การบ้าน คำถาม และโจทย์หลักสูตรสันติศึกษา มจร.

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ ก่อนหน้านี้ผมเคยนำเสนอปัญหาของหลักสูตรสันติศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) มาสัปดาห์นี้ เนื่องจากมีความเห็นของนิสิตที่กำลังศึกษาในหลักสูตรดังกล่าว (ปริญญาเอก) มาถึงผม (ผ่านอีเมล์) จึงใคร่ขอนำความเห็นของนิสิตในหลักสูตรสันติศึกษาของมจร. ในปัจจุบันมานำเสนอเพื่อไม่ให้ขาดตอน นัยหนึ่งเพื่อสื่อถึงผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการหลักสูตรดังกล่าวอีกด้วย อีกนัยหนึ่งการจัดหลักสูตรดังกล่าว อาศัยงบประมาณผ่านกลไกของรัฐซึ่งมีประชาชนอย่างผู้เขียน เราๆ ท่านๆ เป็นผู้สนับสนุน อย่างไรก็ตามผู้เขียนจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเก็บชื่อนิสิตคนนี้ไว้เป็นความลับเพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนการศึกษาของเขาในสถาบันแห่งเดียวกันนี้ ผู้เขียนเองต้องขอขอบคุณ นิสิตคนเดียวกันที่กล้าเปิดเผยตนนำเสนอความเห็น เพื่อการพัฒนาสถาบันสันติศึกษา มจร.ให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ ข้อความของท่านนิสิต หลักสูตรสันติศึกษา มจร. มีดังนี้ครับ ผมได้อ่านบทความ 2 เรื่องที่อ่านอาจารย์เขียน คือ […]

ทำไมต้อง…สาธุ

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ ง่ายนิดเดียว เมื่อมีใครพูดถึงอะไรสักอย่าง เราเห็นด้วย แล้วเราพูดคำว่า สาธุ สาธุ และสาธุ มากไปกว่านั้น แม้เราจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยก็ตาม แต่เรามักจะพูดว่า สาธุ อยู่ดี แม้ประเด็นหรือข้อความนั้นยังไม่ได้ถูกพิสูจน์ว่าเป็นจริงหรือถูกต้องแต่อย่างใดก็ตาม และในกรณีหลังนี้ อาจกล่าวได้ว่า ผู้พูดคำว่า “สาธุ” ได้ตกไปอยู่ในร่องตรรกะแบบอำนาจนิยมแบบเบ็ดเสร็จ เสร็จสรรพ เพราะความไร้ร่องรอยหรือปราศจากหลักฐานแห่งการตั้งคำถาม ต่อประเด็นหรือวาทกรรมที่พวกเขาสาธุนั้น และหากจะยกให้วัฒนธรรมไทยเป็นวัฒนธรรม “สาธุนิยม” ก็คงไม่ผิดนัก “สาธุ”ที่มีความหมายว่า “ดีแล้ว” เราจะพบเห็นได้ทั่วไป ยิ่งในยุคโซเชี่ยลมีเดียอย่างในปัจจุบัน […]

สันติศึกษา : กินเงินเดือนประชาชนจุดยืนต้องชัดเจน

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ “นายอุทัย พิมพ์ใจชน อดีตประธานรัฐสภา และในฐานะอดีตประธานสถาบันพระปกเกล้า (ระหว่าง 6 ก.พ.44 – 5ก.พ.48) ได้ส่งจดหมาย ถึง นายวุฒิสาร ตันไชย เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า สืบเนื่องในวาระ 20 ปี แห่งการสถาปนาสถาบันพระปกเกล้า มีใจความว่า “ไม่เห็นด้วยกับการที่สถาบันพระปกเกล้า ไม่เคยแสดงปฏิกริยาต่อต้านการยึดอำนาจ การทำรัฐประหาร แต่กลับให้ความร่วมมือ จึงขอให้ผู้บริหารปัจจุบันหรือที่จะเข้ามาในอนาคตได้ทบทวนตัวเอง ว่า ได้ทำตามวัตถุประสงค์ของการก่อตั้งสถาบันหรือไม่”  (https://siamrath.co.th/n/41282) โดยนัยเดียวกันนี้ […]