คองเกรสจับตาการเมืองไทยเป็นพิเศษ

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ Line ID : pete1120 “ชะตากรรมของคนไทยในไม่ช้าจากนี้จะเป็นอย่างไร?” คือคำถามที่ผมได้ยินจากเพื่อนอเมริกัน ที่มีนิวาสสถาน ณ เมืองอาร์ลิงตัน เวอร์จิเนีย ตอนเราแชทกันบนโลกโซเชี่ยล หลังจากที่เขาเห็นปรากฎการณ์บางอย่าง ขณะที่โดยแท้จริงแล้วเขาคือนักจับตามองความสัมพันธ์ระหว่างไทย-สหรัฐฯ มาอย่างยาวนานหลายสิบปี ผมจะตอบอย่างไรได้ เขาเสียอีกที่มองอะไรได้ชัดเจนกว่าผม ในฐานะคนนอก ผมซึ่งอยู่วงในยังไม่สามารถมองภาพได้ชัดเท่าเขา ในช่วงที่ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหรัฐฯ ตึงมากสุดในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทว่าเขาบอกว่าขณะนี้มีคองเกรสแมนและซีเนเตอร์บางคนสนใจสถานการณ์เมืองไทยและพยายามดึงเขาไปเป็นที่ปรึกษา พัฒนาการการเมืองไทยไม่ค่อยเป็นบวกมากนัก อาจมีสงครามกลางเมืองในระดับกลาง จากความขัดแย้งทีระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ที่สะสมมานานหลายปี และเชื่อว่าความขัดแย้งคราวนี้จะก่อให้เกิดการปะทะกัน จนรัฐไม่อาจสามามารถควบคุมได้ หน่วยงานอเมริกันในเมืองไทย กำลังติดตามสถานการณ์นี้อย่างใกล้ชิด […]

โมฆะบุรุษผู้มาจากอเมริกา*

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ ห้องสมุด Clark County ลาสเวกัส รัฐเนวาดา บนถนน Flamingo ตัดกับ Eastern Ave. คือสถานที่สถิตของผมเมื่อหลายปีก่อน อาคารอันโอ่โถงถูกสร้างไว้อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยสวยงามตามแบบอย่างศิลปะฮีสแปนิกส์ อาคารทรงสเปน ท่ามกลางบรรยากาศเงียบสงบ เข้าไปคุณจะเห็นเซ็คชันสื่อคอมพิวเตอร์หรือ E-library ก่อนอื่น อยู่รอบๆ เค้าน์เตอร์เจ้าหน้าที่ห้องสมุดที่เป็นพนักงานประจำ บรรยากาศของห้องสมุดแห่งนี้ช่างตัดกับบรรยากาศ ลาสเวกัสสตริพ ดุจดังฟ้ากับเหว คือในขณะที่ลาสเวกัสเป็นเมืองโลกีย์ แต่ห้องสมุดเป็นเสมือนศูนย์รวมหรือแหล่งวิชาการ แค่นี้ก็มากพอทำให้เกิดภาพตัดกันอย่างมีนัยสำคัญ เพราะนอกจากสถาบันวิชาการหลักในเมืองบาปแห่งนี้ อย่าง UNLV […]

ชีวิตไทยในอเมริกา : ความจริงที่ถูกละเลย (3)

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์เหตุการณ์ต่างๆเกี่ยวกับชุมชนไทยในอเมริกาได้ถูกเปิดเผยผ่านสื่อ ทั้งสื่อไทยในอเมริกาเอง และผ่านสื่อภายนอกในรูปแบบข่าวสังคมมากกว่ารูปแบบอย่างอื่น โดยเน้นความเคลื่อนไหว และกิจกรรมของชุมชน อย่างเช่น วัด หรืองานปาร์ตี้ตามร้านอาหาร หรือตามสถานบันเทิงต่างๆ หากข้อหลงลืมข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสภาพความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของคนไทยในอเมริกา ระบบการจัดการของสื่อในอเมริกาเป็นไปในลักษณะสื่อของใคร ก็ของคนนั้น มีไว้สนองผลประโยชน์ของตนและของกลุ่มตัวเองเสียเป็นส่วนใหญ่ อย่างเช่น การโฆษณาธุรกิจในเครือของตัวเอง ยังไม่เป็นอันหวังถึงลักษณาการแห่งความเป็นมืออาชีพ ขณะที่สื่อของชาติอื่นดังเช่น จีน เวียดนาม และเกาหลีก้าวไปไกลแล้วมากแล้วขนาดใช้ระบบการยิงสัญญาณในระบบพิมพ์ผ่านดาวเทียม ข่าวและข้อมูลจากภายในของแต่ประเทศเหล่านั้นถูกส่งไปพิมพ์ตามเมืองใหญ่ต่างๆที่มีชุมชนขนาดใหญ่ของพวกเขาอยู่ที่นั่น(อเมริกา) โดยผนวกกับข่าวความเคลื่อนไหวของฝ่ายอเมริกันและข่าวที่เกิดขึ้นในชุมชนหรือท้องถิ่นนั้นๆ นอกจากนี้ ข้อมูล ข่าวสารจากอเมริกา ยังถูกตีกลับไปยังประเทศแม่อีกด้วย อย่างเช่น ชุมชนเกาหลี ซึ่งการดำเนินงานของสื่อค่อนข้างอิสระกว่าหลายประเทศ […]

ชีวิตไทยในอเมริกา : ความจริงที่ถูกละเลย (2)

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ “Red -Carpet Treatment ” เป็นโครงการให้ความสำคัญกับบรรดาแรงานฟิลิปปินส์ ของอดีตประธานาธิบดี กลอเรีย มากาพาแกล อาร์โรโย่ (Gloria Macapagal- Arroyo) ด้วยการปูพรมสีแดงเป็นทางยาวที่สนามบินนานาชาติมะนิลา โดยตระหนักว่าแรงงานที่ไปทำงานต่างแดนเป็นผู้เสียสละ และทำประโยชน์ให้กับชาติอย่างสูง นำรายได้เข้าประเทศในแต่ละปีหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐ มากกว่ารายได้จากสาขาธุรกิจใดๆในฟิลิปปินส์ ขณะที่ฟิลิปปินส์ เป็นประเทศที่ส่งออกแรงงานมากในอันดับต้นๆของโลก ทั้งมีการจัดการ เช่นการฝึกอบรม อย่างเป็นระบบ รายงานของ เจสัน เดอ พาเริล (Jason De […]

ชีวิตไทยในอเมริกา : ความจริงที่ถูกละเลย (1)

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ เมื่อ ชัญชนิฐ มาเทอเรลล์ กำลังศึกษาที่ยู.ซี.แอล.เอ.หรือ University of California Los Angeles ในคณะรัฐศาตร์เธอให้ความสนใจเกี่ยวกับความเป็นไปของชุมชนเอเชียนในเขต ลอสแองเจลิส เคาน์ตี้ โดยได้ทำกิจกรรมหลายอย่างร่วมกับองค์กรไม่หวังผลกำไร(Nonprofit Organization) ของชุมชนไทย และองค์กรไม่หวังผลกำไรของชุมชนเอเชียนอื่นๆ นอกเหนือจากกิจกรรมขององค์กรนักเรียนไทยในเขตแอล.เอ.แล้ว ความสนใจของชัญชนิฐ นำไปสู่การเข้าไปคลุกคลีกับชุมชนเอเชียนโดยเฉพาะชุมชนไทยที่เธอมีสายเลือดอยู่เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ หลังจากจากเมืองไทยมาตั้งแต่อายุยังน้อย ความรู้สึกในขณะเป็นนักศึกษายู.ซี.แอล.เอ. เต็มไปด้วยความห่วงใยต่อชุมชนไทยในอเมริกา ซึ่งเธอทราบดีหลังจากที่ไปทำกิจกรรมร่วมกับกลุ่มเพื่อนเอเชียนและเพื่อนคนไทยที่แอล.เอ.ว่า ชุมชนไทยในอเมริกา โดยเฉพาะทางเขตแอล.เอ.มีปัญหาหลายอย่าง รอการช่วยเหลือและแก้ไข โดยเฉพาะการต้องการความช่วยเหลือจากคนไทยรุ่นใหม่ ที่สามารถสื่อกับอเมริกันได้อย่างไม่ขัดเขิน […]

