สาธารณรัฐ (Thailand Republic)

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ น่าสนใจว่า รีพับบลิค (republic) หรือการปกครองแบบสาธารณรัฐ ที่ฝ่ายจารีตของไทยตั้งข้อกล่าวหา ข้อรังเกียจชิงชัง แลอาจถือถึงขั้นกล่าวหาว่า มันเป็นระบบซึ่งจะนำไปสู่การแบ่งแยกประเทศออกเป็นเศษเป็นเสี้ยวไม่ขึ้นต่อกัน  แล้วกรุงเทพก็จะเสียอำนาจการปกครอง การตั้งข้อกล่าวดังกล่าวนี้ เกินจริงไปหรือไม่อย่างไร ในขณะที่หลายประเทศในโลกต่างก็ปกครองแบบสาธารณรัฐกันจำนวนมาก เช่น สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส รัสเซีย อินเดีย เนปาล ฯลฯ แปลว่า รีพับบลิคย่อมมีอะไรดี แต่ไฉนมันจึงไม่เหมาะสมกับประเทศไทย?? แม้ไม่อาจเทียบได้ แต่ผู้เขียนกลับมองเห็นว่า การกระจายอำนาจการปกครองส่วนท้องถิ่นของไทยที่กำลังเป็นไปอย่างล่าช้ามากตอนนี้นั้น ไม่ว่าเราจะใช้คำว่า จังหวัดจัดการตนเองเหมือนที่ชำนาญ จันทร์เรืองใช้หรือไม่ก็ตาม […]

ว่าที่นายกอบจ.น่าน “ธนโชติ ยั่งชุตพงศ์” : รัฐราชการคือปัญหาของท้องถิ่น

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ ขณะที่ปี่กลองการเมืองท้องถิ่นคึกคักทั่วประเทศ แม้ว่าน่านจะเป็นจังหวัดเล็กๆ ทางภาคเหนือ (ล้านนาตะวันออก)ก็ตาม แต่น่านก็ไม่ต่างจากจังหวัดอื่นๆ ที่ซึ่งสมรภูมิการเมืองกลับกำลังเดือดปุดๆ เช่นเดียวกัน ในปีนี้มีแคนดิเดท นายกอบจ.น่านถึง 5 คนด้วยกัน หนึ่งในนั้น คือ “นายธนโชติ ยั่งชยุตพงศ์” ผู้สมัครอิสระการเมืองท้องถิ่นของ จ.น่าน แนวคิดของธนโชติถ้าเทียบกับแคนดิเดทคนอื่นๆ ของจังหวัดน่าน จัดว่าเขาอยู่ในกลุ่มการเมืองก้าวหน้าและมาแบบ “ลุยเดี่ยว”ซึ่งก็ได้สร้างความประหลาดไม่น้อยในบรรดาคู่แข่งทางการเมืองของเขา รวมถึงประชาชนชาวจังหวัดน่านที่รอลุ้นผลการเลือกตั้งกันอยู่ในเวลานี้ ปูมหลังของธนโชตินั้น เขาเป็นชาติพันธุ์ (ไทยม้ง) เป็นลูกแม่น่านตัวจริงและดั้งเดิม เป็นอดีตอาจารย์วิทยาลัยเทคนิคน่าน การเป็นชาติพันธุ์หรือชนกลุ่มน้อยนี้เอง […]

ชลน่าน(ศรีแก้ว) : ยุทธศาสตร์เสื้อโหลกับการพัฒนาจ.น่าน

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ ในฤดูกาลท่องเที่ยวที่พีคสุดคือหน้าหนาวนี้ น่าน คือจังหวัดหนึ่ง ที่มีตัวเลขนักท่องเที่ยวเดินทางไปท่องเที่ยว อย่างน่าสนใจยิ่ง จากข้อมูลของ ททท.น่าน เดือนมกราคมถึงกันยายน 2562 มีผู้เยือนจังหวัดน่าน ประมาณ 696,000 คน/ครั้ง ลดลงจากปี 2561 ในช่วงเดียวกัน ร้อยละ -0.14 ยังคงรักษาตำแหน่งเดิมเป็นลำดับที่ 58 ของประเทศ มีรายได้จากการท่องเที่ยว ประมาณ 2,081.37 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2561 ในช่วงเดียวกัน […]

มุกหนังเดียวอำพระ สะท้อนอะไร?

