KP Nan Travel บุกเบิกทัวร์เมืองน่านและล้านนา

“เคพี น่าน ทราเวล” พร้อมลุยทัวร์เมืองน่าน ต้นปี 2564 ดึงมืออาชีพด้านทัวร์และขนส่งจากภูเก็ตเสริมทัพ พร้อมใช้ประสบการณ์แบบมืออาชีพทำธุรกิจทัวร์ในเขตล้านนา นายธนวัฒน์ (คำพล) ศรีสว่างวรกุล ผู้จัดการเคพี น่าน ทราเวล กล่าวว่า มองเห็นการเติบโตของธุรกิจท่องเที่ยวของจังหวัดน่าน และเขตล้านนาทั้งหมด จึงได้ตัดสินใจย้ายฐานการทำธุรกิจท่องเที่ยวและบริการขนส่งจากจังหวัดภูเก็ตไปจังหวัดน่าน โดยจะเริ่มให้บริการนักท่องเที่ยวได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 เป็นต้นไป ทั้งนี้จะใช้รถตู้จำนวน 10-12 ที่นั่ง บริการขนส่งนักท่องเที่ยว “เราให้ลูกทัวร์เป็นคนกำหนดจุดหมายปลายทางที่พวกเขาจะไป ลูกทัวร์เป็นคนทำ Itinerary […]

อเมริกันประสิทธิ

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ “คนธรรมดา” ผมเห็นม็อตโต้ (คำขวัญ)นี้ ต่อจากชื่อของเขาในไลน์ส่วนตัว ที่เรามักติดต่อกันเสมอมาแม้ว่าผมกับเขาเราอยู่กันคนละทวีป ด้วยบุคลิกที่ร่าเริง อัตลักษณ์คงที่ชัดเจน ความปรารถนาบั้นปลายชีวิตของเขาคือเชียงใหม่ แม้ว่าปรารถนานั้นของเขาไม่มีวันเกิดขึ้นจริง แต่มันก็แสดงให้เห็นว่าชีวิตเป็นสิ่งไม่แน่นอน ไม่ว่าคุณจะอยู่แห่งหนใดในโลกก็ตาม โลกอเมริกา ที่ที่หลายคนบนโลกนี้ปรารถนา ฝันได้บ้างไม่ได้บ้าง มีกี่คนที่ได้อย่าง “ประสิทธิ์ แสงอ่อน” ไม่ต้องอิจฉาเขา เพราะนาทีนี้ไม่มีเขาอยู่แล้วในโลก หากคุณค่าของใช้ชีวิตได้ค่อนข้างเต็มรูปแบบ และภาคภูมินั้น “ประสิทธิเสรีชน” อาจทำให้คุณต้องอิจฉาเขา ถ้าเป็นแบบนี้ ผมช่วยอะไรคุณไม่ได้จริงๆ ด้วยแคแรกเตอร์สามัญมะนุดธรรมดา เรียบง่าย มีสุนทรียะอ่อนไหวละเมียดละไมอันพอเหมาะพอควร […]

