พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ ง่ายมากที่ชาวพุทธจะกล่าวหาใครๆ ว่า เขาเป็นมุสลิมและจ้องทำลายพุทธศาสนา แค่เพียงเขาคนนั้นไม่เห็นด้วยกับแนวทางการบริหารจัดการพุทธศาสนาในรูปแบบที่รัฐไทยกำลังดำเนินอยู่ในปัจจุบัน อันเนื่องมาจากเรามีพรบ.สงฆ์ และสำนักพุทธฯ นัยหนึ่งก็คือ รัฐไทยเป็น “รัฐศาสนา” (state religion) นั่นเอง เพราะรัฐไทยมีศูนย์บัญชาการศาสนามาจากส่วนกลาง ไล่เรียงเป็นลำดับลงไป (ของไทยเริ่มจากหัวคือมหาเถรสมาคม-มส.) ซึ่งประเด็นดังกล่าวนี้ น่าจะเป็นสิ่งที่ถูกหยิบยกมาพูดถึงต่อเนื่องหลังประเด็นการเรียกร้องของม๊อบเยาวชนฯ ใน 3 ประเด็นที่กำลังเข้มข้น ณ เวลานี้ มีการพูดถึงการแยกรัฐออกจากศาสนา (Secular State) เหมือนบางประเทศที่กำลังเป็นอยู่ในเวลานี้ หนึ่งในนั้นได้แก่ สหรัฐอเมริกา […]
ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสีกันบริจาคคอมให้รร.ปริยัติธรรมโพธิ์ศรี สิงห์บุรี
พระครูโพธิสุตาทร ดร. (ท่านอุดม) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสีกัน(พุทธสยาม) ดอนเมือง กรุงเทพมหานคร มอบคอมพิวเตอร์จำนวน ๒ เครื่อง พริ้นเตอร์ พร้อมเครื่องเสียงตู้ลำโพง แก่พระธีรเดช ยสชาโต (เลิศอาชวะ) เพื่อใช้ในกิจการศึกษาของคณะสงฆ์ โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญวัดโพธิ์ศรี ๑๓๒ หมู่ที่ ๘ ตำบลอินทร์บุรี อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี โดยมูลนิธิการศึกษาเพื่อเสรีภาพ (EFF) ทำหน้าที่ประสานในกิจกรรมดังกล่าว ซึ่งทาง EFF ต้องขอกราบขอบพระคุณท่านพระครูโพธิสุตาทร มา ณ […]
สันติศึกษามจร.เริ่มมาถูกทาง
พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์การถอดบทเรียนเรื่องความขัดแย้งของ พระสุธีรัตนบัณฑิต (ดร.พระมหาสุทิตย์ อาภากโร) ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) และเจ้าอาวาสวัดสุทธิวราราม กรณีการพัฒนาชุมชนทั้งที่แม่สรวย (จ.เชียงราย) และย่านถ.เจริญกรุง (กรุงเทพ) (https://youtu.be/beQ2I1-jp9w) นับว่ามีคุณค่าในแง่กระบวนการเรียนรู้ในแง่สันติศึกษาเป็นอย่างยิ่ง เพราะงานสันติศึกษาทั้งหลายเหล่ สมควรอยู่บนดิน ติดดิน อยู่กับชาวบ้านมากกว่างานศึกษาแขนงอื่นๆ จึงควรค่าแก่การนำเสนอในงาน World Peace National and International Conference ในวันที่ 31 มกราคม 2563 […]
ปัญหาโลกสวยของสันติศึกษามจร.
พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ หลักสูตรสันติศึกษาระดับปริญญาเอก ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) กำลังทำให้ชาวบ้านที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ ที่เน้นศรัทธาต่อพระสงฆ์องคเจ้าเป็นหลัก คิดว่าสันติภาพของสังคมเกิดจากการปฏิบัติตามพุทธพจน์แบบเดี่ยวๆ ที่ว่า ไม่มีอะไรสู้ความสงบสันติได้ (นตฺถิ สนฺติ ปรํ สขํ) ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด เนื่องจากผู้ประสงค์จะเข้าเรียนหลักสูตรดังกล่าว อาจไม่ได้ดูที่มาหรือองค์ประกอบของสันติภาพว่า เกิดจากอะไรบ้าง เป็นความเข้าใจที่ผู้ประสงค์จะเรียนหลักสูตรที่ว่านี้ ไม่รู้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างความสุขสงบเชิงปัจเจกกับความสุขสงบของสังคมเป็นอย่างไร เพราะหากพิจารณากันให้ดีๆ แล้ว แม้ความสุขสงบส่วนตัว จะนำไปสู่ความสุขสงบส่วนรวมก็จริง แต่องค์ประกอบของความสุขทั้งสองประเภทก็ต่างกัน ความสุขสงบส่วนตัว เป็นเรื่องปัจเจก ส่วนความสุขสงบส่วนรวมเป็นเรื่องของความสุขของสังคม ในเมื่อเป็นหลักสูตรสาธารณะ ไยจะคิดแค่ผลประโยชน์เฉพาะบุคคคล […]
นิพพาน
พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ Line ID : pete1120สภาวะนิพพาน เป็นอย่างไร เป้าหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนาสภาวะนี้ จะอธิบายได้อย่างไรให้คนรุ่นปัจจุบันแบบผมแบบท่านได้เข้าใจได้โดยง่าย บางทีอาจต้องอาศัยงานศิลปะเชิงเปรียบเทียบหรืออุปมาอุปมัยมาอธิบาย จนกระทั่งผมมีโอกาสได้คุยกับ นายกสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย ธนิตย์ จิตตนุกูล (ปื๊ด บางระจัน) แน่นอนว่ามันอาจไม่ใช่แนวที่ผมพยายามอธิบายกับผู้กำกับธนิตย์ก็เป็นไปได้ นิพพานเป็นจริงได้ แต่ก็อาจไม่ใช่แบบเดียวกับจินตนาการของผมก็ได้ ในยุคร่วมสมัยพุทธทาส คือผู้ที่แสดงให้เห็นแล้วว่า พยายามนำเอานิพพานมาอธิบายให้เป็นประดุจสภาวะธรรมดา จากแต่เดิมที่พวกเราชาวพุทธมักคิดหรือมักจินตนาการเอาว่า มันเป็นสภาวะสูงส่งยิ่งที่มนุษย์ธรรมดาอย่างเราๆ ท่านๆ ไม่สามารถเอื้อมถึง ภพ (being) ยังคงไหลต่อไปอีกนานหลายแสนกัป อสงขัย […]
คนจน พุทธศาสนาและภาวะผู้นำ

ชาญณรงค์ บุญหนุน ได้ข่าวว่า ผู้นำของไทยปัจจุบันท่านอวดตัวว่าปกครองตามหลักการในพระไตรปิฎก ผมจึงอยากโหนกระแสโดยนำงานวิจัยที่ศึกษาค้นคว้าไว้มานำเสนอสักหน่อยเพื่อเราจะได้ทำความเข้าใจสิ่งที่ผู้นำของไทยเรานำมาอ้างให้ชัดเจนขึ้น เรื่องที่จะเสนอในที่นี้เป็นเนื้อหาส่วนหนึ่งในงานวิจัยชื่อ “ความมั่งคั่ง วินัย นิพพาน” ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในหนังสือ “เศรษฐศิลป์ : ผู้นำกับโลกแห่งวัตถุ ในปรัชญาตะวันออก”[1] โดยนำเนื้อหาบางส่วนมาปรับปรุงเผยแพร่เผื่อจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจแนวคิดทางปรัชญาของพุทธศาสนาเกี่ยวกับภาวะผู้นำกับการจัดการเศรษฐกิจของรัฐ เนื่องจากมีสมมติฐานว่า ภาวะผู้นำแสดงออกผ่านความสัมพันธ์ที่ผู้นำกระทำต่อโลกของวัตถุ โดยเฉพาะในเรื่องการจัดการทรัพย์สินส่วนตัวและทรัพย์สินส่วนรวม เพื่อสนองตอบต่อชีวิตของตนและผู้อื่นอย่างเหมาะสม ยุติธรรม ถูกต้อง ทั้งในบริบทของรัฐ สังคม ครอบครัว บทความนี้จึงจะกล่าวถึง (1) ความสำคัญของโลกแห่งวัตถุ (ทรัพย์สิน ความมั่งคั่ง) ที่มีต่อชีวิตส่วนตัวและชีวิตทางสังคมของมนุษย์ […]
ห้วยโก๋น : สู่ AEC ประตูวัฒนธรรม+เศรษฐกิจไทย-ลาว-จีน
พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ ผมมีโอกาสออกไปทัวร์สปป.ลาวที่ไม่ใช่เวียงจันทน์ครั้งแรกในชีวิต เมื่อสองสัปดาห์ที่ผ่านมา(24 พย.2561) ผ่านด่านห้วยโก๋น อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน แน่นอนว่าคณะของเราเดินทางไปกันเองแบบนักเดินทางทั่วไป คือ ไม่ประสานหน่วยงานของทางการหน่วยงานใดๆ เป็นพิเศษทั้งฝั่งไทยและฝั่งลาว กระนั้นการเดินทางรูปแบบดังกล่าว กลับมีคุณูปการต่อการเปิดโลกทัศน์ จนยากจะลืมเลือน ดังเมื่ออดีตหลายปีก่อนหน้านี้ที่คณะสื่อมวลชนกลุ่มของผมเคยเข้าไปทำงาน ยังประเทศพม่า ผ่านด่านสังขละบุรี จ.กาญจนบุรี สิ่งที่เห็นได้ชัดสุดในฝั่งไทยไล่ตั้งแต่พื้นที่ อ.ทุ่งช้าง อ.เฉลิมพระเกียรติ ได้แก่ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน คือ การคมนาคม ถนนที่ดิ่งตรงไปยังด่านห้วยโก๋นกำลังถูกขยายออกเป็นเลนคู่ 4 เลน ขณะที่ทางฝังสปป.ลาว […]
เงิน กับ นิพพาน

ผศ.ดร ชาญณรงค์ บุญหนุนภาควิชาปรัชญา ม.ศิลปากร หากพิจารณาจากบริบทของพุทธศาสนา โลกของวัตถุและทรัพย์สินในโลกของฆราวาสมีความสำคัญในระดับพื้นฐานในฐานะองค์ประกอบสำคัญที่จะอำนวยให้ดำรงชีวิตอย่างมีความสุข มนุษย์เกิดขึ้นมาท่ามกลางธรรมชาติหลากหลายแต่ความต้องการของมนุษย์กลับหลากหลายและมากยิ่งกว่าจำนวนธรรมชาติที่มีอยู่ และภายใต้ศักยภาพของมนุษย์ที่แตกต่างกัน การแย่งชิงประโยชน์จากทรัพยากรระหว่างมนุษย์เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้เนื่องจากมนุษย์มีความโลภอยู่ในเรือนใจ การแบ่งปันทรัพยากรธรรมชาติที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตเพื่อกันและกันจึงเป็นอุดมคติที่พุทธศาสนาบรรจุไว้ในคำสอนเรื่องบุญกิริยาวัตถุ 3 ประการ ได้แก่ บุญที่สำเร็จด้วย “ทาน ศีล ภาวนา” แต่การจะให้การแบ่งปันเกิดขึ้นอย่างถ้วนทั่วระหว่างมนุษย์ด้วยกันในความเป็นจริงนั้นเป็นสิ่งที่ไม่อาจเกิดขึ้นได้ด้วยการพัฒนาคุณลักษณะส่วนตัวในปัจเจกบุคคลเพียงอย่างเดียวผู้นำรัฐจึงมีบทบาทสำคัญที่จะส่งเสริมให้พลเมืองมีหลักประกันว่า “ทุกคนจะมีวัตถุปัจจัยเลี้ยงชีวิตอย่างเพียงพอและเท่าเทียม” โดยผู้นำรัฐมีนโยบายส่งเสริมสนับสนุนให้พลเมืองภายในรัฐสามารถประกอบอาชีพตามความถนัดอันจะช่วยให้มีโภคทรัพย์พอหล่อเลี้ยงชีวิตของตนและผู้อื่นที่เกี่ยวข้องได้โดยไม่ละเมิดบรรทัดฐานของสังคม ภายใต้หลักความเที่ยงธรรมแห่งรัฐและมีผู้นำที่ดี ครอบครัวอันเป็นหน่วยพื้นฐานของสังคมก็จะมั่นคงและมีความสุข พุทธศาสนายังเชื่อว่า เมื่อสังคมปลอดภัย ความสุขในครอบครัวจึงอาจเป็นไปได้ ผู้นำระดับครอบครัวเป็นผู้มีบทบาทสำคัญที่จะช่วยให้สังคมโดยรวมธำรงรักษาระเบียบระบบของสังคมที่ไม่เพียงแต่จะเป็นประโยชน์สำหรับทุกคนแต่ยังเป็นประโยชน์สำหรับตัว “คหปติ” […]