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ Line ID : pete1120 กรณี “หนังน้องเดียว”หรือชื่อจริง นาย บัญญัติ สุวรรณแว่นทอง นายหนังตะลุงชื่อดังของภาคใต้ในช่วงสองสามเดือนที่ผ่านมา ถูกประชาทัณฑ์และสังฆาทัณฑ์ แถวจังหวัดภาคใต้ตอนกลาง เช่น จังหวัดสงขลา และจังหวัดตรัง กรณีเล่นมุกแซว (อำ)พระสงฆ์ ( https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_3000029) มีข้อสะท้อนถึงอะไรบ้างในแง่การศึกษาและการประเมินทัศนนิยมของคนภาคใต้ในด้านต่างๆ เช่น ด้านการเมือง ด้านเศรษฐกิจและด้านสังคม น่าสนใจว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นดังกล่าวมีนัยแห่งอำนาจนิยมที่เกิดจากสาเหตุุทางวัฒนธรรมเฉพาะภูมิภาคหรือไม่? โดยเฉพาะในช่วงที่การเมืองไทยมีลักษณะเด่นเชิงอำนาจนิยมเฉกเช่นการปกครองรัฐไทยเวลานี้ หนังน้องเดียวดังอยู่ในภาวะจำเลยของสังคมไปกระนั้นแล้วหรือ? การรุมสกรัม/สหบาทา หนังน้องเดียวของทั้งจากพระทั้งจากฆราวาสเกิดขึ้นเพราะอะไร […]

รีพับลิกัน/เดโมแครตในทัศนะของพีร์

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ Line ID : pete120 มีคนถามผมว่า ระหว่างพรรครีพับลิกันกับเดโมแครตซึ่งเป็นพรรคการเมืองของอเมริกัน พรรคใดเป็นอนุรักษ์นิยม (conservative) พรรคใดเป็นเสรีนิยม (Liberal) นับเป็นคำถามที่ชวนท้าทาย เพราะผมคิดว่าคนไทยส่วนใหญ่ อาจเข้าใจว่า พรรคเดโมแครต เป็นตัวแทนของฝ่ายเสรีนิยมก้าวหน้า ขณะที่รีพับลิกันซึ่งอีกชื่อหนึ่งคือ GOP หรือ Grand Old Party นั้นเป็นตัวแทนฝ่ายอนุรักษ์นิยม ความเข้าใจดังกล่าวไม่น่าผิด แต่ก็ไม่น่าถูกเสียทั้งหมด เพราะแท้ที่จริงแล้วนั้น พรรคฝ่ายเสรีนิยมนั้นถูกอ้างโดยพรรครีพับลิกันเช่นเดียวกัน จากฐานนโยบายเปิดกว้างหรือเปิดเสรีระบบเศรษฐกิจ กล่าวคือรัฐทำหน้าที่ควบคุมระบบเศรษฐกิจให้น้อยที่สุด […]