มหา’ลัยควรแยกงานส่วนวิจัยและงานสอนให้ชัดเจน

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ มหาวิทยาลัยของไทยนั้น นอกจากนั่งอยู่บนหัวของประชาชนที่สนับสนุนการศึกษาระดับอุดมศึกษา ผ่านกระจายงบประมาณ(เงินภาษี)ไปยังสถาบันเหล่านี้แล้ว มหาวิทยาลัยของไทยยังมีนัยแห่งการต้มตุ๋มชาวบ้านอยู่ในทีอีกด้วย เพราะแทบไม่เคยเชื่อมโยงกับกระบวนการลผลิตงานวิจัยที่เป็นจริงเป็นจัง กล่าวคือ ไม่สามารถนำผลงานหรือนวัตกรรมมาใช้จริงในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งก็ถือเป็นหน้าที่หลักของสถาบันอุดมศึกษาเท่าๆ กับงานการเรียนการสอน ดังนั้น เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและง่ายในการประเมินผลงานของมหาวิทยาลัย จึงควรแยกส่วนงานวิจัยออกจากงานสอนออกจากกันให้ชัดเจนมากขึ้น ในช่วงเวลาที่มหาวิทยาลัยกำลังจะกลายเป็นซากปรักหักพัง คือ กำลังจะโดนกวาดล้าง (disruption) ไปพร้อมๆ กับสิ่งเก่าๆ อีกหลายอย่างในโลกนี้ ขณะเดียวกันโลกเสมือนจริงอย่างโลกออนไลน์เข้ามามีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ในทุกระดับมากขึ้น การปรับตัวของมหาวิทยาลัยเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง แต่สำหรับมหาวิทยาลัยในเมืองไทยหลายแห่ง โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยของรัฐ กลับทำตัวเป็นกาฝากทางการศึกษาหากินกับงงบประมาณของรัฐชนิดที่แทบไม่เห็นข้อดีของผลรีเทิร์นอย่างคุ้มค่า แม้แต่สถาบันอุดมศึกษาในต่างจังหวัดเองที่ขณะนี้แทบจะกลายเป็นสถาบันร้าง เนื่องจากจำนวนนักศึกษาลดน้อยลงอย่างมาก แต่กลับมีการจัดตั้งจัดวางขยายตำแหน่งผู้บริหารวิทยาเขต (สาขา) […]

สาธารณรัฐ (Thailand Republic)

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ น่าสนใจว่า รีพับบลิค (republic) หรือการปกครองแบบสาธารณรัฐ ที่ฝ่ายจารีตของไทยตั้งข้อกล่าวหา ข้อรังเกียจชิงชัง แลอาจถือถึงขั้นกล่าวหาว่า มันเป็นระบบซึ่งจะนำไปสู่การแบ่งแยกประเทศออกเป็นเศษเป็นเสี้ยวไม่ขึ้นต่อกัน  แล้วกรุงเทพก็จะเสียอำนาจการปกครอง การตั้งข้อกล่าวดังกล่าวนี้ เกินจริงไปหรือไม่อย่างไร ในขณะที่หลายประเทศในโลกต่างก็ปกครองแบบสาธารณรัฐกันจำนวนมาก เช่น สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส รัสเซีย อินเดีย เนปาล ฯลฯ แปลว่า รีพับบลิคย่อมมีอะไรดี แต่ไฉนมันจึงไม่เหมาะสมกับประเทศไทย?? แม้ไม่อาจเทียบได้ แต่ผู้เขียนกลับมองเห็นว่า การกระจายอำนาจการปกครองส่วนท้องถิ่นของไทยที่กำลังเป็นไปอย่างล่าช้ามากตอนนี้นั้น ไม่ว่าเราจะใช้คำว่า จังหวัดจัดการตนเองเหมือนที่ชำนาญ จันทร์เรืองใช้หรือไม่ก็ตาม […]

มหาวิทยาลัยมีไว้ทำไม?

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ มหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาของไทย ปัจจุบันอยู่ในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม แต่มีเหตุผลที่เป็นไปได้ว่าการศึกษาระดับสถาบันอุดมศึกษาของไทยไม่ควรอยู่ภายใต้การกำกับครอบงำของรัฐบาลด้านต่างๆ อีกต่อไป หากสถาบันการศึกษาในระดับสูงเหล่านี้ควรแยกตัวออกจากรัฐเป็นเอกเทศ จัดการตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งในส่วนการบริหารจัดการ บุคลากร และส่วนวิชาการที่ถือเป็นหน้าที่หลักของสถาบันอุดมศึกษาจริงๆ ประการแรก เพราะมหาวิทยาลัย หรือสถาบันอุดมศึกษา มีหน้าที่ทำงานด้านวิชาการซึ่งบทบาทหน้าที่ดังกล่าว ควรเป็นเอกเทศหรืออิสระตามแบบอย่างสถาบันวิชาการสากล ปราศจากมายาคติของมวลชนกลุ่มหรือฝ่ายต่างๆ มหาวิทยาลัยควรเป็นกลไกที่มีความเป็นกลางทางเมืองอย่างยิ่งยวด มีอิสระเด็ดขาดในการตัดสินใจในส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น ในฝ่ายกิจกรรมนักศึกษาที่จะเป็นพลังสะท้อนความเป็นไปของการศึกษาวิจัยเชิงสังคม ทั้งนี้บทบาทของรัฐที่เกี่ยวข้องกับสถาบันอุดมศึกษาควรเป็นเรื่องมาตรฐานเบื้องแรกที่มีการจัดสถาบันการศึกษา ส่วนในการประเมินคุณภาพนั้นก็อาศัยรูปแบบการทำงานแบบคณะกรรมการหรือคณะทำงานดุจเดียวกับสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) ที่มีมาก่อนหน้านี้ ประการที่สอง เพราะการรับเอาๆ งบประมาณทุกปีของสถาบันการศึกษาของรัฐจากรัฐ […]

