูรัดกับมูลนิธิการศึกษาเพื่อเสรีภาพ (EFF) ณ ที่ทำการ อบต. บางคูรัด อ. บางบัวทอง จ. นนทบุรี โดยฉันทฤทธิ์ในนามของมูลนิธิรับหน้าที่เป็นวิทยากรในงานอบรมดังกล่าว งานจัดขึ้นระหว่าง 9-11 […]
ในวันที่มหาวิทยาลัยไทยกำลังรอวันผุพัง
พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ การเปลี่ยนแปลงหรือการเกิดนวัตกรรมไม่ใช่เรื่องผิดปกติ แต่สำหรับการเปลี่ยนแปลงในวงการการศึกษา แม้ไม่ใช่เรื่องผิดปกติแต่ก็ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ เรื่องสำคัญ เป็นประเด็นหรือเป็นเรื่องระดับชาติ โดยนัยนี้เราจะเห็นว่า การเปลี่ยนแปลงในส่วนของวงการการศึกษาที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลกส่งผลต่อระบบการจัดการศึกษาของไทยอย่างไรบ้าง ประการแรก สถาบันการศึกษาทุกประเภท ทุกระดับที่มีอยู่ในปัจจุบัน จะต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองขนานใหญ่จากระบบปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ที่กำลังเข้ามา ซึ่งส่งผลให้มีการปรับลดบุคลากรในสถาบันการศึกษาทั้งในส่วนของเจ้าหน้าที่และอาจารย์ผู้สอนในสถาบันการศึกษาลง ประการที่สอง ความจำเป็นที่จะต้องพึ่งพาการศึกษาในระดับอุดมศึกษามีน้อยลง เนื่องจากปัจจุบันผู้เรียนสามารถอาศัยหรือพึ่งพาแหล่งความรู้จากนอกสถาบันการศึกษาในระบบได้ ทั้งในและต่างประเทศ ประการที่สาม การเรียนที่ไม่สัมพันธ์กับวิถีชีวิตของสังคมหรือชุมชน ทำให้ทั้งผู้สอนและผู้เรียนประหนึ่งนั่งอยู่บนหอคอยงาช้าง คือ เท้าไม่ติดดิน เรียนจบมาเพื่ออวด เพื่อแสดงสถานะทางสังคมเหนืออื่นใด มากกว่าการเรียนเพื่อนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน ประการที่สี่ […]
แทนโรงเรียนด้วยศูนย์การเรียนรู้ (เพื่อ)ชุมชน
พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ ลองนึกภาพโลกาภิวัตน์ 4.0 ก็จะเห็นภาพของโลกในปัจจุบันที่ประกอบด้วยเครือข่ายด้านการสื่อสารระโยงระยางทั่วถึงกันหมด ปัญหาคือเราจะใช้เครือข่ายเหล่านี้ให้เป็นประโยชน์ต่อชุมชนไทยของเราอย่างไร และแน่นอนที่สุดว่า เราคงไม่สามารถฝากความหวังไว้กับหน่วยงานหรือภาคส่วนราชการไทยที่ปรับตัวช้าและวิสัยทัศน์ล้าหลังได้ เราคงตระหนักได้ว่า การปรับตัวที่จำเป็นต้องทำเหนืออื่นใดก็คือ การปรับพื้นฐานด้านมโนทัศน์หรือการปรับตัวด้านความคิดของพลเมือง ที่มีจุดใหญ่ใจความสำคัญอยู่ที่การศึกษา อันเป็นพื้นฐานสำคัญที่บ่งว่าอนาคตของชาติจะไปทางไหน และเราคนไทยทุกคนคงต้องร่วมมือร่วมใจกันในเรื่องนี้ และเราคงตระหนักดีกันแล้วด้วยว่า ทุกอย่างจะต้องเปลี่ยนแปลงอย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ในขณะที่สังคมโลกกำลังโอบล้อมเรา ด้วยการตีวงแคบลงทุกวันๆ ไม่ว่าจารีตวัฒนธรรมของไทยจะเป็นเยี่ยงไร