ความจำเป็นของสนามบินพัทลุง

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์สนามบินพัทลุงยังไม่สร้าง : ภายหลังที่ผมได้เขียนบทความลงใน ประชาไท ว่าด้วยความจำเป็นที่ไทยต้องมีสนามบินขนาดเล็ก (https://prachatai.com/journal/2018/12/80254) ไปก่อนหน้านี้ มีปฏิกิริยาตอบกลับมาถึงตัวผู้เขียนจำนวนหนึ่ง ในจำนวนนั้นมุ่งไปที่การสร้างสนามบินของจังหวัดพัทลุง ส่วนหนึ่งเป็นการเรียกร้องของสมาคมผู้ประกอบการท่องเที่ยวพัทลุง ส่วนหนึ่งเป็นการเรียกร้องของประชาชนชาวพัทลุง เนื่องจากต้องการมีสนามบินใกล้บ้าน ขณะเดียวกันก็มีส่วนหนึ่งไม่เห็นด้วย เท่าที่ประมวลส่วนที่ไม่เห็นด้วย ส่วนใหญ่จะเป็นหน่วยงานภาคราชการ เช่นกรมการบินพลเรือน การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย (ทอท.) เป็นต้น เท่าที่ผมพอทราบข้อมูล ก็คือ ในสมัยรัฐบาลคสช. ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง นายกู้เกียรติ วงศ์กระพันธุ์ ได้ทำหนังสือแจ้งความจำนงค์ขอให้มีการก่อสร้างสนามบินไปยัง กรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม เพื่อให้ศึกษาวิเคราะห์ความเป็นไปได้โครงการก่อสร้างสนามบินพัทลุง […]

วิกฤติประเทศ 2563 คนแห่ลงถนน

คาดการเมืองเศรษฐกิจไทยตึงสุดในช่วงต้นปี 2563 เกิดวิกฤตการณ์มวลชนแห่ลงถนนจำนวนมาก เหตุไม่พอใจรัฐบาลประยุทธ์ แก้ปัญหาเศรษฐกิจ และปัญหาการเมืองแบบสองมาตรฐาน นักธุรกิจต่างประเทศส่วนใหญ่ชะลอการลงทุนในไทย ทำให้เศรษฐกิจไทยไม่โตแถมมีแต่ทรุด เนื่องจากไม่ไว้ใจสถานการณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจ โดยคาดการณ์กันว่า ประเทศไทยจะเกิดปัญหาแบบเดียวกับที่เคยเกิดในประเทศฟิลิปปินส์สมัยอดีตประธานาธิบดีมาร์กอส ดร.วีระพงษ์ รามางกูร ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจและอดีตรองนายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการเวคอัพไทยแลนด์ วอยซ์ทีวี (https://youtu.be/NXWoyLqtiMM)เหตุการณ์ที่สำคัญที่จะเกิดขึ้นคือการลงถนน เพื่อประท้วงรัฐบาลครั้งใหญ่จะเกิดขึ้น เนื่องจากแรงกดดันทางด้านการเมือง และเศรษฐกิจ ความขัดแย้งที่ดำรงอยู่ระหว่างสองฟากการเมืองของไทยในช่วงราว 6-8 ปีที่ผ่านมาไม่ได้รับการแก้ไข เกิดระบบสองมาตรฐานที่ชัดเจน คนในเมืองหรือในกรุงเทพ ได้เปรียบหรือเอาเปรียบคนในต่างจังหวัดทั้งที่เป็นคนกลุ่มน้อย ระบบการปฏิบัติแบบสองมาตรฐานไม่ถูกทำให้หายไป ทั้งนี้คาดว่าความขัดแย้งจะบานปลายส่งผลกระทบต่อทุกสถาบันที่สำคัญของประเทศ เพราะความกดดันที่อัดอั้นสะสมมานานหลายปี จนเชื่อว่า […]

คนจน พุทธศาสนาและภาวะผู้นำ

ชาญณรงค์  บุญหนุน ได้ข่าวว่า ผู้นำของไทยปัจจุบันท่านอวดตัวว่าปกครองตามหลักการในพระไตรปิฎก ผมจึงอยากโหนกระแสโดยนำงานวิจัยที่ศึกษาค้นคว้าไว้มานำเสนอสักหน่อยเพื่อเราจะได้ทำความเข้าใจสิ่งที่ผู้นำของไทยเรานำมาอ้างให้ชัดเจนขึ้น เรื่องที่จะเสนอในที่นี้เป็นเนื้อหาส่วนหนึ่งในงานวิจัยชื่อ “ความมั่งคั่ง วินัย นิพพาน” ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในหนังสือ “เศรษฐศิลป์ : ผู้นำกับโลกแห่งวัตถุ ในปรัชญาตะวันออก”[1] โดยนำเนื้อหาบางส่วนมาปรับปรุงเผยแพร่เผื่อจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจแนวคิดทางปรัชญาของพุทธศาสนาเกี่ยวกับภาวะผู้นำกับการจัดการเศรษฐกิจของรัฐ เนื่องจากมีสมมติฐานว่า ภาวะผู้นำแสดงออกผ่านความสัมพันธ์ที่ผู้นำกระทำต่อโลกของวัตถุ โดยเฉพาะในเรื่องการจัดการทรัพย์สินส่วนตัวและทรัพย์สินส่วนรวม เพื่อสนองตอบต่อชีวิตของตนและผู้อื่นอย่างเหมาะสม ยุติธรรม ถูกต้อง ทั้งในบริบทของรัฐ สังคม ครอบครัว บทความนี้จึงจะกล่าวถึง (1) ความสำคัญของโลกแห่งวัตถุ (ทรัพย์สิน ความมั่งคั่ง) ที่มีต่อชีวิตส่วนตัวและชีวิตทางสังคมของมนุษย์ […]

