มหา’ลัยควรแยกงานส่วนวิจัยและงานสอนให้ชัดเจน

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ มหาวิทยาลัยของไทยนั้น นอกจากนั่งอยู่บนหัวของประชาชนที่สนับสนุนการศึกษาระดับอุดมศึกษา ผ่านกระจายงบประมาณ(เงินภาษี)ไปยังสถาบันเหล่านี้แล้ว มหาวิทยาลัยของไทยยังมีนัยแห่งการต้มตุ๋มชาวบ้านอยู่ในทีอีกด้วย เพราะแทบไม่เคยเชื่อมโยงกับกระบวนการลผลิตงานวิจัยที่เป็นจริงเป็นจัง กล่าวคือ ไม่สามารถนำผลงานหรือนวัตกรรมมาใช้จริงในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งก็ถือเป็นหน้าที่หลักของสถาบันอุดมศึกษาเท่าๆ กับงานการเรียนการสอน ดังนั้น เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและง่ายในการประเมินผลงานของมหาวิทยาลัย จึงควรแยกส่วนงานวิจัยออกจากงานสอนออกจากกันให้ชัดเจนมากขึ้น ในช่วงเวลาที่มหาวิทยาลัยกำลังจะกลายเป็นซากปรักหักพัง คือ กำลังจะโดนกวาดล้าง (disruption) ไปพร้อมๆ กับสิ่งเก่าๆ อีกหลายอย่างในโลกนี้ ขณะเดียวกันโลกเสมือนจริงอย่างโลกออนไลน์เข้ามามีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ในทุกระดับมากขึ้น การปรับตัวของมหาวิทยาลัยเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง แต่สำหรับมหาวิทยาลัยในเมืองไทยหลายแห่ง โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยของรัฐ กลับทำตัวเป็นกาฝากทางการศึกษาหากินกับงงบประมาณของรัฐชนิดที่แทบไม่เห็นข้อดีของผลรีเทิร์นอย่างคุ้มค่า แม้แต่สถาบันอุดมศึกษาในต่างจังหวัดเองที่ขณะนี้แทบจะกลายเป็นสถาบันร้าง เนื่องจากจำนวนนักศึกษาลดน้อยลงอย่างมาก แต่กลับมีการจัดตั้งจัดวางขยายตำแหน่งผู้บริหารวิทยาเขต (สาขา) […]

มหาวิทยาลัยมีไว้ทำไม?

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ มหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาของไทย ปัจจุบันอยู่ในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม แต่มีเหตุผลที่เป็นไปได้ว่าการศึกษาระดับสถาบันอุดมศึกษาของไทยไม่ควรอยู่ภายใต้การกำกับครอบงำของรัฐบาลด้านต่างๆ อีกต่อไป หากสถาบันการศึกษาในระดับสูงเหล่านี้ควรแยกตัวออกจากรัฐเป็นเอกเทศ จัดการตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งในส่วนการบริหารจัดการ บุคลากร และส่วนวิชาการที่ถือเป็นหน้าที่หลักของสถาบันอุดมศึกษาจริงๆ ประการแรก เพราะมหาวิทยาลัย หรือสถาบันอุดมศึกษา มีหน้าที่ทำงานด้านวิชาการซึ่งบทบาทหน้าที่ดังกล่าว ควรเป็นเอกเทศหรืออิสระตามแบบอย่างสถาบันวิชาการสากล ปราศจากมายาคติของมวลชนกลุ่มหรือฝ่ายต่างๆ มหาวิทยาลัยควรเป็นกลไกที่มีความเป็นกลางทางเมืองอย่างยิ่งยวด มีอิสระเด็ดขาดในการตัดสินใจในส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น ในฝ่ายกิจกรรมนักศึกษาที่จะเป็นพลังสะท้อนความเป็นไปของการศึกษาวิจัยเชิงสังคม ทั้งนี้บทบาทของรัฐที่เกี่ยวข้องกับสถาบันอุดมศึกษาควรเป็นเรื่องมาตรฐานเบื้องแรกที่มีการจัดสถาบันการศึกษา ส่วนในการประเมินคุณภาพนั้นก็อาศัยรูปแบบการทำงานแบบคณะกรรมการหรือคณะทำงานดุจเดียวกับสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) ที่มีมาก่อนหน้านี้ ประการที่สอง เพราะการรับเอาๆ งบประมาณทุกปีของสถาบันการศึกษาของรัฐจากรัฐ […]