การตลาดมุมแอบ

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ หลักการของวิชาการด้านการตลาดงอกงามเติบโตมาจากอเมริกา จนต่อยอดต่อแขนงออกไปอย่างกว้างขวางมีอิทธิพลต่อการทำกิจกรรมทุกประเภท ความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของเราต่างได้รับมายาคติจากกลยุทธ์การตลาดไม่มากก็น้อย และส่วนใหญ่ได้รับกันโดยไม่รู้เนื้อรู้ตัว เช่น การฝังหัวผ่านโฆษณาทางทีวีซึ่งเป็นที่รู้จักกันกันดี ในยามที่กระแสเห่อทีวีดิจิตอลในเมืองไทยพุ่งสูงกว่ายุคใดๆ ใครไม่เอ่ยถึงทีวีดิจิตอลอาจถูกมองว่า เป็นคนล้าหลังไปได้ ที่ซับซ้อนมากไปกว่านั้นก็คือ การอ้างข้อเท็จจริงด้านการรายงานข่าวของสื่อ โดยเฉพาะสื่อทีวี เช่น คำพูดที่ว่า “ถ่ายทอดสด” (live) ถูกอุปโลกน์ด้วยมิติที่ซับซ้อนมากกว่าสิ่งที่ผู้ชมมองเห็น นั่นคือ เต็มไปด้วยการสร้างแสงสี และฉากที่มีเป็นผลมาจากการวางมุมกล้องของ “ผู้กำกับการแสดงข่าว” อยู่เบื้องหลัง  ยังไม่รวมถึงการเลือกตัดภาพหรือตัดต่อของผู้กำกับที่ยืนอยู่หลังกล้อง  เช่น การเลือกสีหน้า อารมณ์ของผู้คนหรือแหล่งข่าว ที่ถูก เรียกในเชิงบวกเป็น […]

Chinatown USA

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ ทำไมถึงต้องพูดถึงไชน่าทาวน์ยูเอสเอ หรือเมืองคนจีนในอเมริกา ก็เพราะว่า เมืองนี้เป็นจุดกำเนิดของวัฒนธรรมคนเอเชียในดินแดนตะวันตก คนจีนอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในอเมริกาก่อนชาติเอเชียอื่นๆ ล่วงมากว่า 200 ปีแล้ว  ดังนั้นวิวัฒนาการของการตั้งเข้ามาอาศัยอยู่นี้ย่อมเป็นที่น่าสนใจและน่าศึกษา ในดินแดน“ลุงแซม”มี ไชน่าทาวน์อยู่หลายแห่ง ที่เด่นๆ และเก่าแก่เห็นจะเป็นไชน่าทาวน์ที่นิวยอร์ค และไชน่าทาวน์ซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งจำลองแบบความเป็นอยู่และวิถีชีวิตของคนจีนมาแทบ 100 เปอร์เซ็นต์ทีเดียว เรียกว่าคนอเมริกันไม่จำเป็นต้องไปเมืองจีนก็สามารถรับรู้วัฒนธรรม ประเพณีจีน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิถีตะวันออกได้เลยทีเดียว ตลอดขณะเหตุการณ์และช่วงหลังการปฏิวัติประเทศ เปลี่ยนการปกครองในประเทศจีน โดยเหมาเจ๋อตุง จวบจนถึงปัจจุบัน ไชน่าทาวน์หลายเป็นแหล่งรวมของมวลชนคนจีนหลากแนวคิด ทั้งฝ่ายเสรีนิยมและฝ่ายคอมมิวนิสต์ ปัจจุบัน […]