ผมกับ“แคธลีน ทาวเซนด์ เคนเนดี้ ”

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ ผมเจอกับแคธลีน  ทาวเซนด์ เคนเนดี้ ในงานประชุมแคนดิเดทประธานาธิบดีพรรคเดโมแครต (Democratic National Convention) ตอนนั้น คือ “อัล กอร์” ที่สเต็ปเปิล เซ็นเตอร์ นครลอสแองเจลิส ปี 2000 ตอนนั้นเธอมาร่วมงาน DNC ผมเป็นสื่อมวลชนที่แอล.เอ. และเพิ่งรับบัตรนักข่าวจาก LAPD ได้ไม่นาน จึงเดินเข้าออกงานได้สบายบื๋อ เคนเนดี้ในฐานะรองผู้ว่าการรัฐแมรี่แลนด์เมื่อ 10 กว่าปีมาแล้ว ดูสดใสร่าเริง ยิ้มกว้าง […]

ผมกับแนนซี่ เปลอสซี่

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ ผมเจอแนนซี่ เปลอสซี่ ที่ แคปปิตอล ฮิลล์ วอชิงตันดี.ซี. เมื่อหลายปีมาแล้ว ผมและเธอ เรามาจากแถวซานฟรานซิสโก แคลิฟอร์เนีย เหมือนกัน ผมมาจากเซ้าท์ซานฟรานฯ คือ เมืองซานโฮเซ่ (ซิลิคอนวัลเลย์) ในวัย 69 เปลอสซี่ (Nancy Pelosi) ยังดูเข้มแข็งสำหรับการปฏิบัติงานในฐานะประธานสภาล่าง (Speaker of the House) ในตอนนั้น ซึ่งเธอก็คือประธานฝ่ายส.ส.อเมริกัน House […]

ทำไมต้อง…สาธุ

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ ง่ายนิดเดียว เมื่อมีใครพูดถึงอะไรสักอย่าง เราเห็นด้วย แล้วเราพูดคำว่า สาธุ สาธุ และสาธุ มากไปกว่านั้น แม้เราจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยก็ตาม แต่เรามักจะพูดว่า สาธุ อยู่ดี แม้ประเด็นหรือข้อความนั้นยังไม่ได้ถูกพิสูจน์ว่าเป็นจริงหรือถูกต้องแต่อย่างใดก็ตาม และในกรณีหลังนี้ อาจกล่าวได้ว่า ผู้พูดคำว่า “สาธุ” ได้ตกไปอยู่ในร่องตรรกะแบบอำนาจนิยมแบบเบ็ดเสร็จ เสร็จสรรพ เพราะความไร้ร่องรอยหรือปราศจากหลักฐานแห่งการตั้งคำถาม ต่อประเด็นหรือวาทกรรมที่พวกเขาสาธุนั้น และหากจะยกให้วัฒนธรรมไทยเป็นวัฒนธรรม “สาธุนิยม” ก็คงไม่ผิดนัก “สาธุ”ที่มีความหมายว่า “ดีแล้ว” เราจะพบเห็นได้ทั่วไป ยิ่งในยุคโซเชี่ยลมีเดียอย่างในปัจจุบัน […]