แต่จนแล้วจนรอดเราไม่อาจปฏิเสธกระแสสากลที่กำลังทะลักเข้ามาแบบไร้ซึ่งพรมแดน โลกยุคใหม่จึงปราศจากพรมแดน ไม่ว่าคุณจะพยายามกีดกั้นอย่างไร มันจะไม่สามารถกีดกั้นพลเมืองให้อยู่ภายใต้กรอบหรือชอบเขตที่รัฐกำหนดแบบเดิมๆ ได้ กระแสความเป็นไปภายในชาติจึงทับซ้อนกับกระแสความเป็นไปของโลกอย่างแยกไม่ออก ปฏิเสธไม่ได้ว่า กระแสโลกที่มีสหรัฐอเมริกานำอยู่นั้น บงการหรือชี้นำความเป็นไปของโลกในช่วงราวสองทศวรรษที่ผ่านมาอย่างชัดเจน โซเชียลมีเดียที่กลายเป็นวีถีชีวิตประจำวันของชาวโลกแม้แต่ในโลกสังคมนิยมหรือโลกคอมมิวนิสต์ก็ตาม พวกเขามิรู้ที่จะปฏิเสธการโอภาปราศรัยผ่านมีเดียสมัยใหม่อย่างไรได้ ความสำคัญของสื่อสมัยใหม่นี้เอง […]
เงิน กับ นิพพาน

ผศ.ดร ชาญณรงค์ บุญหนุนภาควิชาปรัชญา ม.ศิลปากร หากพิจารณาจากบริบทของพุทธศาสนา โลกของวัตถุและทรัพย์สินในโลกของฆราวาสมีความสำคัญในระดับพื้นฐานในฐานะองค์ประกอบสำคัญที่จะอำนวยให้ดำรงชีวิตอย่างมีความสุข มนุษย์เกิดขึ้นมาท่ามกลางธรรมชาติหลากหลายแต่ความต้องการของมนุษย์กลับหลากหลายและมากยิ่งกว่าจำนวนธรรมชาติที่มีอยู่ และภายใต้ศักยภาพของมนุษย์ที่แตกต่างกัน การแย่งชิงประโยชน์จากทรัพยากรระหว่างมนุษย์เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้เนื่องจากมนุษย์มีความโลภอยู่ในเรือนใจ การแบ่งปันทรัพยากรธรรมชาติที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตเพื่อกันและกันจึงเป็นอุดมคติที่พุทธศาสนาบรรจุไว้ในคำสอนเรื่องบุญกิริยาวัตถุ 3 ประการ ได้แก่ บุญที่สำเร็จด้วย “ทาน ศีล ภาวนา” แต่การจะให้การแบ่งปันเกิดขึ้นอย่างถ้วนทั่วระหว่างมนุษย์ด้วยกันในความเป็นจริงนั้นเป็นสิ่งที่ไม่อาจเกิดขึ้นได้ด้วยการพัฒนาคุณลักษณะส่วนตัวในปัจเจกบุคคลเพียงอย่างเดียวผู้นำรัฐจึงมีบทบาทสำคัญที่จะส่งเสริมให้พลเมืองมีหลักประกันว่า “ทุกคนจะมีวัตถุปัจจัยเลี้ยงชีวิตอย่างเพียงพอและเท่าเทียม” โดยผู้นำรัฐมีนโยบายส่งเสริมสนับสนุนให้พลเมืองภายในรัฐสามารถประกอบอาชีพตามความถนัดอันจะช่วยให้มีโภคทรัพย์พอหล่อเลี้ยงชีวิตของตนและผู้อื่นที่เกี่ยวข้องได้โดยไม่ละเมิดบรรทัดฐานของสังคม ภายใต้หลักความเที่ยงธรรมแห่งรัฐและมีผู้นำที่ดี ครอบครัวอันเป็นหน่วยพื้นฐานของสังคมก็จะมั่นคงและมีความสุข พุทธศาสนายังเชื่อว่า เมื่อสังคมปลอดภัย ความสุขในครอบครัวจึงอาจเป็นไปได้ ผู้นำระดับครอบครัวเป็นผู้มีบทบาทสำคัญที่จะช่วยให้สังคมโดยรวมธำรงรักษาระเบียบระบบของสังคมที่ไม่เพียงแต่จะเป็นประโยชน์สำหรับทุกคนแต่ยังเป็นประโยชน์สำหรับตัว “คหปติ” […]
พระสงฆ์กับเงินในสมัยหลังพุทธกาล