พระสงฆ์กับเงินในสมัยหลังพุทธกาล

ผศ.ดร ชาญณรงค์ บุญหนุน เครดิตภาพ http://dhammawijja.blogspot.com/2016/02/blog-post_1.html โดยจารีตแห่งสงฆ์ตามพระวินัยบัญญัติ พระพุทธเจ้าไม่ทรงประสงค์จะให้ภิกษุในฐานะผู้นำทางจิตวิญญาณและจริยธรรม มีเงินหรือทองของมีค่าชนิดต่าง ๆ ไว้เป็นทรัพย์สินส่วนตัว เพราะปัจจัย 4 ที่เพียงพอแก่การเลี้ยงชีวิตสงฆ์นั้น อาจได้มาด้วยการสนับสนุนหรือบริจาคโดยฆราวาสผู้เลื่อมใส ขณะที่พุทธศาสนามีคำสอนให้พระสงฆ์แสวงหาความหลุดพ้นจากทุกข์และอนุเคราะห์ชุมชนด้วยการสั่งสอนให้เข้าถึงเป้าหมายทางศาสนา พุทธศาสนามีคำสอนเกี่ยวกับการทำบุญที่มุ่งหมายให้พุทธบริษัทเกื้อกูลกันและกันด้วยปัจจัย 4 พัฒนาสภาพแวดล้อมทางสังคมและการอยู่ร่วมกันอย่างมิตรไมตรี มีเมตตาต่อกัน ฆราวาสแสวงบุญในศาสนาด้วยการบริจาคทานเพื่อบูชาพระสงฆ์ แบ่งปันทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดเพื่ออนุเคราะห์คนอื่นที่อยู่ในสังคมเดียวกัน เพื่อว่าสังคมจะดำรงความสงบสุขและเอื้อต่อการพัฒนาปัญญา [1] สังคมพุทธบริษัทที่เกื้อกูลแบ่งปันทรัพยากรและความรู้เป็นสังคมที่พระพุทธเจ้าทรงคาดหวัง ขณะพุทธศาสนาเสนอระบบศีลธรรมที่เปิดโอกาสให้ฆราวาสได้แสวงหาทรัพย์สิน ครอบครองทรัพย์และใช้จ่ายทรัพย์สินที่หามาได้ตามใจปรารถนาโดยไม่ละเมิดครรลองของศีล (จริยธรรมพื้นทางทางสังคม) และมีโอกาสได้แสวงบุญหรือหว่านบุญทานลงในเนื้อนาบุญ (พระสงฆ์) ของศาสนา […]
บางคูลัด : ตัวอย่างความล้มเหลวของระบบผังเมืองไทย
จ้อบ วิโรจน์ศิริ คลองบางคูลัดเป็นคลองที่เชื่อมระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำท่าจีน สภาพความคดเคี้ยวด้านแม่น้ำเจ้าพระยาทำให้เห็นว่าน่าจะเป็นคลองธรรมชาติที่ถูกขุดต่อไปทางทิศตะวันตกถึงแม่น้ำท่าจีน แต่ยังค้นไม่พบข้อมูลว่าขุดขึ้นเมื่อ พ.ศ.ใด ต่อมาสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง (พ.ศ. 2172 – 2199) โปรดให้ขุดคลองลัดแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วงเมืองนนทบุรี ซึ่งมีความคดเคี้ยว การเดินทางสัญจรต้องใช้เวลานาน เมื่อขุดคลองลัดแล้ว แม่น้ำก็เปลี่ยนทางไหลเข้าคลองขุดใหม่กลายเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาสายใหม่ดังปัจจุบันนี้ ซึ่งมีความยาวประมาณ 5 ก.ม. ส่วนแม่น้ำสายเดิมที่ยาวประมาณ 21 กิโลเมตรนั้นเล็กตีบลงกลายเป็นทางน้ำอ้อม เรียกกันว่าแม่น้ำอ้อม และเมื่อถึง พ.ศ. 2208 สมเด็จพระนารายณ์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างป้อมปราการตรงปากแม่น้ำอ้อม และโปรดฯ ให้ย้ายเมืองนนทบุรีมาอยู่ปากแม่น้ำอ้อมด้วย […]