เมื่อมหาวิทยาลัยกำลังจะเจ๊ง

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ การเปลี่ยนแปลงหรือการเกิดนวัตกรรมไม่ใช่เรื่องผิดปกติ แต่สำหรับการเปลี่ยนแปลงในวงการการศึกษา แม้ไม่ใช่เรื่องผิดปกติแต่ก็ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ เรื่องสำคัญ เป็นประเด็นหรือเป็นเรื่องระดับชาติ โดยนัยนี้เราจะเห็นว่า การเปลี่ยนแปลงในส่วนของวงการการศึกษาที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลกส่งผลต่อระบบการจัดการศึกษาของไทยอย่างไรบ้าง ประการแรก สถาบันการศึกษาทุกประเภท ทุกระดับที่มีอยู่ในปัจจุบัน จะต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองขนานใหญ่จากระบบปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ที่กำลังเข้ามา ซึ่งส่งผลให้มีการปรับลดบุคลากรในสถาบันการศึกษาทั้งในส่วนของเจ้าหน้าที่และอาจารย์ผู้สอนในสถาบันการศึกษาลง ประการที่สอง ความจำเป็นที่จะต้องพึ่งพาการศึกษาในระดับอุดมศึกษามีน้อยลง เนื่องจากปัจจุบันผู้เรียนสามารถอาศัยหรือพึ่งพาแหล่งความรู้จากนอกสถาบันการศึกษาในระบบได้ ทั้งในและต่างประเทศ ประการที่สาม การเรียนที่ไม่สัมพันธ์กับวิถีชีวิตของสังคมหรือชุมชน ทำให้ทั้งผู้สอนและผู้เรียนประหนึ่งนั่งอยู่บนหอคอยงาช้าง คือ เท้าไม่ติดดิน เรียนจบมาเพื่ออวด เพื่อแสดงสถานะทางสังคมเหนืออื่นใด มากกว่าการเรียนเพื่อนำมาใช้จริงในชีวิตประจำวัน ประการที่สี่ […]

คำถามที่สันติศึกษาไทยควรตอบ(ให้ได้)

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ ทำไมสถาบันสันติศึกษาไทยไม่กล้าพูดหรือแสดงความเห็นต่อปัญหาโรฮิงญา ปัญหาในพม่า ที่ทำเอานางอองซานซูจี ไปไม่เป็น และต้องเสียเครดิตการเป็นบุคคลสำคัญสากลด้านสิทธิมนุษยชนเอาดื้อๆ อย่างน้อยก็เครดิตจากรางวัลโนเบลที่เธอเคยได้รับจากยุโรปในช่วงก่อนหน้านี้ หลายคน หลายประเทศไม่พอใจอย่างยิ่งต่อท่าทีของนางซูจีในการปฏิบัติต่อชาวโรฮิงญา การนิ่งเงียบเหมือนเป่าสากต่อปัญหาความทุกข์ร้อนของผู้อพยพชาวโรฮิงญา จากรัฐยะไข่ในพม่า เป็นเครื่องแสดงว่าที่แท้แล้วสถาบันสันติศึกษาในไทยเป็นหน่วยงานตรรกะวิบัติ ปาหี่ เพียงเพื่อเอาตัวรอดในทางการเมืองเชิงองค์กรหรือสถาบันการศึกษา มีอคติ่ในประเด็นเชื้อชาติมากเพียงใด เพราะสถาบันสันติศึกษาเป็นสถาบันวิชาการซึ่งควรพูดตรงๆ ได้มากกว่าสถาบันอื่นๆ นี้เองแสดงให้เห็นว่าสถาบันสันติศึกษาในไทยมีอาการต้มตุ๋นคนดูมากเพียงใด เมื่อเร็วๆ นี้ สถาบันสันติศึกษา ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) อันเป็นสถาบันวิชาการพุทธศาสตร์ของรัฐไทย (ซึ่งกินเงินงบประมาณของรัฐหรือประชาชน) ถึงกับโหนกระแสขุนน้ำนางนอนฟีเวอร์ (เด็กติดถ้ำเชียงราย) จัดกิจกรรมลมหายใจสันติภาพ สร้างภาพสมาธิบำบัด […]