การตลาดมุมแอบ

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ หลักการของวิชาการด้านการตลาดงอกงามเติบโตมาจากอเมริกา จนต่อยอดต่อแขนงออกไปอย่างกว้างขวางมีอิทธิพลต่อการทำกิจกรรมทุกประเภท ความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของเราต่างได้รับมายาคติจากกลยุทธ์การตลาดไม่มากก็น้อย และส่วนใหญ่ได้รับกันโดยไม่รู้เนื้อรู้ตัว เช่น การฝังหัวผ่านโฆษณาทางทีวีซึ่งเป็นที่รู้จักกันกันดี ในยามที่กระแสเห่อทีวีดิจิตอลในเมืองไทยพุ่งสูงกว่ายุคใดๆ ใครไม่เอ่ยถึงทีวีดิจิตอลอาจถูกมองว่า เป็นคนล้าหลังไปได้ ที่ซับซ้อนมากไปกว่านั้นก็คือ การอ้างข้อเท็จจริงด้านการรายงานข่าวของสื่อ โดยเฉพาะสื่อทีวี เช่น คำพูดที่ว่า “ถ่ายทอดสด” (live) ถูกอุปโลกน์ด้วยมิติที่ซับซ้อนมากกว่าสิ่งที่ผู้ชมมองเห็น นั่นคือ เต็มไปด้วยการสร้างแสงสี และฉากที่มีเป็นผลมาจากการวางมุมกล้องของ “ผู้กำกับการแสดงข่าว” อยู่เบื้องหลัง  ยังไม่รวมถึงการเลือกตัดภาพหรือตัดต่อของผู้กำกับที่ยืนอยู่หลังกล้อง  เช่น การเลือกสีหน้า อารมณ์ของผู้คนหรือแหล่งข่าว ที่ถูก เรียกในเชิงบวกเป็น […]

Chinatown USA

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ ทำไมถึงต้องพูดถึงไชน่าทาวน์ยูเอสเอ หรือเมืองคนจีนในอเมริกา ก็เพราะว่า เมืองนี้เป็นจุดกำเนิดของวัฒนธรรมคนเอเชียในดินแดนตะวันตก คนจีนอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในอเมริกาก่อนชาติเอเชียอื่นๆ ล่วงมากว่า 200 ปีแล้ว  ดังนั้นวิวัฒนาการของการตั้งเข้ามาอาศัยอยู่นี้ย่อมเป็นที่น่าสนใจและน่าศึกษา ในดินแดน“ลุงแซม”มี ไชน่าทาวน์อยู่หลายแห่ง ที่เด่นๆ และเก่าแก่เห็นจะเป็นไชน่าทาวน์ที่นิวยอร์ค และไชน่าทาวน์ซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งจำลองแบบความเป็นอยู่และวิถีชีวิตของคนจีนมาแทบ 100 เปอร์เซ็นต์ทีเดียว เรียกว่าคนอเมริกันไม่จำเป็นต้องไปเมืองจีนก็สามารถรับรู้วัฒนธรรม ประเพณีจีน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิถีตะวันออกได้เลยทีเดียว ตลอดขณะเหตุการณ์และช่วงหลังการปฏิวัติประเทศ เปลี่ยนการปกครองในประเทศจีน โดยเหมาเจ๋อตุง จวบจนถึงปัจจุบัน ไชน่าทาวน์หลายเป็นแหล่งรวมของมวลชนคนจีนหลากแนวคิด ทั้งฝ่ายเสรีนิยมและฝ่ายคอมมิวนิสต์ ปัจจุบัน […]