วัดกับการกระจายความมั่งคั่งให้ชาวบ้าน
พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ ข่าวเงินทอนวัด จับสึกพระสังฆาธิการระดับสูงของประเทศไทย กระฉ่อนไม่ใช่เฉพาะเมืองไทย หากแต่กระจายออกไปยังสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก ชาวพุทธในสหรัฐอเมริกาจำนวนไม่น้อยให้ความสนใจสอบถามว่าเกิดอะไรขึ้นกับพุทธศาสนาในเมืองไทย เพราะดูเหมือนประเทศไทยจะเป็นป้อมปราการด่านสุดท้ายของพุทธศาสนานิกายเถรวาทหลังจากที่พุทธศาสนานิกายเดียวกันนี้ ถูกโยกย้ายถ่ายเทมายังสุวรรณภูมิซึ่งก็คือสยามประเทศนั่นเอง แม้ว่า ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นต่างๆ นั้นจะยังไม่กระจ่างทั้งหมด เนื่องมาจากปมการเมืองหรือไม่ก็ตาม แต่ควรหรือไม่ที่เราชาวพุทธพึงหันมาประเมินใส่ใจกับท่าทีขององค์กรคณะสงฆ์ของประเทศกับความสัมพันธ์กับชุมชนหรือพูดให้เห็นภาพก็คือ สังคมที่โอบล้อมล้อมรอบพื้นที่วัด แล้วเราก็อาจจะได้ข้อสรุปเหมือนที่คาลิล ยิบราน เคยเขียนไว้ในเรื่องสั้นของเขาว่า “พื้นที่ของพระเจ้านั้นศักดิ์สิทธิ์หรือสูงเกินที่คนธรรมดาในระดับชาวบ้านจะเข้าไปสัมผัสหรือใช้พื้นที่นั้นได้” ซึ่งก็หมายความว่า ศาสนสถานนั้น หาได้มีปฏิสัมพันธ์กับคนหรือชุมชนอย่างที่ควรเป็น พระสงฆ์เองห่างเหินสังคมหรือชุมชมมากขึ้น เราอาจมีพระสงฆ์ที่มีการศึกษาทางโลกสูงขึ้น ทว่าความรู้ดังกล่าวไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับชุมชนเอาเสียเลย เป็นความรู้แบบแยกส่วนกับชุมชนหรือแยกไปจากวิถีชาวบ้าน พูดให้เห็นภาพชัดๆ ก็คือ วัดหรือพระสงฆ์ที่โออ่า […]
พุทธศาสนา…หนึ่งในตัวเชื่อมความสัมพันธ์ไทย-อเมริกา
พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ พระพุทธศาสนาเถรวาทแบบไทย เข้ามาลงหลักปักฐานในสหรัฐอเมริกาเป็นเวลาหลายสิบปี ในอเมริกาฝั่งตะวันตก(west coast) นั้นได้วัดไทยแอล.เอ. รัฐแคลิฟอร์เนีย เป็นสดมภ์หลักในการเผยแผ่พระธรรมคำสอนขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นวัดไทยที่มีลักษณะแบบเป็นทางการมากที่สุด นั่นคือ เป็นวัดรูปแบบตามแบบอย่างเมืองไทยอย่างชัดเจน โดยเฉพาะในด้านสถานที่และสถาปัตยศิลป์ เมื่อเทียบกับวัดไทยในสถานที่อื่นๆ ในอเมริกา โดยที่วัดไทยจำนวนหนึ่งอยู่ในสภาพของการใช้บ้านเรือนเป็นสถานที่ทำการในฐานะวัด หรือพูดง่ายๆ ก็คือ พระสงฆ์ใช้“บ้าน”เป็นที่พักปฏิบัติศาสนกิจนั่นแหละ ซึ่งสำหรับในอเมริกาแล้วเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องปกติธรรมดา อย่างที่ทราบกันดีว่า ขนบธรรมเนียม วัฒนธรรมความเป็นอยู่ของฝรั่งอเมริกัน ไม่เหมือนกับของคนไทย นอกจากวัฒนธรรมแล้ว ก็เชื่อมโยงไปถึงข้อกฎหมาย วัดในอเมริกามีฐานะเป็นนิติบุคคลเหมือนองค์กรนิติบุคคลโดยทั่วไป ดังนั้นการดำเนินกิจกรรมใดๆ ก็ตามต้องเป็นตามทบัญญัติแห่งของกฎหมายของรัฐต่างๆ ที่วัดนั้นตั้งอยู่ […]