โรฮิงยา

นิธิ เอียวศรีวงศ์ ส่วนใครคือต้นเหตุที่ทำให้พวกเขาต้องลอยเรือเสี่ยงตายเช่นนี้ ไม่ใช่คำถามที่จะรีดเอาคำตอบในตอนนี้ หรือแม้แต่คำถามว่าจะจัดการกับเขาอย่างไรต่อไป ก็ไม่ใช่คำถามที่จะต้องเอาคำตอบให้ได้ในเวลานี้เช่นกัน ความปลอดภัยในชีวิตของพวกเขาต้องมาก่อน เรื่องอื่นๆ ค่อยคิดกันข้างหน้า แต่นี่ไม่ใช่ประเด็นของบทความนี้ แม้แต่ผู้ที่เห็นพ้องว่า ต้องรักษาชีวิตของชาวโรฮิงยาบนเรือให้ปลอดภัยก่อน ก็ยังคิดว่าเราไม่อาจให้เขาพักพิงอยู่เป็นเวลานานได้ เขาจะต้องกลับไปสู่ที่เขาออกเรือมา (คือบังคลาเทศและรัฐยะไข่ของพม่า), หรือไปตั้งรกรากในประเทศอื่นที่ไม่ใช่ไทย นอกจากความเมตตากรุณาต่อเพื่อนมนุษย์แล้ว บางคนยังมองคุณค่าทางเศรษฐกิจของการช่วยเหลือชาวโรฮิงยาด้วย เช่นทำให้ภาพลักษณ์ของไทยดีขึ้นในสายตาของสังคมที่รังเกียจสินค้าประมงของไทย หรือความช่วยเหลือที่ต่างชาติและองค์กรโลกให้แก่ค่ายผู้อพยพ กระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่นอย่างดี ผมอยากถามว่า เหตุใดเราจึงให้เขาพักพิงถาวรไม่ได้ และชาวโรฮิงยาหรือผู้อพยพจากเพื่อนบ้าน จะช่วยแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานของไทยได้อย่างดี ในฐานะพลเมือง ไม่ใช่ในฐานะแรงงานข้ามชาติ ประเทศไทยเคยรับผู้อพยพมาหลายครั้งหลายหน ฉะนั้นเราเคยชินกับการตั้งค่ายผู้อพยพมาแล้วหลายต่อหลายแห่ง แต่ก็มีเจตนามั่นคงมาแต่ต้นว่า […]

ปัญหาร้านอาหารไทยในอเมริกาอยู่ที่การต่อยอด(ขยายผล)