ด๊อกเตอร์-ด๊อกตุ๋น

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ : ppongnv@gmail.com เป็น พินิจ ชัยจารีย์ แห่งสมาคมไทยทักษิณฯหรือปัจจุบัน คือสมาคมชาวใต้แคลิฟอร์เนีย ลอสแองเจลิส (แอล.เอ.)ที่่เคยกล่าวกับผมว่า คุณอาศัยกินอยู่หลับนอนในอเมริกาได้ 20 ปี หรือมากกว่านี้ มันยิ่งกว่าคุณจบ ปริญญาเอกหรือดอกเตอร์เสียอีก หากแม้พินิจ อังดรัว ผู้เดินเฉียดปรีดี พนมยงค์ ณ ปารีส …ปิยสหายของผมล่วงลับไปหลายปีดีดักแล้ว แต่ผมจำคำสนทนาของเขากับผมประโยคที่ว่านี้ได้เสมอ จนกระทั่งผมกลับเมืองไทย ถึงได้ตระหนักความหมายของถ้อยสนทนาของพินิจว่า มันจริงแท้มากขนาดไหน เมื่อพบว่าสังคมไทย บ้าเห่อปริญญาบัตร […]

การศึกษากับเอไอ

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ Line ID : pete1120 ต่อจากยุคดิจิตัลหรือยุค 4.0 อย่างปัจจุบัน คือยุคอะไรมีใครรู้หรือทำนายได้บ้าง? บางคนบอกว่า มันคือยุค AI (Artificial Intelligence) หรือ “ยุคปัญญาประดิษฐ์” ซึ่งก็อาจจะเป็นอย่างนั้นจริงๆ ในเมื่อองค์กรทั้งขนาดเล็ก กลางและใหญ่ ต่างพากันทยอยปรับตัวหันมาใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์กันมากขึ้น ดังองค์กรขนาดใหญ่อย่างธนาคารพาณิชย์ของไทยเริ่มดำเนินการกันอยู่ในขณะนี้ด้วยการโละพนักงานและยุบสาขาทิ้ง นี่นับเป็นความเปลี่ยนแปลงของ“ธุรกิจเสือนอนกิน”ของไทยขนานใหญ่ เห็นชัดอย่างเป็นรูปธรรม แม้ในเวลาที่ธุรกิจประเภทนี้ยังมีผลประกอบการกำไรอย่างมหาศาลต่อปีอยู่ก็ตาม แน่นอนว่า การเปลี่ยนแปลงทำนองนี้ ไม่ใช่เรื่องใหม่ในอเมริกาที่มีเทรนด์เทคโนโลยีที่ล้ำหน้าไปกว่าไทย หากปัญหาที่ไทยเราควรย้อนดูตัวเองก็คือ ภาพรวมในด้านการเมือง […]

ประเทศไทยคือรัฐศาสนา?