จน เจ็บ โง่ : ความล้าหลังวังเวงของคนใต้ในปัจจุบัน

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์   ต้องโทษใครหรือไม่กับการหยุดนิ่งของการพัฒนาภาคใต้ ราว 3 ทศวรรษ หรือมากกว่า 30 ปี ที่ไม่เคยปรากฏเมกกะโปรเจคท์การพัฒนาเศรษฐกิจใดๆ เลย มีแต่ซ่อนปัญหาอันหมักหมมบรมชาติ นั่นคือปัญหาที่เกิดขึ้นนี้เนิ่นนานเสียเหลือเกิน และยังปรากฏให้เห็นจนวันนี้ ขณะที่อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์  นายชวน หลีกภัย ไปได้แค่ “วิสัยทัศน์โบกี้รถไฟ” จากตอนที่เขากล่าวถึงความปรารถนาของเขาเองในงานปาร์ตี้ของสมาคมชาวตรังกรุงเทพเมื่อไม่นานมานี้ เขาต้องการให้ประชาชนคนใต้นั่งรถไฟโบกี้ใหม่ สะอาดๆ ภาพมันก็เลยขัดแย้งกับภาพขี้เยี่ยวบนรางรถไฟที่ดำรงมานานนับศตวรรษอย่างไม่มีการเปลี่ยนแปลง นักการเมืองประชาธิปัตย์เป็นแบบเดียวกับนายชวนทุกคนล่ะหรือ? ส่วนใหญ่ น่าจะเป็นอย่างนั้น การยึดครองภาคใต้ของนักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์มาอย่างยาวนานหลายปี แบบอย่างเสาไฟฟ้า ทำให้คนใต้ขาดพลวัตรในแทบจะทุกด้าน […]

ปิศาจของการเมืองไทยโผล่หลังเลือกตั้ง

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ “จะเกิดอะไรขึ้นกับการเมืองไทยภายหลังจากการเลือกตั้งกุมภาพันธ์ปีหน้า?” คือ คำถามส่วนหนึ่งที่ผมได้รับจากเพื่อนอเมริกันที่สนใจการเมืองไทย อย่างน้อยอเมริกันชนเหล่านี้ก็มีบริบทของความสัมพันธ์กับเมืองไทยไม่ด้านใดก็ด้านหนึ่ง เช่น เคยเดินทางไปเมืองไทย เคยอาศัยอยู่เมืองไทย หรือมีภรรยาเป็นคนไทย ฯลฯ ผมตอบพวกเขาเหล่านั้นไปว่า ผมจนปัญญาที่จะคาดการณ์ เพราะอะไรๆ ต่างๆ ล้วนไม่เที่ยงแท้แน่นอน ยิ่งการเมืองด้วยแล้ว เป็นเรื่องจับให้มั่นคั้นให้ตายไม่ได้มากที่สุดในบรรดาเรื่องราวหลากหลายในโลก เพราะการเมืองเป็นเรื่องของคน เรื่องของมนุษย์ แต่อย่างน้อยสำหรับการเมืองในประเทศไทยนั้น ก็มีสิ่งผิดปกติให้เห็นอยู่ประการหนึ่งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งที่อาจจะมีขึ้นในปีหน้าก็คือการให้สัมภาษณ์ของนายดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย ที่ออกอาการร้อนตัว จนไม่อยากจะให้มีผู้สังเกตการณ์จากต่างประเทศ แน่นอนว่านักสังเกตการณ์จากสหรัฐอเมริกาส่วนหนึ่งจะเข้าไปสังเกตการณ์การเลือกตั้งในไทย ทั้งที่ตามวิสัยปกติแล้ว หากการเลือกตั้งไม่ส่อเค้าว่าจะมีการโกง รัฐบาลไทยก็ไม่ควรร้อนตัวไปกับการเข้าไปของคณะสังเกตการณ์การเลือกตั้งจากสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา […]