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ Line ID : pete1120 กล่าวได้ว่าไม่มีอาชีพคนไทยอาชีพใดในอเมริกาจะพ็อพพูล่าเท่าอาชีพร้านอาหารไทยอีกแล้ว ประเมินกันว่าทั่วสหรัฐอเมริกามีร้านอาหารไทยไม่ต่ำกว่า 5000 ร้าน โดยเฉพาะในบางเมืองใหญ่ในสหรัฐ เช่น ลอสแองเจลิสและนิวยอร์ค มีร้านอาหารไทยแทบทุกคอนเนอร์ถนน นัยหนึ่งก็คือจำนวนร้านมีความหนาแน่นอย่างมากนั่นเอง อย่างไรก็ตาม กล่าวได้ว่าพัฒนาการหรือความก้าวหน้าของธุรกิจร้านอาหารไทยในสหรัฐอเมริกายังมีน้อยเมื่อเทียบกับกิจการร้านอาหารของคนที่ไปจากประเทศอื่นๆ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี เวียดนาม หรือแม้แต่มาเลเซีย จนอาจกล่าวได้ว่าในช่วงระยะ 20 กว่าปีที่ผ่านมา กิจการร้านอาหารไทยในสหรัฐฯ มีพัฒนาเชิงก้าวหน้าหรือการนำอาหารไทยออกสู่สายตาชาวโลกอย่างไม่ค่อยเป็นระบบ ทั้งที่กระบวนการของร้านอาหารไทยเกี่ยวพันกับการขึ้น การลงของเศรษฐกิจไทยอย่างมากส่วนหนึ่ง ด้วยเหตุที่ร้านอาหารไทยเองสั่งซื้อผลิตภัณฑ์วัตถุดิบที่นำเข้าจากประเทศไทยจำนวนมาก […]

10 ข้อเสนอถึงททท.ในอเมริกา

ที่มา ประชาไท พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ มีคนเคยถามครับว่า คนอเมริกันรู้จักเมืองไทยและชอบที่จะไปเที่ยวเมืองไทยกันมากไหม ซึ่งหมายถึงสถานการณ์ด้านการท่องเที่ยวระหว่าง 2 ประเทศ ที่หน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงคือ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยหรือ ททท. เป็นหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรง ในส่วนฝั่งตะวันตกของอเมริกา นั้น ททท.มีสำนักงานอยูที่ลอสแองเจลิส(แอล.เอ.) ปัจจุบันมี  นางกุลปราโมทย์ วรรณะเลิศ เป็นผู้อำนวยการ ททท.โดยนายสุรพล เศวตเศรนี ผู้ว่าการฯ บอกว่า แผนการตลาดของ ททท. ในปี 57 จะเน้นการผลักดันรายได้ของนักท่องเที่ยวให้ได้ตามเป้าหมายของรัฐบาลที่ต้อง การรายได้จากการท่องเที่ยว […]

ร้านอาหารไทยในอเมริกา : เส้นผมบังภูเขาในสายตารัฐไทย

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ สำนักข่าว Munchies/Vice ระบุว่า แม้ร้านอาหารเม็กซิกันและจีนอาจมีจำนวนมากกว่าร้านอาหารไทย แต่จำนวนร้านอาหารทั้งสองชาติก็สอดคล้องกับจำนวนประชากรเม็กซิกันในสหรัฐฯ ที่มีประมาณ 36 ล้านคนและมีคนจีนอีกประมาณ 5 ล้านคน ซึ่งข้อมูลของสถานทูตไทยในสหรัฐฯ เปิดเผยว่ามีชาวไทยอเมริกันอยู่เพียง 300,000 คน หรือไม่ถึงร้อยละ 1 ของจำนวนชาวเม็กซิกันอเมริกัน แต่ร้านอาหารไทยกลับมีประมาณ 5,350 ร้าน ส่วนร้านอาหารเม็กซิกันมีประมาณ 54,000 ร้าน แสดงให้เห็นว่าสัดส่วนร้านอาหารไทยต่อประชากรชาวไทยมีมากกว่าถึง 10 เท่า (https://voicetv.co.th/read/HkCR2Dyjf) คำถามคือ […]