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ Line ID : pete1120 การที่บุคคลบางกลุ่มและรัฐไทยกำลังดำเนินการสร้างพุทธศาสนาแห่งรัฐในขณะนี้ เพื่อนำไปสู่พุทธศาสนาแบบทางการแบบที่บัญชาการโดยรัฐนั้น หากเรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นจริง ก็น่าจะพอเปรียบเทียบกับศาสนายุคล่าแม่มดในยุโรปสมัยกลางได้แทบไม่ต่างกัน นั่นคือ ใครบังอาจตีความหรือคิดเห็นต่างจากการตีความคำสอนของศาสนาโดยรัฐ (ที่ประสานงานกับศูนย์บัญชาการศาสนาที่ถูกตั้งขึ้นโดยรัฐ) ก็จะถูกลงโทษอย่างรุนแรงแบบเดียวกับผู้ที่ต้องคดีอาญา หากเป็นสถานการณ์ในเมืองไทยปัจจุบัน ต้องแปลว่า ใครเห็นต่าง (ตีความ) จากพระไตรปิฎกล่ะก็..ถือเป็นมารพระศาสนาตัวร้ายที่จะต้องถูกกำจัดโดยกระบวนการทางอาชญ วิทยากันเลยทีเดียว อาจารย์ ศ.ดร.สมภาร พรมทา เคยบอกผมว่า กว่าจะมาถึงคัมภีร์พระไตรปิฎกที่เราอ่านกันอยู่ในปัจจุบัน ต้องผ่าน”บรรณาธิการ”ผู้อยู่เบื้องหลังมาหลายชุดในหลายยุคหลายสมัย ดังนั้นถ้าคิดระยะเวลาประมาณ 2,600 ปี ย่อมนานไม่ใช่เล่น […]

นิพพาน

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ Line ID : pete1120สภาวะนิพพาน เป็นอย่างไร เป้าหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนาสภาวะนี้ จะอธิบายได้อย่างไรให้คนรุ่นปัจจุบันแบบผมแบบท่านได้เข้าใจได้โดยง่าย บางทีอาจต้องอาศัยงานศิลปะเชิงเปรียบเทียบหรืออุปมาอุปมัยมาอธิบาย จนกระทั่งผมมีโอกาสได้คุยกับ นายกสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย ธนิตย์ จิตตนุกูล (ปื๊ด บางระจัน) แน่นอนว่ามันอาจไม่ใช่แนวที่ผมพยายามอธิบายกับผู้กำกับธนิตย์ก็เป็นไปได้ นิพพานเป็นจริงได้ แต่ก็อาจไม่ใช่แบบเดียวกับจินตนาการของผมก็ได้ ในยุคร่วมสมัยพุทธทาส คือผู้ที่แสดงให้เห็นแล้วว่า พยายามนำเอานิพพานมาอธิบายให้เป็นประดุจสภาวะธรรมดา จากแต่เดิมที่พวกเราชาวพุทธมักคิดหรือมักจินตนาการเอาว่า มันเป็นสภาวะสูงส่งยิ่งที่มนุษย์ธรรมดาอย่างเราๆ ท่านๆ ไม่สามารถเอื้อมถึง ภพ (being) ยังคงไหลต่อไปอีกนานหลายแสนกัป อสงขัย […]

Minimalism

มินิมอลลิสม์ (Minimalism) หรือ มินิมอล (Minimal) เป็นคำที่คนส่วนใหญ่เริ่มได้ยินมากขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงระยะหลังๆ มานี้ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งกระแสสังคมที่หลายคนรับเข้ามาใช้ในการดำเนินชีวิตด้านต่างๆ หลายครั้งที่เมื่อพูดถึงคำว่ามินิมอล ก็มักจะมีภาพจำเป็นการแต่งกาย การตกแต่งบ้านแบบสไตล์ของชาวญี่ปุ่น หรือรูปแบบสินค้าแบรนด์ต่างๆ ความจริงแล้ว “มินิมอล” ที่เราเห็นอยู่ในงานดีไซน์สินค้านั้น กลับเป็นเพียงการประยุกต์เอาหลักการพื้นฐานของมินิมอลมาใช้ มินิมอล มาจากไหน แท้จริงคืออะไร มินิมอล (Minimal) หรือ มินิมอลลิสม์ (Minimalism) เป็นกระแสหนึ่งของกลุ่มศิลปินในช่วงต้นทศวรรษที่ 1960 กระแสนี้เกิดจากความเบื่อหน่ายกับกระแสงานศิลป์แบบ Abstract Expressionism […]