ผศ.ดร ชาญณรงค์ บุญหนุน เครดิตภาพ http://dhammawijja.blogspot.com/2016/02/blog-post_1.html โดยจารีตแห่งสงฆ์ตามพระวินัยบัญญัติ พระพุทธเจ้าไม่ทรงประสงค์จะให้ภิกษุในฐานะผู้นำทางจิตวิญญาณและจริยธรรม มีเงินหรือทองของมีค่าชนิดต่าง ๆ ไว้เป็นทรัพย์สินส่วนตัว เพราะปัจจัย 4 ที่เพียงพอแก่การเลี้ยงชีวิตสงฆ์นั้น อาจได้มาด้วยการสนับสนุนหรือบริจาคโดยฆราวาสผู้เลื่อมใส ขณะที่พุทธศาสนามีคำสอนให้พระสงฆ์แสวงหาความหลุดพ้นจากทุกข์และอนุเคราะห์ชุมชนด้วยการสั่งสอนให้เข้าถึงเป้าหมายทางศาสนา พุทธศาสนามีคำสอนเกี่ยวกับการทำบุญที่มุ่งหมายให้พุทธบริษัทเกื้อกูลกันและกันด้วยปัจจัย 4 พัฒนาสภาพแวดล้อมทางสังคมและการอยู่ร่วมกันอย่างมิตรไมตรี มีเมตตาต่อกัน ฆราวาสแสวงบุญในศาสนาด้วยการบริจาคทานเพื่อบูชาพระสงฆ์ แบ่งปันทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดเพื่ออนุเคราะห์คนอื่นที่อยู่ในสังคมเดียวกัน เพื่อว่าสังคมจะดำรงความสงบสุขและเอื้อต่อการพัฒนาปัญญา [1] สังคมพุทธบริษัทที่เกื้อกูลแบ่งปันทรัพยากรและความรู้เป็นสังคมที่พระพุทธเจ้าทรงคาดหวัง ขณะพุทธศาสนาเสนอระบบศีลธรรมที่เปิดโอกาสให้ฆราวาสได้แสวงหาทรัพย์สิน ครอบครองทรัพย์และใช้จ่ายทรัพย์สินที่หามาได้ตามใจปรารถนาโดยไม่ละเมิดครรลองของศีล (จริยธรรมพื้นทางทางสังคม) และมีโอกาสได้แสวงบุญหรือหว่านบุญทานลงในเนื้อนาบุญ (พระสงฆ์) ของศาสนา […]
หลักการศูนย์การเรียนรู้(เพื่อ)ชุมชน มูลนิธิการศึกษาเพื่อเสรีภาพ (EFF)
พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ ลองนึกภาพโลกาภิวัตน์ 4.0 ก็จะเห็นภาพของโลกในปัจจุบันที่ประกอบด้วยเครือข่ายด้านการสื่อสารระโยงระยางทั่วถึงกันหมด ปัญหาคือเราจะใช้เครือข่ายเหล่านี้ให้เป็นประโยชน์ต่อชุมชนไทยของเราอย่างไร และแน่นอนที่สุดว่า เราคงไม่สามารถฝากความหวังไว้กับหน่วยงานหรือภาคส่วนราชการไทยที่ปรับตัวช้าและวิสัยทัศน์ล้าหลังได้ เราคงตระหนักได้ว่า การปรับตัวที่จำเป็นต้องทำเหนืออื่นใดก็คือ การปรับพื้นฐานด้านมโนทัศน์หรือการปรับตัวด้านความคิดของพลเมือง ที่มีจุดใหญ่ใจความสำคัญอยู่ที่การศึกษา อันเป็นพื้นฐานสำคัญที่บ่งว่าอนาคตของชาติจะไปทางไหน และเราคนไทยทุกคนคงต้องร่วมมือร่วมใจกันในเรื่องนี้ และเราคงตระหนักดีกันแล้วด้วยว่า ทุกอย่างจะต้องเปลี่ยนแปลงอย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ในขณะที่สังคมโลกกำลังโอบล้อมเรา ด้วยการตีวงแคบลงทุกวันๆ ไม่ว่าจารีตวัฒนธรรมของไทยจะเป็นเยี่ยงไร แต่จนแล้วจนรอดเราไม่อาจปฏิเสธกระแสสากลที่กำลังทะลักเข้ามาแบบไร้ซึ่งพรมแดน โลกยุคใหม่จึงปราศจากพรมแดน ไม่ว่าคุณจะพยายามกีดกั้นอย่างไร มันจะไม่สามารถกีดกั้นพลเมืองให้อยู่ภายใต้กรอบหรือชอบเขตที่รัฐกำหนดแบบเดิมๆ ได้ กระแสความเป็นไปภายในชาติจึงทับซ้อนกับกระแสความเป็นไปของโลกอย่างแยกไม่ออก ปฏิเสธไม่ได้ว่า กระแสโลกที่มีสหรัฐอเมริกานำอยู่นั้น บงการหรือชี้นำความเป็นไปของโลกในช่วงราวสองทศวรรษที่ผ่านมาอย่างชัดเจน โซเชียลมีเดียที่กลายเป็นวีถีชีวิตประจำวันของชาวโลกแม้แต่ในโลกสังคมนิยมหรือโลกคอมมิวนิสต์ก็ตาม พวกเขามิรู้ที่จะปฏิเสธการโอภาปราศรัยผ่านมีเดียสมัยใหม่อย่างไรได้ ความสำคัญของสื่อสมัยใหม่นี้เอง […]