การเมืองหลุดโลกแบบประชาธิปัตย์

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ พิเชษฐ์ พันธุ์วิชาติกุล “ชั่วชีวิตผมที่เหลืออยู่ จะไม่มีโอกาสเห็นปชป.กลับมาเป็นรัฐบาลอีกแล้ว ผมยืนยัน” พิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล สส.กระบี่ พรรคประชาธิปัตย์และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ไปทั่วโลกแล้ว คำถามคือ ทำไมนายพิเชษฐ จึงมีความเชื่อเช่นนี้ และทำไมต้องประชาธิปัตย์ในเมื่อพรรคการเมืองนี้ อวดอ้างตนเองเสมอมาว่าพวกเขาเป็นพรรคที่มีอุดมการณ์เสรีนิยมประชาธิปไตย และโลกปัจจุบัน รวมถึงเทรนด์ของโลกปัจจุบันเป็นเสรีนิยมประชาธิปไตย มันใช่ล่ะหรือ? ก็คงจะเป็นคำถามไปยังนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์(ปชป.) อีกด้วย เพราะกว่าที่คำพูดของนายพิเชษฐ จะหลุดออกมาเขาคงผ่านการกลั่นกรองมาก่อนแล้ว ซึ่งก็หมายความว่า นายพิเชษฐ ตกผลึกทางความคิดโดยตัวของเขาเองจากประสบการณ์การเป็นผู้บริหารพรรคปชป.มายาวนานหลายปี คำถามต่อมาก็คือ […]

โมฆะบุรุษไทยจากอเมริกา

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ ห้องสมุด Clark County ลาสเวกัส รัฐเนวาดา บนถนน Flamingo ตัดกับ Eastern Ave. คือที่สถิตย์ของผมเมื่อหลายปีก่อน อาคารอันโอ่โถงถูกสร้างไว้อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยสวยงามตามแบบอย่างศิลปะฮีสแปนิกส์ อาคารทรงสเปน ท่ามกลางบรรยากาศเงียบสงบ เข้าไปคุณจะเห็นแซคชั่นสื่อคอมพิวเตอร์หรือ E-library ก่อนอื่น อยู่รอบๆ เค้าน์เตอร์เจ้าหน้าที่ห้องสมุดที่เป็นพนักงานประจำ บรรยากาศของห้องสมุดแห่งนี้ช่างตัดกับบรรยากาศ ลาสเวกัสสตริพ ดุจดังฟ้ากับเหว คือในขณะที่ลาสเวกัสเป็นเมืองโลกีย์ แต่ห้องสมุดเป็นเสมือนศูนย์รวมหรือแหล่งวิชาการ แค่นี้ก็มากพอทำให้เกิดภาพตัดกันอย่างมีนัยสำคัญ เพราะนอกจากสถาบันวิชาการหลักในเมืองบาปแห่งนี้ อย่าง UNLV […]

ตรรกะวิบัติเรื่องครอบงำพรรคการเมือง

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ ขอเดาว่า การที่พรรคการเมืองของไทย เช่น กรณีพรรคเพื่อไทย ถูกกล่าวหาว่าถูกครอบงำจากทักกี้ ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งขณะนี้ลี้ภัยอยู่ในต่างประเทศนั้น อาจเป็นเพราะทักกี้มีส่วนในการก่อตั้งพรรคเพื่อไทย กล่าวคือมีสายสัมพันธ์ที่ยาวนานกับพรรคเพื่อไทย อดีตสส.หรือลูกพรรคของพรรคเพื่อไทยเดินทางไปหาทักกี้ในต่างประเทศเทศก็หลายครั้ง แต่กระนั้นเนื้อหาของการครอบงำพรรคเพื่อไทยก็ยังกลายเป็นหัวข้อที่ถกเถียงกันมิรู้จบจนกระทั่งถึงตอนนี้ ทางพรรคเพื่อไทยเองก็ออกมาตอบโต้เป็นพัลวัน เพราะกลัวเป็นเหตุให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ชุดปัจจุบันที่ถูก dominate โดยคสช. นำไปเป็นเหตุแห่งการยุบพรรคเพื่อไทย โอ้….. ในทางการเมืองสากลหรือในบรรดาประเทศประชาธิปไตยทั้งหลายในโลก ใครจะมาครอบงำพรรคการเมืองหรือไม่มิใช่เรื่องที่ฝ่ายใดพึงใส่ใจ เพราะในระบอบประชาธิปไตยพรรคการเมืองเป็น เป็นของประชาชน ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของประชาชนว่าจะเลือกพรรคใดหนึ่งพรรคหนึ่งขึ้นมาบริหารประเทศหรือไม่ โดยไม่เกี่ยวกับว่า  พรรคการเมืองถูกครอบงำหรือไม่ ในสหรัฐอเมริกาอาจมีกฎหมายเกี่ยวข้องกับเงินบริจาคหรือเงินสนับสนุนพรรคอยู่บ้างเท่านั้นเอง […]