การศึกษาพันธุ์ไดโนเสาร์

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ นาย ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ บอกว่า การเด็กไทยได้คะแนน PISA (Programme for International Student Assessment/การประเมินของกลุ่มประเทศ OECD) ด้านการอ่านน้อยลง กระทรวงต้องมีการปรับปรุงให้มีทักษะการอ่านและวิเคราะห์ได้มากขึ้น (https://www.voicetv.co.th/read/EOEXXIb2y) ผมเห็นด้วยครับ แต่เชื่อว่า รมว.ศึกษาธิการคงทำไม่ได้แน่นอน เพราะมันย้อนแย้งกับระบบการศึกษาของไทยที่เป็นอยู่ ณ เวลานี้ที่เน้นครูเป็นศูนย์กลางแทนที่จะเน้นเด็กเป็นศูนย์กลาง และที่ผ่านมากระทรวงศึกษาฯในรัฐบาลประยุทธ์ก็ไม่ได้ริเริ่มนโยบายอะไรใหม่ๆ ที่เป็นชิ้นเป็นอันเลย จากโปรยข่าว “ก.ศึกษาธิการ เผยผลประเมิน PISA […]

จอมยุทธ์ ชาวนา และสรรชัย

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ ผมว่า แทบไม่มีใคร “คนไทย” ในอเมริกาไม่รู้จัก “แอล.เอ.” ดินแดนที่ อรรคเดช ศรีพิพัฒน์ หรือ “พี่แตน” บรรณาธิการและเจ้าของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นของที่นั่น “สยามมีเดีย” เคยให้ความหมายกับผมว่า เป็นดินแดนแห่งตำนานคนไทย เขาพยายามกระตุ้นให้ผมนำเสนอทั้งมุมตรงและมุมกลับของบรรยากาศชุมชนวิถีคน และอะไรอีกหลายอย่าง อันเป็นการจำเพาะ แต่จนแล้วจนรอด ผมก็ยังไม่มีโอกาสที่ว่านั้น ไม่น้อยไปกว่า สมเจตน์ พยัคฆฤทธิ์ หรือ “พี่เจตน์” บรรณาธิการใหญ่ของ “เสรีชัย” ผู้ใช้ชีวิตอย่างอาจอง คร่ำหวอดอยู่กับสังคมท้องถิ่นของแอล.เอ.มาอย่างคนที่ไร้บริบทของความแปลกแยก […]

การบ้าน คำถาม และโจทย์หลักสูตรสันติศึกษา มจร.

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ ก่อนหน้านี้ผมเคยนำเสนอปัญหาของหลักสูตรสันติศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) มาสัปดาห์นี้ เนื่องจากมีความเห็นของนิสิตที่กำลังศึกษาในหลักสูตรดังกล่าว (ปริญญาเอก) มาถึงผม (ผ่านอีเมล์) จึงใคร่ขอนำความเห็นของนิสิตในหลักสูตรสันติศึกษาของมจร. ในปัจจุบันมานำเสนอเพื่อไม่ให้ขาดตอน นัยหนึ่งเพื่อสื่อถึงผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการหลักสูตรดังกล่าวอีกด้วย อีกนัยหนึ่งการจัดหลักสูตรดังกล่าว อาศัยงบประมาณผ่านกลไกของรัฐซึ่งมีประชาชนอย่างผู้เขียน เราๆ ท่านๆ เป็นผู้สนับสนุน อย่างไรก็ตามผู้เขียนจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเก็บชื่อนิสิตคนนี้ไว้เป็นความลับเพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนการศึกษาของเขาในสถาบันแห่งเดียวกันนี้ ผู้เขียนเองต้องขอขอบคุณ นิสิตคนเดียวกันที่กล้าเปิดเผยตนนำเสนอความเห็น เพื่อการพัฒนาสถาบันสันติศึกษา มจร.ให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ ข้อความของท่านนิสิต หลักสูตรสันติศึกษา มจร. มีดังนี้ครับ ผมได้อ่านบทความ 2 เรื่องที่อ่านอาจารย์เขียน คือ […]