สังคมอุดมปันโยม

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ ง่ายมากที่ชาวพุทธจะกล่าวหาใครๆ ว่า เขาเป็นมุสลิมและจ้องทำลายพุทธศาสนา แค่เพียงเขาคนนั้นไม่เห็นด้วยกับแนวทางการบริหารจัดการพุทธศาสนาในรูปแบบที่รัฐไทยกำลังดำเนินอยู่ในปัจจุบัน อันเนื่องมาจากเรามีพรบ.สงฆ์ และสำนักพุทธฯ นัยหนึ่งก็คือ รัฐไทยเป็น “รัฐศาสนา” (state religion) นั่นเอง เพราะรัฐไทยมีศูนย์บัญชาการศาสนามาจากส่วนกลาง ไล่เรียงเป็นลำดับลงไป (ของไทยเริ่มจากหัวคือมหาเถรสมาคม-มส.) ซึ่งประเด็นดังกล่าวนี้ น่าจะเป็นสิ่งที่ถูกหยิบยกมาพูดถึงต่อเนื่องหลังประเด็นการเรียกร้องของม๊อบเยาวชนฯ ใน 3 ประเด็นที่กำลังเข้มข้น ณ เวลานี้ มีการพูดถึงการแยกรัฐออกจากศาสนา (Secular State) เหมือนบางประเทศที่กำลังเป็นอยู่ในเวลานี้ หนึ่งในนั้นได้แก่ สหรัฐอเมริกา […]

ว่าที่นายกอบจ.น่าน “ธนโชติ ยั่งชุตพงศ์” : รัฐราชการคือปัญหาของท้องถิ่น

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ ขณะที่ปี่กลองการเมืองท้องถิ่นคึกคักทั่วประเทศ แม้ว่าน่านจะเป็นจังหวัดเล็กๆ ทางภาคเหนือ (ล้านนาตะวันออก)ก็ตาม แต่น่านก็ไม่ต่างจากจังหวัดอื่นๆ ที่ซึ่งสมรภูมิการเมืองกลับกำลังเดือดปุดๆ เช่นเดียวกัน ในปีนี้มีแคนดิเดท นายกอบจ.น่านถึง 5 คนด้วยกัน หนึ่งในนั้น คือ “นายธนโชติ ยั่งชยุตพงศ์” ผู้สมัครอิสระการเมืองท้องถิ่นของ จ.น่าน แนวคิดของธนโชติถ้าเทียบกับแคนดิเดทคนอื่นๆ ของจังหวัดน่าน จัดว่าเขาอยู่ในกลุ่มการเมืองก้าวหน้าและมาแบบ “ลุยเดี่ยว”ซึ่งก็ได้สร้างความประหลาดไม่น้อยในบรรดาคู่แข่งทางการเมืองของเขา รวมถึงประชาชนชาวจังหวัดน่านที่รอลุ้นผลการเลือกตั้งกันอยู่ในเวลานี้ ปูมหลังของธนโชตินั้น เขาเป็นชาติพันธุ์ (ไทยม้ง) เป็นลูกแม่น่านตัวจริงและดั้งเดิม เป็นอดีตอาจารย์วิทยาลัยเทคนิคน่าน การเป็นชาติพันธุ์หรือชนกลุ่มน้อยนี้เอง […]

ชลน่าน(ศรีแก้ว) : ยุทธศาสตร์เสื้อโหลกับการพัฒนาจ.น่าน

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ ในฤดูกาลท่องเที่ยวที่พีคสุดคือหน้าหนาวนี้ น่าน คือจังหวัดหนึ่ง ที่มีตัวเลขนักท่องเที่ยวเดินทางไปท่องเที่ยว อย่างน่าสนใจยิ่ง จากข้อมูลของ ททท.น่าน เดือนมกราคมถึงกันยายน 2562 มีผู้เยือนจังหวัดน่าน ประมาณ 696,000 คน/ครั้ง ลดลงจากปี 2561 ในช่วงเดียวกัน ร้อยละ -0.14 ยังคงรักษาตำแหน่งเดิมเป็นลำดับที่ 58 ของประเทศ มีรายได้จากการท่องเที่ยว ประมาณ 2,081.37 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2561 ในช่วงเดียวกัน […]

ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสีกันบริจาคคอมให้รร.ปริยัติธรรมโพธิ์ศรี สิงห์บุรี

พระครูโพธิสุตาทร ดร. (ท่านอุดม) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสีกัน(พุทธสยาม) ดอนเมือง กรุงเทพมหานคร มอบคอมพิวเตอร์จำนวน ๒ เครื่อง พริ้นเตอร์ พร้อมเครื่องเสียงตู้ลำโพง แก่พระธีรเดช ยสชาโต (เลิศอาชวะ)  เพื่อใช้ในกิจการศึกษาของคณะสงฆ์ โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญวัดโพธิ์ศรี ๑๓๒ หมู่ที่ ๘ ตำบลอินทร์บุรี อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี โดยมูลนิธิการศึกษาเพื่อเสรีภาพ (EFF) ทำหน้าที่ประสานในกิจกรรมดังกล่าว  ซึ่งทาง EFF ต้องขอกราบขอบพระคุณท่านพระครูโพธิสุตาทร มา ณ […]

สันติศึกษามจร.เริ่มมาถูกทาง

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์การถอดบทเรียนเรื่องความขัดแย้งของ พระสุธีรัตนบัณฑิต (ดร.พระมหาสุทิตย์ อาภากโร) ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) และเจ้าอาวาสวัดสุทธิวราราม กรณีการพัฒนาชุมชนทั้งที่แม่สรวย (จ.เชียงราย) และย่านถ.เจริญกรุง (กรุงเทพ) (https://youtu.be/beQ2I1-jp9w) นับว่ามีคุณค่าในแง่กระบวนการเรียนรู้ในแง่สันติศึกษาเป็นอย่างยิ่ง เพราะงานสันติศึกษาทั้งหลายเหล่ สมควรอยู่บนดิน ติดดิน อยู่กับชาวบ้านมากกว่างานศึกษาแขนงอื่นๆ จึงควรค่าแก่การนำเสนอในงาน World Peace National and International Conference ในวันที่ 31 มกราคม 2563 […]

ปัญหาโลกสวยของสันติศึกษามจร.

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ หลักสูตรสันติศึกษาระดับปริญญาเอก ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) กำลังทำให้ชาวบ้านที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ ที่เน้นศรัทธาต่อพระสงฆ์องคเจ้าเป็นหลัก คิดว่าสันติภาพของสังคมเกิดจากการปฏิบัติตามพุทธพจน์แบบเดี่ยวๆ ที่ว่า ไม่มีอะไรสู้ความสงบสันติได้ (นตฺถิ สนฺติ ปรํ สขํ) ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด เนื่องจากผู้ประสงค์จะเข้าเรียนหลักสูตรดังกล่าว อาจไม่ได้ดูที่มาหรือองค์ประกอบของสันติภาพว่า เกิดจากอะไรบ้าง เป็นความเข้าใจที่ผู้ประสงค์จะเรียนหลักสูตรที่ว่านี้ ไม่รู้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างความสุขสงบเชิงปัจเจกกับความสุขสงบของสังคมเป็นอย่างไร เพราะหากพิจารณากันให้ดีๆ แล้ว แม้ความสุขสงบส่วนตัว จะนำไปสู่ความสุขสงบส่วนรวมก็จริง แต่องค์ประกอบของความสุขทั้งสองประเภทก็ต่างกัน ความสุขสงบส่วนตัว เป็นเรื่องปัจเจก ส่วนความสุขสงบส่วนรวมเป็นเรื่องของความสุขของสังคม ในเมื่อเป็นหลักสูตรสาธารณะ ไยจะคิดแค่ผลประโยชน์เฉพาะบุคคคล […]