อเมริกันปัญญาพุทธ

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ การแพร่เข้าไปของพระพุทธศาสนาในสหรัฐอเมริกาในปัจจุบันเป็นไปอย่างกว้างขวาง แม้ว่าสหรัฐฯ จะเป็นประเทศที่แยกระบบการปกครอง (รัฐ) ออกจากศาสนา (secular state) หรือ ศาสนาไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมกำกับดูแลโดยรัฐ หากการนับถือศาสนาเป็นไปตามความนิยมเชิงปัจเจก ตามแบบอย่างจารีตอเมริกัน ซึ่งเน้นเสรีภาพในเรื่องความเชื่อเกี่ยวกับศาสนาตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ อเมริกันเป็นที่ตั้ง โดยที่การปกครองไม่อิงหรือผูกพันกับการนับถือศาสนาใดๆ ภายใต้ระบบการเปิดเสรีอเมริกันดังกล่าว ก่อให้เกิดความเคลื่อนไหวอย่างมากมายของกิจกรรมเชิงลัทธิเชิงศาสนาต่างๆ ในสหรัฐฯ นอกเหนือไปจากพลเมืองอเมริกันแล้ว ในช่วงที่ผ่านมายังมีนักการเมืองอเมริกันที่อ้างตนเองอย่างเป็นทางการว่า นับถือศาสนาพุทธรวมอยู่ในนั้นด้วย ได้แก่ สมาชิกวุฒิสมาชิก (สว.) หญิง Mazie Keiko Hirono แห่งรัฐฮาวายที่เพิ่งได้รับการเลือกตั้งในเดือนพฤศจิกายน […]

C-SPAN ทีวีทางเลือกของอเมริกัน

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ ทีวี C-SPAN มาจาก Cable-Satellite Public Affairs Network หรือเครือข่ายโทรทัศน์เพื่อกิจการสาธารณะของอเมริกัน ซึ่งเปิดดำเนินการครั้งแรกเมื่อปี 1979 ก่อนที่จะขายกิจการเพิ่มอีก 2 ช่องคือ C-SPAN 2 และ C-SPAN 3 ในปี 1986 และในปี 2001 ตามลำดับ รวมถึงกิจการวิทยุอีก 1 สถานี โดยการบริหารองค์กรเป็นไปในรูปแบบกิจการไม่หวังผลกำไร (Nonprofit […]

ทีมงาน eff.or.th

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ บรรณาธิการบริหารวีรวัฒน์ โสภณธนกุล ผู้ช่วยบรรณาธิการบริหาร/แอดมินทองธัช เทพารักษ์ ศิลปกรรม /รูปแบบสนานจิตต์ บางสพาน ประธานที่ปรึกษากองบรรณาธิการนิพนธ์ กลิ่นวิชิต ที่ปรึกษากองบรรณาธิการประเสริฐ ขวัญแก้ว ที่ปรึกษากองบรรณาธิการนพ.สุทธิรักษ์ บัวแก้ว ที่ปรึกษากองบรรณาธิการกุลอร หนูคงใหม่ เลขานุการกองบรรณาธิการ ติดต่อกองบรรณาธิการ :สำนักงานมูลนิธิการศึกษาเพื่อเสรีภาพ3/10 หมู่ที่ 8 ตำบล บางคูรัด อำเภอ บางบัวทอง จังหวัด นนทบุรี 11110โทรศัพท์ : […]

โฆษณากับ EFF

ตำแหน่ง วันละ สัปดาห์ละ เดือนละ Banner A: ตำแหน่งบน (ทุกหน้าเพจ) 200 บาท – – Banner B: แทรกในเนื้อ (ข่าว-บทความ) 100 บาท – – Promote Link ข้อความ (ข่าว-บทความ) – 200 บาท 800 บาท ติดต่อ […]