บางคูลัด : ตัวอย่างความล้มเหลวของระบบผังเมืองไทย
จ้อบ วิโรจน์ศิริ คลองบางคูลัดเป็นคลองที่เชื่อมระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำท่าจีน สภาพความคดเคี้ยวด้านแม่น้ำเจ้าพระยาทำให้เห็นว่าน่าจะเป็นคลองธรรมชาติที่ถูกขุดต่อไปทางทิศตะวันตกถึงแม่น้ำท่าจีน แต่ยังค้นไม่พบข้อมูลว่าขุดขึ้นเมื่อ พ.ศ.ใด ต่อมาสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง (พ.ศ. 2172 – 2199) โปรดให้ขุดคลองลัดแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วงเมืองนนทบุรี ซึ่งมีความคดเคี้ยว การเดินทางสัญจรต้องใช้เวลานาน เมื่อขุดคลองลัดแล้ว แม่น้ำก็เปลี่ยนทางไหลเข้าคลองขุดใหม่กลายเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาสายใหม่ดังปัจจุบันนี้ ซึ่งมีความยาวประมาณ 5 ก.ม. ส่วนแม่น้ำสายเดิมที่ยาวประมาณ 21 กิโลเมตรนั้นเล็กตีบลงกลายเป็นทางน้ำอ้อม เรียกกันว่าแม่น้ำอ้อม และเมื่อถึง พ.ศ. 2208 สมเด็จพระนารายณ์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างป้อมปราการตรงปากแม่น้ำอ้อม และโปรดฯ ให้ย้ายเมืองนนทบุรีมาอยู่ปากแม่น้ำอ้อมด้วย […]
วัดกับการกระจายความมั่งคั่งให้ชาวบ้าน
พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ ข่าวเงินทอนวัด จับสึกพระสังฆาธิการระดับสูงของประเทศไทย กระฉ่อนไม่ใช่เฉพาะเมืองไทย หากแต่กระจายออกไปยังสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก ชาวพุทธในสหรัฐอเมริกาจำนวนไม่น้อยให้ความสนใจสอบถามว่าเกิดอะไรขึ้นกับพุทธศาสนาในเมืองไทย เพราะดูเหมือนประเทศไทยจะเป็นป้อมปราการด่านสุดท้ายของพุทธศาสนานิกายเถรวาทหลังจากที่พุทธศาสนานิกายเดียวกันนี้ ถูกโยกย้ายถ่ายเทมายังสุวรรณภูมิซึ่งก็คือสยามประเทศนั่นเอง แม้ว่า ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นต่างๆ นั้นจะยังไม่กระจ่างทั้งหมด เนื่องมาจากปมการเมืองหรือไม่ก็ตาม แต่ควรหรือไม่ที่เราชาวพุทธพึงหันมาประเมินใส่ใจกับท่าทีขององค์กรคณะสงฆ์ของประเทศกับความสัมพันธ์กับชุมชนหรือพูดให้เห็นภาพก็คือ สังคมที่โอบล้อมล้อมรอบพื้นที่วัด แล้วเราก็อาจจะได้ข้อสรุปเหมือนที่คาลิล ยิบราน เคยเขียนไว้ในเรื่องสั้นของเขาว่า “พื้นที่ของพระเจ้านั้นศักดิ์สิทธิ์หรือสูงเกินที่คนธรรมดาในระดับชาวบ้านจะเข้าไปสัมผัสหรือใช้พื้นที่นั้นได้” ซึ่งก็หมายความว่า ศาสนสถานนั้น หาได้มีปฏิสัมพันธ์กับคนหรือชุมชนอย่างที่ควรเป็น พระสงฆ์เองห่างเหินสังคมหรือชุมชมมากขึ้น เราอาจมีพระสงฆ์ที่มีการศึกษาทางโลกสูงขึ้น ทว่าความรู้ดังกล่าวไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับชุมชนเอาเสียเลย เป็นความรู้แบบแยกส่วนกับชุมชนหรือแยกไปจากวิถีชาวบ้าน พูดให้เห็นภาพชัดๆ ก็คือ วัดหรือพระสงฆ์ที่โออ่า […]