ด๊อกเตอร์-ด๊อกตุ๋น

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ : ppongnv@gmail.com เป็น พินิจ ชัยจารีย์ แห่งสมาคมไทยทักษิณฯหรือปัจจุบัน คือสมาคมชาวใต้แคลิฟอร์เนีย ลอสแองเจลิส (แอล.เอ.)ที่่เคยกล่าวกับผมว่า คุณอาศัยกินอยู่หลับนอนในอเมริกาได้ 20 ปี หรือมากกว่านี้ มันยิ่งกว่าคุณจบ ปริญญาเอกหรือดอกเตอร์เสียอีก หากแม้พินิจ อังดรัว ผู้เดินเฉียดปรีดี พนมยงค์ ณ ปารีส …ปิยสหายของผมล่วงลับไปหลายปีดีดักแล้ว แต่ผมจำคำสนทนาของเขากับผมประโยคที่ว่านี้ได้เสมอ จนกระทั่งผมกลับเมืองไทย ถึงได้ตระหนักความหมายของถ้อยสนทนาของพินิจว่า มันจริงแท้มากขนาดไหน เมื่อพบว่าสังคมไทย บ้าเห่อปริญญาบัตร […]

ประเทศไทยคือรัฐศาสนา?

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ Line ID : pete1120 การที่บุคคลบางกลุ่มและรัฐไทยกำลังดำเนินการสร้างพุทธศาสนาแห่งรัฐในขณะนี้ เพื่อนำไปสู่พุทธศาสนาแบบทางการแบบที่บัญชาการโดยรัฐนั้น หากเรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นจริง ก็น่าจะพอเปรียบเทียบกับศาสนายุคล่าแม่มดในยุโรปสมัยกลางได้แทบไม่ต่างกัน นั่นคือ ใครบังอาจตีความหรือคิดเห็นต่างจากการตีความคำสอนของศาสนาโดยรัฐ (ที่ประสานงานกับศูนย์บัญชาการศาสนาที่ถูกตั้งขึ้นโดยรัฐ) ก็จะถูกลงโทษอย่างรุนแรงแบบเดียวกับผู้ที่ต้องคดีอาญา หากเป็นสถานการณ์ในเมืองไทยปัจจุบัน ต้องแปลว่า ใครเห็นต่าง (ตีความ) จากพระไตรปิฎกล่ะก็..ถือเป็นมารพระศาสนาตัวร้ายที่จะต้องถูกกำจัดโดยกระบวนการทางอาชญ วิทยากันเลยทีเดียว อาจารย์ ศ.ดร.สมภาร พรมทา เคยบอกผมว่า กว่าจะมาถึงคัมภีร์พระไตรปิฎกที่เราอ่านกันอยู่ในปัจจุบัน ต้องผ่าน”บรรณาธิการ”ผู้อยู่เบื้องหลังมาหลายชุดในหลายยุคหลายสมัย ดังนั้นถ้าคิดระยะเวลาประมาณ 2,600 ปี ย่อมนานไม่ใช่เล่น […]

นิพพาน

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ Line ID : pete1120สภาวะนิพพาน เป็นอย่างไร เป้าหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนาสภาวะนี้ จะอธิบายได้อย่างไรให้คนรุ่นปัจจุบันแบบผมแบบท่านได้เข้าใจได้โดยง่าย บางทีอาจต้องอาศัยงานศิลปะเชิงเปรียบเทียบหรืออุปมาอุปมัยมาอธิบาย จนกระทั่งผมมีโอกาสได้คุยกับ นายกสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย ธนิตย์ จิตตนุกูล (ปื๊ด บางระจัน) แน่นอนว่ามันอาจไม่ใช่แนวที่ผมพยายามอธิบายกับผู้กำกับธนิตย์ก็เป็นไปได้ นิพพานเป็นจริงได้ แต่ก็อาจไม่ใช่แบบเดียวกับจินตนาการของผมก็ได้ ในยุคร่วมสมัยพุทธทาส คือผู้ที่แสดงให้เห็นแล้วว่า พยายามนำเอานิพพานมาอธิบายให้เป็นประดุจสภาวะธรรมดา จากแต่เดิมที่พวกเราชาวพุทธมักคิดหรือมักจินตนาการเอาว่า มันเป็นสภาวะสูงส่งยิ่งที่มนุษย์ธรรมดาอย่างเราๆ ท่านๆ ไม่สามารถเอื้อมถึง ภพ (being) ยังคงไหลต่อไปอีกนานหลายแสนกัป อสงขัย […]

มุกหนังเดียวอำพระ สะท้อนอะไร?

