พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ ตามข่าว พากันลาออกบางคน สำหรับกรรมการสภามหาวิทยาลัยบางแห่ง และองค์การมหาชนอื่นๆ เช่น สปสช. เป็นต้น นับเป็นสภาพที่น่าเวทนา สมเพท อย่างมากที่คนดีเหล่านี้ต้องประสบชะตากรรมอันเนื่องมาจากกฎหมายปปช.ที่บังคับให้เจ้าหน้าที่ในระดับบริหารขององค์กรมหาชนเหล่านี้ต้องยื่นแสดงทรัพย์สินต่อสำนักงานปปช. หน่วยงานกลางตรวจสอบทุจริตและประพฤติมิชอบราชการไทย มิหนำซ้ำ คนที่ออกกฎหมายนี้ อย่างนายมีชัย ฤชุพันธ์ ด้วยซ้ำ ที่ชิงลาออกจากองค์กรที่ตัวเองเป็นกรรมการอยู่ก่อน ด้วยเหตุนี้จึงไม่อาจกล่าวว่า มันเป็นสภาพที่น่าสังเวช สมเพทเวทนาอย่างยิ่ง ในส่วนของการตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินของกรรมการและผู้บริหารมหาวิทยาลัยนั้น ตามที่ผมเคยเขียนไปในคอลัมน์นี้ ในต่างประเทศ เช่น ในสหรัฐอเมริกา แคนาดา ถือเป็นเรื่องปกติและกระทำกันผ่านสื่อออนไลน์ด้วยซ้ำ กล่าวคือ […]
เพราะฉ้อฉลจึงต้องตรวจสอบผู้บริหารมหาวิทยาลัยไทย
พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ ทุกอาชีพในอเมริกา ต้องโดนตรวจสอบทรัพย์สิน ไม่เว้นแต่อาชีพตุลาการในระดับต่างๆ ที่ต่างก็ล้วนมีที่มาซึ่งยึดโยงกับประชาชนหรือสนามการเลือกตั้งเช่นเดียวกับนักการเมืองทั่วไป ในระบบอเมริกัน ภาพของความเป็นนักการเมืองกับตัวแทนของวิชาชีพแขนงต่างๆ จึงแยกไม่ออก เพราะนักการเมือง คือประชาชนแม้จะเป็นในนามของตัวแทนก็ตาม น่าสนใจว่าในอเมริกาเองก็มีการกฎหมายตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินของนักการเมืองอเมริกันเช่นเดียวกันกับกฎหมายของไทย มีการดำเนินการกันก่อนที่กฎหมายการเปิดเผยบัญชีทรัพย์สินของนักการเมืองในเมืองไทยจะเกิดเสียอีก นักการเมืองอเมริกันจะต้องแจ้งบัญชีทรัพย์สินรายรับ รายจ่าย เพื่อรายงานให้สาธารณะทราบอย่างเปิดเผย ไม่ต่างจากบุคคลที่เป็นเจ้าหน้าที่ในระดับสูง ที่ทำงานในหลายหน่วยงานของรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่น ที่มีหน้าที่แจ้งทรัพย์สิน หรือไม่ก็บัญชีรายรับ-รายจ่ายให้รัฐและสาธารณะทราบเช่นกัน รวมถึงองค์กรที่เรียกว่า มหาวิทยาลัย (University, College) ที่กฎหมายของแต่ละรัฐกำหนดให้มีการเปิดเผยรายรับ-รายจ่าย ทั้งในส่วนของบุคคลที่เป็นผู้บริหารเจ้าหน้าที่ที่ทำงานในสถาบันการศึกษาและตัวสถาบันการศึกษาเอง แปลว่า ผู้บริหารของมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา เช่น อธิการบดี […]
ในวันที่โลกไร้มหาวิทยาลัย
พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ สัญญาณที่กำลังบอกว่ามหาวิทยาลัยจะเป็นเหมือนฟิล์มถ่ายรูป ไม่ก็เป็นเหมือนสื่อกระดาษ (สิ่งพิมพ์) มาแรงยิ่ง เมื่อมหาวิทยาลัยมนอเมริกาหลายแห่งตกอยู่ในสภาพที่อเน็จอนาถ ขนาดทุกบักโกรก เนื่องจากมีผู้เรียนในระดับอุดมศึกษาน้อยลงกว่าเดิมมาก สถานการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นทั่วประเทศอเมริกา เหตุผลของสถานการณ์ความเสื่อมของมหาวิทยาลัยในอเมริกา ดูเหมือนไม่ได้มาจากการลดลงของจำนวนประชากรของประเทศเพียงอย่างเดียว แต่ยังเกิดจากการก่อเกิดขึ้นของโลกดิจิตัล ที่เป็นตัวการตัดตอนความรู้ในห้องเรียนออกไปยังข้างนอก ดังมีตัวอย่างแม้แต่การศึกษาในระดับปฐมวัยของ Khan academy เกิดขึ้นและได้รับการสนับสนุนด้านทุนจาก Bill Gates แห่งบริษัทไมโครซอฟท์ โดยที่ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องใช้พื้นที่โรงเรียนในรูปแบบเดิมอีกต่อไป หรือว่าโลกอนาคตจะไม่มีโรงเรียนหรือสถานศึกษาแบบเดิมๆ ที่เราเคยเห็นกันอีกต่อไป โดยเฉพาะสถาบันการศึกษาแบบมหาวิทยาลัยที่มีโอกาสที่จะปลาสนาการไปได้มากที่สุด เพราะการศึกษาในระดับอุดมศึกษาเป็นการศึกษาขั้นปลายที่ผู้เรียนต่างโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว มีพื้นฐานการเรียนมาก่อนแล้ว สามารถอ่านออกเขียนได้ เมื่ออ่านออกเขียนได้ย่อมมีโอกาสศึกษาต่อเนื่องได้โดยตัวของพวกเขาเอง โดยไม่ต้องพึ่งสถาบันการศึกษากระแสหลัก […]