โรงเรียนและมหาลัย…ตายแล้ว
พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ รายงานคุณภาพชีวิตเด็กประจำปี 2018 ขององค์กรเพื่อเด็กระหว่างประเทศ Save the Children ระบุว่า สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุดต่อการเจริญเติบโตของเด็ก จากการประเมิน 175 ประเทศทั่วโลก ตามมาด้วย สโลวีเนีย นอร์เวย์ สวีเดน และฟินแลนด์ ขณะที่ไทยได้รับการจัดอันดับอยู่ที่อันดับที่ 85 ซึ่งต่ำกว่าเกาหลีเหนือที่อยู่ในลำดับที่ 70 และต่ำกว่าดินแดนที่ยังมีการสู้รบอย่างเซอร์เบียและปาเลสไตน์ ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 42 และ 84 ทั้งนี้ สำหรับประเทศไทย ในรายงานยังมีการระบุว่าเป็นประเทศที่มีการแบ่งแยกเด็กผู้ชาย-ผู้หญิงอย่างชัดเจน […]
ความสำคัญของ“สำเนียงส่อภาษาฯ”ในอเมริกา
พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ เคยมีเพื่อนจากเมืองไทยถามผมว่า วัฒนธรรมอเมริกันมีภาษาท้องถิ่น เหมือนที่เมืองไทยมีภาษาปักษ์ใต้ ภาษาล้านนา ภาษาอิสาน หรือภาษาสุพรรณ ราชบุรี เพชรบุรีประจวบฯ ที่สำเนียงออกเหน่อๆ หรือไม่? คงต้องตอบว่า “มีครับ” และถือเป็นเรื่องปกติของอเมริกันชนที่นี่ ท่ามกลางความหลากหลายของเชื้อชาติของผู้คนในอเมริกากว่า 300 ล้านคน ที่สำคัญคือ จากความแตกต่างหลากหลายดังกล่าวนี้เองถูกมองว่าการที่อเมริกันแต่ละคนพูดด้วนสำเนียงภาษาที่แตกต่างกัน เป็นเรื่องปกติธรรมดา ไม่นับรวมคนสำเนียงภาษาจากคนกลุ่มน้อย (minority groups) เชื้อชาติต่างๆ อีกนับร้อย เช่น จีน เกาหลี ไทย […]
“สลิ่ม” ก็มี ด้วยประการฉะนี้
พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ เมื่อก่อนพอได้ยินคนกล่าวประโยคว่า “ถ้าคุณคิดว่าไม่ชอบอเมริกาก็ควรกลับประเทศของตัวเองไป (ซะ) อย่าอยู่ที่นี่เลย” ผมรู้สึกเฉยๆ แต่มาวันนี้ผมกลับคิดว่าคำพูดประโยคนี้ไม่ธรรมดา แถมมีแง่มุมให้คิดอยู่ไม่น้อย ที่ว่า “ไม่น้อย” เพราะสถานการณ์อะไรๆ ต่างๆ ได้เปลี่ยนไปมาก โดยเฉพาะสถานการณ์การเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์ แต่มีผู้คนเชื้อสายต่างด้าว โดยเฉพาะคนเชื้อสายไทยที่แสดงออกว่า พวกเขาไม่พอใจ “ระบบอเมริกัน”ขณะที่พวกเขากำลังอยู่ท่ามกลางระบบหรือสังคมอเมริกันและพวกเขาดิ้นรนแสวงหาช่องทางเพื่อมาทำมาหากินและใช้ชีวิตอยู่ที่นี่กันอย่างยากลำบาก ทั้งโรบินฮู้ดและมิใช่โรบินฮู้ด (น่าแหละ) หากแท้จริงแล้ว สถานการณ์ปัจจุบันที่แสดงว่าโลกมีความเป็นหนึ่งเดียว และเป็นสังคมข้อมูลข่าวสาร น่าจะทำให้คนเชื้อสายต่างด้าว (immigrants) ผู้อาศัยอยู่ในอเมริกาจำนวนมากสมควรมีทางเลือกเป็นของตนเองโดยอิสระ […]