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ Line ID : pete1120 กรณี “หนังน้องเดียว”หรือชื่อจริง นาย บัญญัติ สุวรรณแว่นทอง นายหนังตะลุงชื่อดังของภาคใต้ในช่วงสองสามเดือนที่ผ่านมา ถูกประชาทัณฑ์และสังฆาทัณฑ์ แถวจังหวัดภาคใต้ตอนกลาง เช่น จังหวัดสงขลา และจังหวัดตรัง กรณีเล่นมุกแซว (อำ)พระสงฆ์ ( https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_3000029) มีข้อสะท้อนถึงอะไรบ้างในแง่การศึกษาและการประเมินทัศนนิยมของคนภาคใต้ในด้านต่างๆ เช่น ด้านการเมือง ด้านเศรษฐกิจและด้านสังคม น่าสนใจว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นดังกล่าวมีนัยแห่งอำนาจนิยมที่เกิดจากสาเหตุุทางวัฒนธรรมเฉพาะภูมิภาคหรือไม่? โดยเฉพาะในช่วงที่การเมืองไทยมีลักษณะเด่นเชิงอำนาจนิยมเฉกเช่นการปกครองรัฐไทยเวลานี้ หนังน้องเดียวดังอยู่ในภาวะจำเลยของสังคมไปกระนั้นแล้วหรือ? การรุมสกรัม/สหบาทา หนังน้องเดียวของทั้งจากพระทั้งจากฆราวาสเกิดขึ้นเพราะอะไร […]

Minimalism

มินิมอลลิสม์ (Minimalism) หรือ มินิมอล (Minimal) เป็นคำที่คนส่วนใหญ่เริ่มได้ยินมากขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงระยะหลังๆ มานี้ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งกระแสสังคมที่หลายคนรับเข้ามาใช้ในการดำเนินชีวิตด้านต่างๆ หลายครั้งที่เมื่อพูดถึงคำว่ามินิมอล ก็มักจะมีภาพจำเป็นการแต่งกาย การตกแต่งบ้านแบบสไตล์ของชาวญี่ปุ่น หรือรูปแบบสินค้าแบรนด์ต่างๆ ความจริงแล้ว “มินิมอล” ที่เราเห็นอยู่ในงานดีไซน์สินค้านั้น กลับเป็นเพียงการประยุกต์เอาหลักการพื้นฐานของมินิมอลมาใช้ มินิมอล มาจากไหน แท้จริงคืออะไร มินิมอล (Minimal) หรือ มินิมอลลิสม์ (Minimalism) เป็นกระแสหนึ่งของกลุ่มศิลปินในช่วงต้นทศวรรษที่ 1960 กระแสนี้เกิดจากความเบื่อหน่ายกับกระแสงานศิลป์แบบ Abstract Expressionism […]

QR Code คืออะไร?

QR Code ย่อมาจาก Quick Response   ใช้สัญลักษณ์แทนข้อมูลต่าง ๆ มีการตอบสนองที่รวดเร็ว และแม่นยำ  หรืออาจจะเรียก qr code ว่า เป็นบาร์โค้ดแบบ 2 มิติ ก็ได้ คือมีทั้งแนวตั้งและแนวนอน ส่วนบาร์โค้ดนั้นจะมีเฉพาะแนวตั้งเพียงอย่างเดียว ด้วยเหตุนี้ทำให้การบันทึกข้อมูลของ qr code ทำได้มากกว่าหลายเท่าตัว  และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ กับระบบชำระเงิน , ฉลากให้ข้อมูลสินค้า, สื่อโฆษณาต่างๆ เพื่อให้ข้อมูลเพิ่มเติมมากขึ้น และได้ความสะดวกรวดเร็ว […]