รับมอบคอมพิวเตอร์จาก บริษัท เอ็ม เอ็ม ซี ฮาร์ดเมทัล (ประเทศไทย) จำกัด

วันที่ 21 พฤษภาคม 2562  ในนามตัวแทน มูลนิธิการศึกษาเพื่อเสรีภาพ ได้รับมอบคอมพิวเตอร์ จำนวน 5 ชุด (ในโครงการ Computer for kid)  สภาพพร้อมใช้งาน  ไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว มูลนิธิฯ  ขอขอบคุณ คุณโศรยา บริษัท เอ็ม เอ็ม ซี ฮาร์ดเมทัล (ประเทศไทย) จำกัด  ในความอนุเคราะห์ของท่านเป็นอย่างยิ่ง วีรวัฒน์ โสภณธนกุล กรรมการมูลนิธิฯ […]

ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนบางคูรัด

ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนบางคูรัด ต.บางคูรัด อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี Bang Khu-rad learning Center/Bang Khu-rad Model มูลนิธิการศึกษาเพื่อเสรีภาพ (EFF) 3/10 หมู่ที่ 8 ตำบล บางคูรัด อำเภอ บางบัวทอง จังหวัด นนทบุรี 11110 โทร 0989797416 มูลนิธิการศึกษาเพื่อเสรีภาพ (The Education for Freedom foundation-EFF) […]

แค่เห็บที่หลุดร่วงจากตัววัว

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ ตามข่าว พากันลาออกบางคน สำหรับกรรมการสภามหาวิทยาลัยบางแห่ง และองค์การมหาชนอื่นๆ เช่น สปสช. เป็นต้น นับเป็นสภาพที่น่าเวทนา สมเพท อย่างมากที่คนดีเหล่านี้ต้องประสบชะตากรรมอันเนื่องมาจากกฎหมายปปช.ที่บังคับให้เจ้าหน้าที่ในระดับบริหารขององค์กรมหาชนเหล่านี้ต้องยื่นแสดงทรัพย์สินต่อสำนักงานปปช. หน่วยงานกลางตรวจสอบทุจริตและประพฤติมิชอบราชการไทย มิหนำซ้ำ คนที่ออกกฎหมายนี้ อย่างนายมีชัย ฤชุพันธ์ ด้วยซ้ำ ที่ชิงลาออกจากองค์กรที่ตัวเองเป็นกรรมการอยู่ก่อน ด้วยเหตุนี้จึงไม่อาจกล่าวว่า มันเป็นสภาพที่น่าสังเวช สมเพทเวทนาอย่างยิ่ง ในส่วนของการตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินของกรรมการและผู้บริหารมหาวิทยาลัยนั้น ตามที่ผมเคยเขียนไปในคอลัมน์นี้ ในต่างประเทศ เช่น ในสหรัฐอเมริกา แคนาดา ถือเป็นเรื่องปกติและกระทำกันผ่านสื่อออนไลน์ด้วยซ้ำ กล่าวคือ […]