เมื่อเงาของกงจักรปีศาจเริ่มปรากฏ

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์   สิ่งที่ Michael Peel แห่งไฟแนนเชียลไทม์พูดไว้เมื่อไม่กี่ปีมานี้อาจไม่เกินไปจากความเป็นจริง เพราะมีสัญญาณอุบาทว์ทางการเมืองปรากฏขึ้น อย่างน้อยก็สัญญาณจากกองทัพบกไทยที่ฝ่ายอเมริกันต้องเก็บไปวิเคราะห์  มันก็คือ สัญญาณรัฐประหารที่ออกมาจากผู้นำกองทัพเมื่อไม่กี่วันมานี้ Peel เคยกล่าวไว้ทำนองว่า “เมื่ออำนาจเก่าไม่ยอมที่จะตาย ขณะที่อำนาจใหม่กำลังพยายามให้กำเนิด เมื่อนั้นฝูงปิศาจย่อมปรากฎ” คำกล่าวของเขาไม่เพียงเป็นแค่หลักการหรือทฤษฎีเท่านั้น หากอาจถือเป็นคำพยากรณ์ถึงชะตากรรมในอนาคตของประชาชาติไทยเอาเลยก็ว่าได้ เพราะเขาหมายถึงประเทศไทยและเคยพยากรณ์ ถูกมาแล้วในเรื่องการทำรัฐประหารของผู้บัญชาการกองทัพในตอนนั้นคือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มาดแม่นหนนี้ว่า ความขัดแย้งทางการเมืองของไทยที่ยังไม่สิ้นสุดนั้น จะโคจรเข้าสู่วงจรอุบาทว์ และเกิดอันตรายอย่างยิ่งในอนาคตอีกไม่นานหลังจากนี้ มีหลายเรื่องให้ต้องคิด  เช่น ปัญหาเศรษฐกิจหรือปากท้องที่รุมเร้าคนไทย ปัญหาความยุติธรรมเชิงโครงสร้างทางสังคม […]

จับตา“จิม เวบบ์โมเดล” ที่กำลังเกิดขึ้นในสยาม

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ เกล็น ที เดวีส์ เอกอัคราชฑูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย ไม่ว่าจะพยายามที่จะเป็นประชาธิปไตยแบบฉบับไทยๆ กันมากเพียงใดก็ตาม แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า ไทย เป็นประเทศหนึ่งในจำนวนประเทศจำนวนมากทั่วโลก และเรามีสมบัติของความเป็นมนุษย์เหมือนกับคนทั้งโลก มีเลือดเนื้อ มีความรู้สึกทุกข์ รู้สึกสุข ร้อนหนาวเหมือนมนุษย์ทุกคนบนโลกนี้ นี่คือความเป็นสากลของความเป็นมนุษย์ที่เหมือนกัน ซึ่งก็คงพิสูจน์ได้ในที่สุดว่า ความพยายามใดๆ ในการยึดกุมอำนาจประชาชน ท้ายที่สุดก็คงจะไม่เป็นผล อย่างเช่น การกระทำหรือความพยายามของคสช. ณ เวลานี้ ท้ายที่สุดก๋จะประสบกับความล้มเหลวและปลาสนาการไป ประวัติศาสตร์โลก ได้บอกกล่าวเราไว้มากกมายหากจะย้อนกลับไปดู อำนาจนิยมมิอาจอยู่ทนทาน […]