เลือกตั้งนายกท.บางคูรัดแข่งเดือด

อำนาจ ศรีเพ็ชรประจบ เชิญผึ้งพิมพ์พัชชา หยิมการุณ ผู้สื่อข่าว EFF รายงานจากพื้นที่ ต.บางคูรัด อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรีว่า การแข่งขันระหว่างแคนดิเดท นายกเทศมนตรีเทศบาลต.บางคูรัดเป็นไปอย่างเข้มข้น ดุเดือด แม้จะยังไม่มีการตราพระราชกำหนดการเลือกตั้งท้องถิ่นก็ตาม โดยขณะนี้มี 3 ทีม ที่ได้ลงพื้นที่หาเสียงแล้ว ได้แก่ ทีมอดีตนายกอบต.บางคูรัด ดร.พิมพ์พัชชา หยิมการุณ ทีมนายอำนาจ ศรีเพชร อดีตประธานสภาอบต. บางคูรัด และทีมนายประจบ เชิญผึ้ง อดีตเลขานุการนายกอบต.บางคูรัด แหล่งข่าวจากสำนักงานเทศบาลบางคูรัด […]

EFF บางคูรัดผลิตบล็อคประสาน

ศูนย์การเรียนรู้บางคูรัด ของมูลนิธิการศึกษาเพื่อเสรีภาพ (EFF) จัดทำโครงการผลิต”บล็อคประสาน” วัสดุสารพัดประโยชน์สำหรับการก่อสร้างทุกประเภท ทำจากดิน ลดโลกร้อน ราคาถูก สนใจสั่งซื้อบล็อคประสาน (กรุณาสั่งล่วงหน้า เราผลิตเฉพาะออร์เดอร์เท่านั้น) และดูงาน (เรียนรู้) โครงการและเทคนิคการผลิต โทร 0989797416 สำนักงานมูลนิธิการศึกษาเพื่อเสรีภาพ (EFF) 3/10 ม. 8 ต.บางคูรัด อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี 11110

โลกาธิปไตย

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ สังคมอมเมริกันนั้นมีความหลากหลายอย่างยิ่ง จึงเป็นที่ยอมรับกันโดยจารีตแล้วว่า “ความขัดแย้ง” ความเห็นต่างของผู้คนในสังคมเป็นเรื่องปกติ สังคมอเมริกันจึงมองว่าความขัดแย้ง ไม่ใช่ปัญหา จึงไม่จำเป็นต้องไปแก้ไขอะไร เหมือนดังการผลิตวาทกรรมในเมืองไทย “สลายความขัดแย้ง” ที่ฟังแล้ว ความขัดแย้งเป็นเรื่องน่ารังเกียจ จนถึงกับในทางการเมืองของเมืองไทยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการที่ทำงานด้านความขัดแย้งขึ้นมาจำนวนหลายชุด โดยที่คณะกรรมการที่ตั้งขึ้นมาดังกล่าว เป็นปฏิปักษ์กับความขัดแย้ง มองความขัดแย้งเป็นเรื่องความผิดปกติของสังคมที่จะต้องหาวิธีการแก้ไข ดังเห็นได้จากที่ผ่านมามีการผลิตงานวิชาการ ทั้งของอาจารย์และของนิสิตนักศึกษาในประเด็นนี้ออกมามากมาย ซึ่งก็ไม่ต่างจากพฤติกรรมกระเด้าลมของนกนางแอ่น แต่ท้ายที่สุดแล้วความขัดแย้งด้านต่างๆ ในเมืองไทยก็มิได้ปลาสนาการไปอย่างที่ตั้งใจเอาไว้เลย มิหนำซ้ำยังกลับคงที่หรือเพิ่มมากขึ้นเสียด้วยซ้ำ ดังเห็นปัญหากันอยู่ในเวลานี้ว่า ความปรองดอง ที่คาดหวัง ได้คืบหน้าไปได้มากน้อยขนาดไหน วาทกรรม “สลายความขัดแย้ง” จึงไร้ค่าในบริบทสังคมประชาธิปไตยแบบอเมริกัน […]