เพราะฉ้อฉลจึงต้องตรวจสอบผู้บริหารมหาวิทยาลัยไทย

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ ทุกอาชีพในอเมริกา ต้องโดนตรวจสอบทรัพย์สิน ไม่เว้นแต่อาชีพตุลาการในระดับต่างๆ ที่ต่างก็ล้วนมีที่มาซึ่งยึดโยงกับประชาชนหรือสนามการเลือกตั้งเช่นเดียวกับนักการเมืองทั่วไป ในระบบอเมริกัน ภาพของความเป็นนักการเมืองกับตัวแทนของวิชาชีพแขนงต่างๆ จึงแยกไม่ออก เพราะนักการเมือง คือประชาชนแม้จะเป็นในนามของตัวแทนก็ตาม น่าสนใจว่าในอเมริกาเองก็มีการกฎหมายตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินของนักการเมืองอเมริกันเช่นเดียวกันกับกฎหมายของไทย มีการดำเนินการกันก่อนที่กฎหมายการเปิดเผยบัญชีทรัพย์สินของนักการเมืองในเมืองไทยจะเกิดเสียอีก นักการเมืองอเมริกันจะต้องแจ้งบัญชีทรัพย์สินรายรับ รายจ่าย เพื่อรายงานให้สาธารณะทราบอย่างเปิดเผย ไม่ต่างจากบุคคลที่เป็นเจ้าหน้าที่ในระดับสูง ที่ทำงานในหลายหน่วยงานของรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่น ที่มีหน้าที่แจ้งทรัพย์สิน หรือไม่ก็บัญชีรายรับ-รายจ่ายให้รัฐและสาธารณะทราบเช่นกัน รวมถึงองค์กรที่เรียกว่า มหาวิทยาลัย (University, College) ที่กฎหมายของแต่ละรัฐกำหนดให้มีการเปิดเผยรายรับ-รายจ่าย ทั้งในส่วนของบุคคลที่เป็นผู้บริหารเจ้าหน้าที่ที่ทำงานในสถาบันการศึกษาและตัวสถาบันการศึกษาเอง แปลว่า ผู้บริหารของมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา เช่น อธิการบดี  […]

ความล้มเหลวในการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทในอเมริกา

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์   อดีตสันติกโรภิกขุ หรือ Robert David Larson ชาวอเมริกัน  ผู้ก่อตั้งเครือข่ายพุทธศาสนิกสัมพันธ์เพื่อสังคม (INEB) พูดถึงความเป็นไปในวงการพุทธศาสนาของไทยได้บางตอนเด็ดๆ   อย่างเช่น  “เพราะไปให้ความสำคัญกับพรหมจรรย์เกินไป โดยที่คนมาบวชส่วนใหญ่ไม่ตั้งใจจะถือพรหมจรรย์ด้วย ผม (สันติกโร) มั่นใจว่า พระ(ไทย) 95% ถ้าแต่งงานได้ก็ไม่ปฏิเสธ” นี่เขาพูดไว้อย่างนี้  ถือว่าเป็นประเด็นร้อนแรงมากในห้วงเวลานั้น  แค่เพียงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และผมก็คิดว่าประเด็นดังกล่าว มันยังคงร้อนแรงมาแม้จนกระทั่งถึงตอนนี้  ด้วยเหตุที่สถานการณ์ทางด้านพระศาสนาอยู่ในขั้นเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ทั้งในไทยและนอกประเทศ โดยเฉพาะเมื่อกระแสความสนใจในหมู่ชาวตะวันตก อย่างชาวอเมริกันเพิ่มจำนวนมากขึ้นทุกวัน […]