ปัญหาจากการแช่แข็ง 30 ปีพัฒนาภาคใต้ไทย : ควรได้รับการเยียวยา

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ ถ้าพูดถึงยุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย ชนิดที่เป็นแผนแม่บทการพัฒนา ในช่วงที่ผ่านมา เราจะเห็นได้ว่า ในส่วนแผนพัฒนาด้านสมุทรศาสตร์ของไทย เราไม่เคยมีแผนที่สำหรับการพัฒนาประเภทนี้เอาเลย ทั้งๆ ที่ประเทศไทยในส่วนที่เป็นแหลมลงไป คือ ภาคใต้ ถูกโอบล้อมไปด้วยทะเลหรือมหาสมุทร ด้วยเหตุนี้ทำให้ไทยเป็นประเทศที่มีความรู้ด้านสมุทรศาสตร์น้อยที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกหรือแม้กระทั่งในภูมิภาคอันดามันก็ตามแต่ ในสหรัฐอเมริกา ไม่เพียงแต่ Woods Hole Oceanographic Institution หรือ WHOI ซึ่งเป็นสถาบันด้านสมุทรศาสตร์ที่ใหญ่สุดของประเทศนี้ เป็นสดมภ์หลักในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับทะเลหรือมหาสมุทรแล้วยังมีอีกหลายสถาบันสมุทรศาสตร์ทั้งด้านฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกของสหรัฐฯ เนื่องจากพวกเขาตระหนักว่า โลกอนาคตนั้นนอกจากต้องก้าวไกลไปในอวกาศแล้ว ยังต้องก้าวไกลไปในทะเลด้วย ไม่แปลกที่มุมมองด้านความมั่นคงจาก 3 […]

หมอนรองรางยางพารา : ทางออกวิกฤตราคายาง

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ ในภาพรวมทั่วไป เชื่อว่าคงมีผู้เห็นตรงกับผมเยอะครับว่าปัญหาของราคาสินค้าเกษตรถ้าพูดกันแบบตีขลุมแล้ว เกิดจากความไร้ประสิทธิภาพของรัฐไทย เราจะเห็นว่าพอภาคเกษตรอับจน ภาคอื่นๆ ก็วิกฤตตามกันไปด้วย ทั้งนี้เพราะคนไทยส่วนใหญ่ยังประกอบอาชีพการเกษตรเป็นหลักอยู่ ปัญหาปากท้องเป็นเรื่องใหญ่ครับ ดังผมเคยนำเสนอเกี่ยวกับหลักการช่วยเหลือหรืออุ้มเกษตรกรของรัฐบาลอเมริกันไปก่อนหน้านี้ (หัวข้อ : รัฐบาลอเมริกันกับการอุ้มเกษตรกร) ว่า รัฐบาลอเมริกันเองใช้งบประมาณจำนวนมากขนาดไหนในการทำให้เกษตรกรหรือภาคการเกษตร) ของเขาอยู่ได้ ภาคเกษตรนี่แปลกอยู่อย่างครับ ไม่ว่าจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วหรือไม่ก็ตาม รัฐต้องมีบทบาทเข้าไปสนับสนุนด้านนโยบายหรือไม่ก็สนับสนุนด้านการเงินทางใดทางหนึ่งเสมอ  ดังนั้นไม่ว่าจะเป็น  ประเทศกำลังพัฒนาหรือแม้แต่ประเทศในกลุ่ม OECD ก็ไม่ต่างกันแต่อย่างใด ขึ้นกับวิธีการของแต่ละประเทศนั้นๆ ปัญหาสินค้าเกษตรในประเทศไทยเท่าที่ได้ยินจากเพื่อนๆ ญาติพี่น้องที่เมืองไทยบ่นให้ฟัง ถ้ารัฐบาลนี้จะยอมรับความจริงก็จะเห็นว่า มีปัญหาจริง มากด้วย […]