พุทธศาสนา…หนึ่งในตัวเชื่อมความสัมพันธ์ไทย-อเมริกา
พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ พระพุทธศาสนาเถรวาทแบบไทย เข้ามาลงหลักปักฐานในสหรัฐอเมริกาเป็นเวลาหลายสิบปี ในอเมริกาฝั่งตะวันตก(west coast) นั้นได้วัดไทยแอล.เอ. รัฐแคลิฟอร์เนีย เป็นสดมภ์หลักในการเผยแผ่พระธรรมคำสอนขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นวัดไทยที่มีลักษณะแบบเป็นทางการมากที่สุด นั่นคือ เป็นวัดรูปแบบตามแบบอย่างเมืองไทยอย่างชัดเจน โดยเฉพาะในด้านสถานที่และสถาปัตยศิลป์ เมื่อเทียบกับวัดไทยในสถานที่อื่นๆ ในอเมริกา โดยที่วัดไทยจำนวนหนึ่งอยู่ในสภาพของการใช้บ้านเรือนเป็นสถานที่ทำการในฐานะวัด หรือพูดง่ายๆ ก็คือ พระสงฆ์ใช้“บ้าน”เป็นที่พักปฏิบัติศาสนกิจนั่นแหละ ซึ่งสำหรับในอเมริกาแล้วเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องปกติธรรมดา อย่างที่ทราบกันดีว่า ขนบธรรมเนียม วัฒนธรรมความเป็นอยู่ของฝรั่งอเมริกัน ไม่เหมือนกับของคนไทย นอกจากวัฒนธรรมแล้ว ก็เชื่อมโยงไปถึงข้อกฎหมาย วัดในอเมริกามีฐานะเป็นนิติบุคคลเหมือนองค์กรนิติบุคคลโดยทั่วไป ดังนั้นการดำเนินกิจกรรมใดๆ ก็ตามต้องเป็นตามทบัญญัติแห่งของกฎหมายของรัฐต่างๆ ที่วัดนั้นตั้งอยู่ […]
ปรากฏการณ์สื่ออเมริกันสะท้อนกระแสข่าวล็อบบี้ของทักกี้
พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ งานนี้ ทักกี้อยู่เบื้องหลังอีกแล้ว!! (กับการ) ล็อบบี้นักการเมืองและคนอเมริกันให้หันมาโจมตีต่อรัฐบาลเผด็จการทหารของไทย (คสช.) 555?? แต่คราวนี้ดูเหมือนการล็อบบี้ที่ว่าจะไม่ได้เกิดขึ้นจริง (ล่ะมั้ง?) เพราะในช่วงหลายเดือนมานี้ ไม่มีนักการเมืองอเมริกันหน้าไหน ออกมาพูดให้สัมภาษณ์ขย่มรัฐบาลคสช. แม้สักคนเลย ถ้าทักกี้และเครือข่ายฯ จ่ายเงินผ่านล้อบบี้ยีสต์ที่วอชิงตันดีซีจริงป่านนี้คงได้เห็นนักการเมืองอเมริกันออกมาวิพากษ์วิจารณ์การเมืองไทยกันให้ขรมแล้ว อย่างที่ทราบกัน หากกลับไปตรวจสอบสื่อต่างๆ โดยเฉพาะสื่ออเมริกันจนถึงขณะนี้ยังไม่ปรากฏท่าทีของฝ่ายการเมืองของอเมริกันต่อการเมืองไทยบนสื่อใดๆ เลย ทั้งนี้ทั้งนั้น มิใช่ว่าการตั้งข้อสงสัยเชิงหวาดระแวงของสลิ่มชน(ไทย) จะไม่มีมูลความจริง เพราะก่อนหน้านี้ การล็อบบี้เชิงการเมืองระหว่างปะเทศได้บังเกิดขึ้นจริงที่แคปปิตัล ฮิลล์ และมันส่งผลต่อสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศเพื่อนบ้านของไทย อย่างเมียนมาร์ซึ่งเป็นความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในประเทศเดียวกันนี้ คือ เปลี่ยนจากรัฐบาลสล็อคของนายพลตานฉ่วย […]
Clean and Clear of the Last Generation
By Pete Pongpipatthanapan As a nephew of Phra Kru Vijitra Dhammabharn, the abbot of Wat Pha Tor I am so proud to be his nephew and to mourning him as […]