ในวันที่โลกไร้มหาวิทยาลัย

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์  สัญญาณที่กำลังบอกว่ามหาวิทยาลัยจะเป็นเหมือนฟิล์มถ่ายรูป ไม่ก็เป็นเหมือนสื่อกระดาษ (สิ่งพิมพ์) มาแรงยิ่ง เมื่อมหาวิทยาลัยมนอเมริกาหลายแห่งตกอยู่ในสภาพที่อเน็จอนาถ ขนาดทุกบักโกรก เนื่องจากมีผู้เรียนในระดับอุดมศึกษาน้อยลงกว่าเดิมมาก สถานการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นทั่วประเทศอเมริกา เหตุผลของสถานการณ์ความเสื่อมของมหาวิทยาลัยในอเมริกา ดูเหมือนไม่ได้มาจากการลดลงของจำนวนประชากรของประเทศเพียงอย่างเดียว แต่ยังเกิดจากการก่อเกิดขึ้นของโลกดิจิตัล ที่เป็นตัวการตัดตอนความรู้ในห้องเรียนออกไปยังข้างนอก ดังมีตัวอย่างแม้แต่การศึกษาในระดับปฐมวัยของ Khan academy  เกิดขึ้นและได้รับการสนับสนุนด้านทุนจาก Bill Gates แห่งบริษัทไมโครซอฟท์ โดยที่ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องใช้พื้นที่โรงเรียนในรูปแบบเดิมอีกต่อไป หรือว่าโลกอนาคตจะไม่มีโรงเรียนหรือสถานศึกษาแบบเดิมๆ ที่เราเคยเห็นกันอีกต่อไป โดยเฉพาะสถาบันการศึกษาแบบมหาวิทยาลัยที่มีโอกาสที่จะปลาสนาการไปได้มากที่สุด เพราะการศึกษาในระดับอุดมศึกษาเป็นการศึกษาขั้นปลายที่ผู้เรียนต่างโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว มีพื้นฐานการเรียนมาก่อนแล้ว สามารถอ่านออกเขียนได้ เมื่ออ่านออกเขียนได้ย่อมมีโอกาสศึกษาต่อเนื่องได้โดยตัวของพวกเขาเอง โดยไม่ต้องพึ่งสถาบันการศึกษากระแสหลัก […]

การศึกษาเพื่อเสรีภาพ : สถาบันการศึกษาแบบ 4.0

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ หลังจากผมนำเสนอปัญหาสถาบันการศึกษาไทยในยุคสมัยใหม่ หรือยุค 4.0 โดยเฉพาะสถาบันอุดมศึกษา คือมหาวิทยาลัยของไทยที่ส่ออาการอยูในขั้นวิกฤต ไปได้ไม่นานก็ท่านผู้อ่านบางส่วนตั้งคำถามว่ารูปแบบของสถาบันการศึกษาไนอนาคตควรเป็นอย่างไร จึงจะเหมาะกับยุคสมัยการสื่อสารแบบ 4.0 ผมคิดว่า ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนหรือ The Learning Center for Communities คือรูปแบบที่เหมาะสมหรือสามารถเป็นคำตอบต่อการวางระบบหรือวางโครงสร้างการศึกษาสมัยใหม่ได้ ระบบการศึกษาในปัจจุบันไม่เพียงจำกัดพื้นที่อยู่แต่ในโรงเรียนเท่านั้น แต่มันคือการเอาชุมชนมาเป็นตัวหลักในการจัดการการศึกษาตามวิถี 4.0 เข้ากับลักษณะทางสังคมยุคปัจจุบันที่คนสามารถหาความรู้จากสื่อต่างๆ ที่มีอยู่อย่างมากมายได้สะดวกมากขึ้น พูดง่ายๆ คือ เด็ก เยาวชนและประชาชนสามารถเข้าถึงสื่อได้ง่ายขึ้น โดยแทบไม่ต้องพึ่งสถาบันการศึกษา อย่างโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยแบบเดิมๆ อีกต่อไป […]

รับบริจาคคอมพิวเตอร์

  มูลนิธิการศึกษาเพื่อเสรีภาพ(EFF ) มีความประสงค์รับบริจาคคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (Desk top) และคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คจำนวนมากเพื่อบริจาคต่อให้กับสถานศึกษาและโรงเรียน และโรงเรียนพระปริยัติธรรมที่ยังขาดแคลนคอมพิวเตอร์ทั่วประเทศ  ท่านใด หน่วยงานใดหรือองค์กรใด มีคอมพิวเตอร์มือสอง (used computer)ที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว หรือมีการเปลี่ยนเครื่องประจำปี (Rotation) หรือมีเกินจำนวน ประสงค์จะบริจาคคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาของนักเรียนโรงเรียนที่ขาดแคลน ที่มาโครงการ: (ขอความกรุณาเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ยังใช้งานได้นะคะ เครื่องเสีย ใช้งานไม่ได้ ไม่รับค่ะ) ขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